สำหรับคนที่กำลังอยู่ในช่วงสร้างบ้านหรือเลือกซื้ออุปกรณ์ก่อสร้างแล้วนั้นน่าจะทราบอยู่แล้วเป็นอย่างดีว่าส่วนหนึ่งที่ท้าทายความสามารถและไม่เคยเป็นเรื่องง่ายในสายตาคนทำบ้านและผู้รับเหมาเลยนั่นก็คือการวางผังระบบสุขภัณฑ์ ไม่ใช่เพียงแค่มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องสุขภัณฑ์เพียงอย่างเดียว แต่การวางระบบท่อและกลไกต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพและไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาหลังจากเข้าอยู่แล้วก็ถือเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน อย่างไรก็ตามวันนี้เรามีคำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกซื้อเครื่องสุขภัณฑ์มาฝาก จะมีอะไรที่คนรักบ้านควรทราบบ้าง ตามมาดูกันเลย

เทคนิคการเลือกซื้อชักโครก

หัวใจสำคัญของการสร้างห้องน้ำในบ้านเลยก็ว่าได้ กับเครื่องสุขภัณฑ์อันดับแรกได้แก่ชักโครก สิ่งที่ควรทราบก่อนเลือกซื้อจะมีเรื่องของขนาดและความยาวของท่อที่เชื่อมต่อสุขภัณฑ์ควรมีความยาวโดยประมาณอยู่ที่ 1 นิ้ว และถังที่ใช้สำหรับพักน้ำนั้นท่อประปาจะต้องมีความยาวประมาณ ½ นิ้วโดยประมาณ ทั้งนี้ระยะของการวางระหว่างท่อประปาและท่อน้ำทิ้งก็จะต้องสัมพันธ์กับรุ่นของสุขภัณฑ์ นอกจากนี้สภาพโดยรวมของชักโครกจะต้องพร้อมใช้งาน ไม่มีรอยแตกร้าว คุณภาพการผลิตเป็นไปอย่างประณีต หากไม่แน่ใจประสิทธิภาพการใช้งานแนะนำให้ทดลองใช้โดยคร่าวๆ ก่อนตัดสินใจซื้อ อย่างเช่นการทดลองทิ้งกระดาษทิชชูลงไปแล้วดูว่าระบบการทำงานของชักโครกสามารถระบายกระดาษทิชชูได้อย่างราบรื่นมากน้อยเพียงใด

เทคนิคการเลือกซื้ออ่างอาบน้ำ

อีกหนึ่งตัวเลือกของเครื่องสุขภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมในหลายๆ ครัวเรือนด้วยกัน สำหรับเทคนิคการเลือกซื้ออ่างอาบน้ำนั้นก็ควรมีขนาดที่เหมาะสมกับขนาดของห้องน้ำภายในบ้าน โดยอ่างอาบน้ำเองก็มีตัวเลือกจำแนกย่อยออกมาอีก 2 แบบ คือแบบเข้ามุมหรือแบบฝัง อย่างไรก็ตามเจ้าของบ้านสามารถเลือกให้เหมาะสมตามแต่ความต้องการใช้งาน หากมีจำนวนสมาชิกในบ้านหรือผู้ใช้งานมากกว่า 2 คนแนะนำให้เลือกขนาดที่ใหญ่เหมาะกับสรีระของผู้ใช้งาน อีกทั้งจะต้องเป็นอ่างที่สามารถระบายน้ำได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้วัสดุที่ใช้ในการผลิตก็สำคัญมากเช่นเดียวกัน แนะนำให้เลือกอ่างที่ทำจากวัสดุประเภทไฟเบอร์กลาสเนื่องจากมีความคงทนเป็นพิเศษ สามารถใช้งานได้นาน ดูแลทำความสะอาดง่ายกว่าวัสดุประเภทอื่นๆ

นอกจากเทคนิคการเลือกซื้อเครื่องสุขภัณฑ์ตามที่กล่าวไปแล้วในข้างต้น สิ่งสำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือเจ้าของบ้านควรรู้จักเลือกอุปกรณ์หรือวัสดุให้เหมาะสมกับสไตล์การตกแต่งบ้าน นอกจากนี้การคำนึงถึงขนาดของวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องสัมพันธ์กับขนาดของพื้นที่ ไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป หากเป็นการออกแบบภายใต้ฟังก์ชันที่รองรับการใช้งานและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุภายในห้องน้ำได้ก็คงจะดีอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว