เป็นประจำทุกปีสำหรับงาน TERRAHINT Brand Series ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย TERRA BKK สื่อด้านอสังหาริมทรัพย์และที่ปรึกษาวิจัยด้านการตลาด โดยปีนี้กลับมาอีกครั้งในชื่องานว่า TERRAHINT ​​Brand Series 2021 : DEVELOP THE LEADERSHIP BRAND IN A GAME CHANGING WAY พลิกเกม เปลี่ยนแบรนด์สู่ผู้นำ

อย่างที่ทราบดีว่าช่วงสองปีที่ผ่านมาสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ทั่วโลกเผชิญหน้ากับผลกระทบรอบด้าน รวมถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจ และเชื่อว่าหลังจากนี้จะเจอกับสภาพการฟื้นตัวอันแสนยาวนานกว่าที่คิดชนิดที่ไม่รู้ว่าจะใช้เวลาอีกกี่ปีกว่าจะกลับมาเหมือนเดิม

แต่สิ่งที่รู้แน่ๆ คือ ‘พฤติกรรมของผู้บริโภค’ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างปฏิเสธไม่ได้ ในฐานะผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์หรือเจ้าของแบรนด์ต้องรู้ให้เท่าทันความผันผวนนี้ ไม่ใช่แค่เพื่อให้ ‘ผ่านวิกฤต’ หรือ ‘อยู่รอด’ เท่านั้น แต่ต้องเติบโตไปข้างหน้าด้วย

ภายในจึงได้รวบรวมเนื้อหาสำคัญที่จะเป็นอาวุธสร้างแต้มต่อในการสร้างแบรนด์ ประกอบไปด้วย

  • การบรรยาย : พลิกเกมเปลี่ยนแบรนด์สร้างความเหนือกว่า Brand Leadership & Brand Portfolio Management โดย ดลชัย  บุณยะรัตเวช President/Head of strategic planning, Inspirity partnership ltd.,
  • เผยผลงานวิจัย The most powerful real estate brand 2021 และเจาะลึกพฤติกรรมการอยู่อาศัยใหม่ของคนเมือง โดย สุมิตรา วงภักดี กรรมการผู้จัดการ TerraBkk.com
  • ประกาศผลรางวัลสุดยอดแบรนด์ Powerful 2021 & รางวัลผู้โดดเด่น Rising Star

มอบรางวัลโดย มีศักดิ์ ชุนหรักษ์โชติ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย

  • วงเสวนา “ก้าวไปต่ออสังหาริมทรัพย์ไทย Real Estate Transformation” 

หนึ่งในคีย์ไฮไลต์สำคัญที่ทุกคนรอคอย คือ การเปิดเผยผลวิจัย The most powerful real estate brand 2021 และเจาะลึกพฤติกรรมการอยู่อาศัยใหม่ของคนเมือง ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นความเคลื่อนไหวทั้งทั้งในมุมของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และในมุมของผู้บริโภค เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์และเจ้าของแบรนด์ต่างๆ นำไปต่อยอดปรับตัวให้เท่าสถานการณ์โลกและตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  

13:10 – 14:30 พลิกเกมเปลี่ยนแบรนด์สร้างความเหนือกว่า Brand Leadership & Brand Portfolio Management อ่านเนื้อหา Session 2 ได้ที่นี่ คลิก

เปิดงานด้วยการบรรยายเต็มอิ่มความรู้เรื่องการสร้างแบรนด์ โดย ดลชัย บุณยะรัตเวช President/Head of strategic planning, Inspirity partnership ltd., กับประเด็นใหญ่ที่ทุกคนมารวมตัวกันในวันนี้คือ ‘ทำอย่างไรให้แบรนด์เข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคและอะไรเป็นเทรนด์ที่น่าจับตามอง ท่ามกลางโลกที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังไม่จบ’  ดลชัยเริ่มต้นด้วยการสรุปเน้นๆ ถึงความเป็น Leadership Brand คือ แบรนด์ที่มีอำนาจในการสื่อสารอัตลักษณ์ (Identity Brand) สม่ำเสมอ แสดงความโดดเด่นได้อย่างมั่นคง สื่อสารมิชชั่นที่ตัวเองสัญญากับสังคมและเสิร์ฟมูลค่าของแบรนด์ได้ตลอดเวลา

จากอิทธิพลของโควิด-19 ก่อให้เกิดอิมแพ็คในการสร้างแบรนด์ยุค New Normal รายละเอียดการสร้างแบรนด์อาจเปลี่ยนไป แต่องค์ประกอบหลักที่ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงในการสร้างแบรนด์และต้องยึดมั่นให้ชัดเจนยิ่งขึ้นมี 3 มิติ 1.Brand Purpose ต้องชัดเจนว่ามูลค่าขององค์กรคืออะไร? เป้าหมายของแบรนด์ 2.Consumer Needs ความต้องการของผู้บริโภค 3.World Needs ความต้องการของโลกและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

