เผยความลับ Digital Twin ผู้อยู่เบื้องหลังปฏิบัติกู้ภัยถ้ำหลวง ครบรอบ 4 ปี
ย้อนไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2018 โลกทั้งโลกจับตามองการช่วยเหลือทีมหมูป่าออกจากถ้ำหลวง ที่เชียงราย ฮีโร่ของการช่วยเหลือครั้งนั้น เป็นการรวมผู้เชี่ยวชาญด้านการกู้ภัย นักดำน้ำ นักขุดเจาะ นักภูมิศาสตร์ นักปีนเขา ตำรวจ ทหาร ข้าราชการ ทั้งไทยและต่างประเทศ รวมถึงมีผู้สละชีวิตในการปฎิบัติการครั้งนี้ การช่วยเหลือประสบความสำเร็จ ทีมฟุตบอลเยาวชนหมูป่าทั้งหมด 13 รอดชีวิต
แต่ท่ามกลางฮีโร่ที่ออกปฎิบัติการในพื้นที่ต่างๆ ยังมีฮีโร่อีกทีมหนึ่งที่ใช้ความรู้ทางเทคนิค เกี่ยวกับ Digital Twin ในการสร้างแบบจำลองของถ้ำเพื่อใช้ในการวางแผนช่วยเหลือดังกล่าว
ในเวลานั้นกรมทรัพยากรธรณี The Department of Mineral Resources (DMR) ร่วมกับบริษัท Esri Thailand Ltd. และบริษัท GIS Ltd. ได้ร่วมมือกันสร้าง Digital Twin ของถ้ำเพื่อทำการจำลองสถานการณ์ต่างๆ จนได้เป็นแผนที่เหมาะสมเพื่อเป็นเข็มทิศในการเข้าช่วยเหลือพื้นที่ภายในถ้ำ ไปจนถึงการจำลองสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นจากใช้เทคโนโลยี Digital Twin เช่น สถานการณ์น้ำท่วมในสภาวะที่ฝนตกหนักภายนอก การจำลองการเจาะถ้ำ เป็นต้น
การดำเนินการทั้งหมดเป็นไปอย่างเร่งด่วน แข่งกับเวลา โดยที่ข้อมูลเดิมนั้นแทบไม่มีอยู่เลย เรียกได้ว่าเป็นสร้างฐานข้อมูล Digital Model ของ Map ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด
นอกจากกรมทรัพยากรธรณีแล้ว ยังมีการประสานงานกับกรมอุทยานแห่งชาติ เพื่อมำงานร่วมกัน โดยขั้นตอนการทำงานทั้งหมด รวมถึงการจำลองแผนที่แสดงการไหลของน้ำในถ้ำที่สะสมจากน้ำฝน (ตามภาพประกอบ) คือ ขั้นตอนที่ปกติใช้เวลาทำกันเป็นแรมเดือน แรมปี แต่สำหรับภารกิจนี้จบได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่วันเท่านั้น
Cr. Picture : www.gim-international.com/content/article/the-behind-the-scenes-story-of-the-thailand-cave-rescue
ขั้นตอนการทำงานนี้เริ่มต้นจากการเก็บข้อมูล เน้นเป้าหมายสำคัญ คือ ส่วนที่ต้องนำไปใช้ในการช่วยเหลือ ต้องลงรายละเอียด แต่อย่างอื่นก็ขอพอให้เข้าใจเป็นใช้ได้ โดยมีการใช้แผนที่จากกรมแผนที่ทหารที่ย้อนไปถึงปี 2017 และไปถึงขนาดใช้แมปของ “Expedition Thai-Maros 1986 and 1987” ที่จัดทำโดย ทีมงานฝรั่งเศส
ต่อมาทีมงานพบ “Cave Registry Data Archive” จาก British Cave Association ที่มีข้อมูลการสำรวจของปี 2014-2015 ในรูปแบบ File SRV format. สามมิติ ระหว่างนี้ก็มีการเขียน 3D Model โดยทีมงานคู่ขนานกันไปตลอด และกระจายให้ทีมงานทุกคนดูไปพร้อมกัน ระหว่างที่โมเดลกำลังอัปเดต
ทั้งหมดนี้ช่วยให้การทำงานของทีมประดาน้ำ ซึ่งช่วงแรกเป็นการดำน้ำไปกลับเพื่อเก็บข้อมูลเส้นทางต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างมาก
ปริมาณน้ำในถ้ำที่มีความผันผวนอันเกิดจากฝนตก คือ เงื่อนไขสำคัญอย่างมากในการวางแผนการช่วยเหลือของทีมประดาน้ำ เพราะระดับน้ำในจุดต่างๆ ที่เปลี่ยนไป จะส่งผลต่อปริมาณออกซิเจนที่ต้องเตรียมให้เพียงพอของทีมประดาน้ำ หากข้อมูลที่ทำการสำรวจผิดพลาด จะทำให้การเข้าช่วยเหลือล่าช้าออกไปอีก
นั่นหมายถึงชีวิตเด็กๆ ที่ติดอยู่ภายในถ้ำจะเกิดความเสี่ยงมากขึ้นไปอีก