หากแต่ปัจจัยที่พลิกโฉมไปหลังโควิด-19 คือ พฤติกรรมผู้บริโภค (New Normal Consumer Behavior ทำให้เกิดเทรนด์ 4 ประการที่มีผลต่อผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ ได้แก่

1.Changing the Channel : ช่องทางในการติดต่อที่มีความเป็นดิจิทัลมากขึ้น

2.Shift to Value : ผู้บริโภคใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมากขึ้น เพราะเงินทองหายากขึ้น

3.Healthy, Safe and Local : ผู้คนใส่ใจสุขภาพและความปลอดภัยมากขึ้น จับจ่ายในประเทศมากขึ้น

4.Shock to Loyalty : ความเป็นรอยัลตี้ที่มีต่อแบรนด์น้อยลง สนใจแบรนด์ที่ใกล้ตัวและหากแบรนด์ไหนที่ตอบโจทย์ชีวิตมากกว่าก็พร้อมเปลี่ยน
 

“อย่าลืมว่าผู้บริโภคเป็นสัตว์สังคม แม้ลูกค้าใช้ช่องทางออนไลน์ในการสื่อสารแล้ว แต่ยังคงต้องการสื่อสารทางกายภาพ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ฉะนั้นการสื่อสารแบรนด์ยังคงต้องคู่กันไปทั้งดิจิทัลและประสบการณ์ทางกายภาพ (ทั้งออนไลน์และออฟไลน์)”

เทรนด์การสร้างแบรนด์สำคัญที่น่าสนใจมากๆ ในขณะที่สถานการณ์โควิด-19 ยังคงอยู่ คือ Consumer Paradox เพราะหลังจากนี้ผู้บริโภคจะไม่ได้มีความต้องการด้านเดียว แต่มีความต้องการ 2 มุม 2 มิติที่ขัดแย้งกัน ซึ่งแบรนด์จะต้องเข้าใจและตอบสนองความต้องการนี้ของผู้บริโภคให้ได้ เพราะแบรนด์ที่ดีคือการสร้างความสัมพันธ์กับผู้บริโภค (Relationship) ดังนั้นแบรนด์ต้องปรับตัวเป็น Paradox เช่นกัน มีสองมิติ มีความเป็นหยินหยางในตัว

ทั้งนี้ดลชัยได้แชร์องค์ความรู้ที่ตกผลึกจากประสบการณ์ตรงถึงโมเดลในการสร้างแบรนด์ ต้องเกิดจาก 4 ขั้นตอน ได้แก่ Be / Think / Do / Say เริ่มจาก Be ต้องเข้าใจแบรนด์ก่อนว่าเราคือใคร? เพราะเมื่อรู้ชัดเจนว่าแบรนด์ตัวเองคือใคร? จะรู้ว่าต้องมุ่งไปทางไหน สร้างสินค้าอะไร และใครที่คุณต้องรู้จัก ก่อนนำไปสู่การคิด Think ว่าแบรนด์ต้องมีคอนเซ็ปต์อย่างไร มีอัตลักษณ์แบรนด์อย่างไร มี Big Idea อย่างไร จากนั้นจึงมาที่ Do ลงมือทำ โดยเริ่มสร้างจากวัฒนธรรมแบรนด์ วัฒนธรรมในองค์กรและพนักงาน และสินค้าของเราจะเป็นอย่างไร จากนั้นค่อย Saying สื่อสารตัวตนของแบรนด์ไปยังลูกค้า

สิ่งสำคัญของการสร้างแบรนด์ คือ ทำให้แบรนด์เสมือนเป็น Real Person (Humanize) ให้ได้ การสร้างแบรนด์ให้ผู้บริโภครู้สึกเหมือนแบรนด์เป็นมนุษย์จะทำให้เกิดการสื่อสารได้ง่ายและเข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคได้ง่าย เปรียบได้กับแบรนด์รถยนต์ที่มีการศึกษาวิจัยออกมาแล้ว หากเทียบแบรนด์รถยนต์เป็นผู้หญิงจะมีบุคลิกภาพอย่างไร

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้าถึงได้ง่าย นั่นหมายถึงแบรดน์มีต้นทุนทางเทคโนโลยีเท่าเทียมกัน ปัจจัยที่แบรนด์ต้องเน้นเพื่อสร้างความโดดเด่นและแตกต่าง คือ การตามหา Spiritual identity เพื่อนำไปสู่ความเป็นผู้นำแบรนด์ ขึ้นอยู่กับแบรนด์จะเล่นเป็นบทบาทไหน ซึ่งโดยภาพรวมมีการกำหนดบทบาทกว้างๆ ออกเป็น 12 บท

อย่างที่เกริ่นไว้ก่อนหน้านี้ว่า แบรนด์ต้องเป็น Paradox นั่นหมายความว่าแบรนด์ไม่อาจเล่นบทบาทเดียวได้ จึงต้องมีการผสมผสานบทบาท เพื่อสื่อสารไปยังผู้บริโภคที่ใช้ทั้งเหตุผล VS อารมณ์ในการตัดสินใจ แบรนด์ที่ดีจึงต้องสื่อสารไปยังผู้บริโภค โดยเล่นกับสมองซีกขวา คือ อารมณ์ความรู้สึก หากค่ายอสังหาต้องการสร้างแบรนด์ที่โดนใจ โดนความรู้สึก ก็ต้องสร้างเนื้อหาที่เข้าถึงอารมณ์  ขณะที่สมองซีกซ้ายเป็นส่วนของเหตุผล ในมุมของธุรกิจอสังหาก็ต้องสื่อสารเรื่องฟังก์ชั่น-ราคา นี่เป็นสองเนื้อหาที่ต้องทำคู่กันไป

 

ยกตัวอย่างแบรนด์ระดับโลกที่สามารถเล่นสองบทบาทไปพร้อมกันอย่าง Apple ที่มีบทบาทความคิดสร้างสรรค์ & ขบถ (Rebel&Creative) หรือ IKAE ที่มีความเรียบง่าย ไม่แพง จับต้องได้ & มีความเป็นครีเอเตอร์ (Regular&Creator)

หันมาดูแบรนด์ในไทยอย่างสยามพารากอน มีความเป็น Magician สร้างความเซอร์ไพร์สในทุกวัน & มีความเป็น World Dimension ที่รวมทุกอย่างในโลกใบนี้  จึงเป็นแบรนด์ที่มีความรื่นรมย์และสร้างเมจิกให้กับผู้คน ต่างจากสยามเซ็นเตอร์ ถึงจะเป็นศูนย์การค้าเหมือนกัน แต่สยามเซ็นเตอร์สร้างบทบาทเป็น Passion Connection& Idea Avenue คือเป็นจุดนัดหมายของคนที่เต็มไปด้วยไอเดีย หรือ ไอคอนสยาม ที่มี 2 บทบาท คือมีความเป็น Hero (Living the Legend) & Collabortor (Combined Greatness) หมายถึงเป็นผู้สร้างตำนานใหม่ให้กับประเทศไทย ให้ชาวต่างชาติหันกลับมามอง ไปพร้อมกับรวมความยิ่งใหญ่ของไทยและโลกใบนี้เข้าด้วยกัน

นอกจากนี้ดลชัยยังขยายความเพิ่มต่อไปด้วยอีกว่าเนื้อหาหลักที่ผู้นำแบรนด์ใช้สื่อสาร ไม่ใช่แค่การขายของอย่างเดียว เพราะแบรนด์ที่ดีจะต้องทำอะไรที่ยิ่งใหญ่มากกว่าการสื่อสารเรื่องฟังก์ชั่น แต่ประกอบไปด้วย 4 แกนสำคัญ 1.แสดงให้เห็นว่าแบรนด์ให้คุณค่ากับอะไร (Value) หมายถึง แบรนด์มีเป้าหมายอะไร  2.แบรนด์อยากให้ลูกค้าเห็นแบรนด์เป็นอย่างไร  (Be Known) เช่น จุดเด่นของแบรนด์ 3.แบรนด์จะนำสังคมอย่างไร สร้างอะไรที่เป็นผู้นำ (How l will Lead) 4.แบรนด์ต้องการให้ผู้บริโภคคิดอะไร ทำอย่างไรต่อไปกับชีวิต (What I expect from you)

“สิ่งสำคัญคือทำให้ทุกช่องทาง ทุกเนื้อหา ทุกการสื่อสาร ทุกผลิตภัณฑ์ขององค์กร เป็นไปไปในทิศทางเดียวกัน ประหนึ่งมาจากตัวตนเดียวกันและสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดภาพตรงกัน อย่าลืมว่าแบรนด์ไม่ใช่สิ่งที่เราพูด แต่แบรนด์คือสิ่งที่คนอื่นพูดถึงเรา”

ดังนั้นก่อนทำกลยุทธ์ทางการตลาด ต้องทำกลยุทธ์แบรนด์ก่อน เพราะแบรนด์คือจุดเชื่อมโยงระหว่าง กลยุทธ์ธุรกิจและการตลาด กลยุทธ์แบรนด์จะเป็นตัวกำหนดตัวตน กำหนดจุดยืน กำหนดเรื่องราวของแบรนด์ เสมือนเป็นเข็มทิศเพื่อให้มาร์เก็ตติ้งทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีทิศทาง

            ก่อนปิดท้ายดลชัยจะได้สรุปถึงการเป็นผู้นำแบรนด์ที่ดีที่จะยั่งยืนมั่นคงไมว่าในสถานการณ์ไหน คือ ต้องรู้จักมองย้อนอดีต มองความเป็นไปในอดีตของแบรนด์เพื่อมากำหนดแอคชั่นในปัจจุบัน ก่อนจะมุ่งไปอนาคตและทิ้งสิ่งใดไว้เป็นมรดกหรือสร้างอิมแพ็คให้กับสังคมหรือคนรุ่นต่อไป