ในช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงเวลาเกิดเหตุ เมื่อเกิดฝนตก ปริมาณน้ำในถ้ำจะท่วมเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้การเข้าช่วยเหลือเป็นไปอย่างยากลำบาก มีการพยายามติดตั้งปั๊มสูบน้ำในตอนแรก แต่ค้นพบว่ากำลังการสูบไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับปริมาณฝนที่เกิดขึ้น
เครื่องมือที่ประสบสำเร็จในการสกัดกั้นการเพิ่มปริมาณน้ำ คือ การต่อท่อน้ำและสร้างเขื่อนชั่วคราว เพื่อชะลอการท่วมภายในถ้ำ สององค์ประกอบนี้ คือ สิ่งที่ได้ใช้ตลอดปฏิบัติการช่วยเหลือครั้งนั้น
ดังนั้นการแก้ปัญหา คือ ต้องมีการเปลี่ยนทางน้ำ ซึ่งหมายถึงการลงมือเจาะถ้ำ การกำหนดจุดเจาะที่ได้ผลดีมากที่สุด ต้องอาศัย Digital Twin ในการจำลองสภาพและเส้นทางของถ้ำเพื่อทำการวิเคราะห์ โดยมีการทำแบบจำลองการไหลของน้ำ (Water Flow Simulation) เพื่อเปรียบเทียบผลการเจาะถ้ำในจุดต่างๆ ซึ่งถ้าไม่ใช่ 3D Model ที่เป็น Digital Twin การทำ Simulation หรือจำลองสถานการณ์ดังกล่าวจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ การเจาะก็ต้องใช้แบบเดาๆ เอา
ท้ายสุดทีมงานก็ค้นพบจุดที่เหมาะสมและได้รับการยืนยันจากทีมหน่วย SEAL ที่ได้ไปสัมผัสกับกระแสน้ำภายในด้วย
ผลจากการสร้าง Simulation Mode คือ สามารถยืนยันได้ว่า หากมีการนำน้ำออกจากถ้ำปริมาณ จะทำได้ถึง 10,000 Cubic Meters และเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการดำเนินการเข้าไปพื้นที่ภายใน
อย่างก็ตามในช่วงเวลาสุดท้าย ทีมประดาน้ำตัดสินใจจะไม่รอการเจาะ เพราะต้องมีการจัดเตรียมเครื่องมืออีกมาก และตัดสินใจลงมือดำน้ำเข้าช่วยทางตรง
เมื่อถึงวันจริงที่จะทำการดำน้ำไปจนสุดทาง เพื่อช่วยเด็กๆ ทั้งหมดออกมาให้ได้ ก็เริ่มขึ้น ทีม Digital Twin ยังมีงานต่อไป คือ การติดตามข้อมูลน้ำฝนที่จะมีผลกับระดับน้ำในถ้ำ และต้องสื่อสารข้อมูลนี้ตลอดเวลา
ข้อมูลที่ได้คือมาจาก National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC) อย่างที่ทุกคนทราบการช่วยเหลือประสบความสำเร็จอย่างดี และส่วนหนึ่งของความสำเร็จนั้นมาจากการใช้เทคโนโลยี Digital Twin และทีมผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานเบื้องหลังดังกล่าวด้วย
บทเรียนที่ได้เรียนรู้สำคัญ
(1) การปฎิบัติการใดๆ ในพื้นที่ ที่ไม่มีคนรู้จัก “แผนที่” สำคัญมาก และในกรณีสภาพแวดล้อมที่มีการขึ้นลง (แกน Z) แผนที่ต้องเป็น 3 มิติ ถึงจะมีประโยชน์
(2) ข้อมูลอาจมาได้จากหลายยุคหลายสมัย ต้องมีการแชร์กัน จึงเกิดประโยชน์สูงสุด
(3) จุดประสงค์ต้องมาก่อนเทคโนโลยี - เรานำเทคโนโลยี มาใช้เพื่อลดความเสี่ยงแก่ทีมประดาน้ำและช่วยในการสร้างแผนให้ได้หลากหลายที่สุดในเวลาอันสั้น เราไม่ได้ต้องการเอาเทคโนโลยีมาชูให้เห็นว่าเป็นพระเอก บางอย่างอาจจะดี เช่น การทำ Model เจาะน้ำออกจากภูเขา แต่ถ้าไม่ทันเวลา ไม่ตอบจุดประสงค์ ณ เวลานั้น ก็ไม่ควรทำ
Digital Twin ของถ้ำที่มีการสร้างขึ้น
อ้างอิงเรื่องและภาพ
www.gim-international.com/content/article/the-behind-the-scenes-story-of-the-thailand-cave-rescue
www.gim-international.com/content/article/the-behind-the-scenes-story-of-the-thailand-cave-rescue