ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิในโตเกียวประเทศญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นประมาณ 3 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ดังนั้นในประเทศญี่ปุ่นจึงได้มีการคิดค้นเทคโนโลนี หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไข ช่วยลดอุณภูมิซึ่งเป็นผลกระทบจากภาวะโลกร้อน

คุณโทโมฮิโกะ ยามานาชิ (Mr. Tomohiko Yamanashi) ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมชื่อดังจากประเทศญี่ปุ่น คือหนึ่งในสถาปนิกที่ร่วมค้นคว้า ออกแบบวิจัยงานด้านสถาปัตยกรรมเพื่อช่วยลดอุณภูมิในญี่ปุ่น โดยคุณยามานาชิ ได้ให้ข้อมูลว่า ปัญหาภาวะโลกร้อนทำให้งานออกแบบตามบรรทัดฐานเดิมๆ ใช้ไม่ได้อีกต่อไป ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าความคิดเห็นของผู้คนส่วนใหญ่มองว่าการสร้างตึกใหญ่เพื่อเศรษฐกิจมีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมจริง ๆ ทำให้ที่ผ่านมาจึงเกิดเป็นเทรนด์การก่อสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการออกแบบ landscape เข้ามาใช้เพื่อช่วยลดผลกระทบ ทำให้ต้องกลับมาคิดว่าการสร้างสถาปัตยกรรมในยุคความรุ่งเรืองหรือสร้าง landscape มาเพื่อสิ่งแวดล้อมนั้น ได้สร้างประโยชน์ให้กับผู้คนและสิ่งอื่นๆได้อย่างไรบ้าง

ดังนั้นการ BREAKING THE NORM จึงไม่ใช่งานสถาปัตตยกรรมเพื่อประหยัดพลังงานเท่านั้น แต่ต้องนำไปสู่การลดโลกร้อน เปลี่ยนจากประสิทธิภาพให้เกิดประสิทธิผลในหลายทางให้การซ่อมแซม NORM ทำได้ถูกต้องมากขึ้น

ซึ่งการพัฒนา เทคโนโลยี “BIOSKIN” คือหนึ่งในรูปแบบของการออกแบบให้เป็นระบบช่วยระบายความร้อนของอาคาร ให้อากาศโดยรอบอาคารจะเย็นลงโดยใช้ความร้อนจากการระเหยกลายเป็นไอของน้ำฝน ที่หมุนเวียนสะสมอยู่ในท่อเซรามิก ช่วยลดภาระเครื่องปรับอากาศในการทำความเย็นภายในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับว่าเป็นการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังคงไว้ซึ่งความสวยงามที่มองเห็นได้จากภายนอกโดยคำนึงถึงผู้คนในสังคมเป็นสำคัญ

ซึ่งในด้านการออกแบบ คุณยามานาชิ จะให้ความสำคัญกับ 3 สิ่ง คือ อันดับแรกคือ การคำนึงถึงลูกค้า เนื่องจากว่าสถาปนิกเป็นผู้ได้รับการขอร้องจากลูกค้า อันดับที่ 2 คือคิดถึงบริษัท Nikken Sekkei แต่อย่างไรก็ตามผลงานที่เราสร้างนั้นจะดำรงอยู่ในสังคม ดังนั้นสถาปนิกจำเป็นต้องคำนึงถึงสังคมด้วย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่ได้สร้างความหมายใหม่ พร้อมกับการแก้ปัญหาให้กับสังคม

สำหรับเทคโนโลยี “BIOSKIN” ไม่ใช่เทคนิคใหม่ แต่เป็นการนำจากประเพณี“อุจิมิซึ” (Uchimizu) ของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการสาดน้ำลงบนพื้นถนน มาพัฒนาต่อยอดให้เป็นเทคโนโลยี “BIOSKIN” โดยอากาศโดยรอบจะเย็นลงโดยใช้ความร้อนจากการระเหยกลายเป็นไอของน้ำฝน ที่หมุนเวียนสะสมอยู่ในท่อเซรามิกซึ่งมีลักษณะเหมือนบานเกล็ดที่ผิวหน้าของอาคาร (และยังทำหน้าที่เป็นราวจับของระเบียงอีกด้วย) และยังสอดคล้องกับกฎหมายผังเมืองในโตเกียว ที่ระบุว่าอาคารใหญ่ จะต้องมีพื้นที่เก็บน้ำฝนภายในอาคาร เพื่อลดปัญหาน้ำระบายช้าในช่วงฤดูฝน และต้องมีการใช้ปั๊มโซล่าห์เซลถ่ายเทน้ำออกจากอาคารไปสู่ท่อระบายน้ำในช่วงวันที่อากาศสดใส 

ทำให้ระบบ “BIOSKIN” จึงได้ใช้ประโยชน์จากน้ำฝนที่มีอยู่ภายในอาคารให้เกิดประโยชน์ช่วยลดภาระเครื่องปรับอากาศในการทำความเย็นภายในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังช่วงลดอุณหภูมิภายนอกอาคารได้ด้วย ดังนั้นจึงเป็นโมเดลที่เหมาะกับเมืองโตเกียวอย่างยิ่ง

โดยระบบ “BIOSKIN” เป็นการยกเลิกอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาโดยไม่ต้องใช้พลังงานใดๆเลย ซึ่งผลลัพธ์จากการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ แสดงให้เห็นว่าการระบายความร้อนด้วยระบบ “BIOSKIN” จะสามารถลดอุณหภูมิอากาศภายนอกได้ประมาณ 2 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นเราได้ทดลองโดยการจำลองใช้ท่อที่มีความยาว 1 เมตร แล้วนำน้ำใส่เข้าไป แม้อยู่ในที่ร่มอุณภูมิผิวดินจะอยู่ที่ 6 องศาเซลเซียส และพบว่าอุณภูมิด้านในระเบียงจะลดลงประมาณ 2 องศาเซลเซียส

ปัจจุบันระบบ “BIOSKIN” รัฐบาลญี่ปุ่นมีความสนใจเทคโนโลยีนี้พร้อมให้การสนับสนุน ร่วมกับภาคเอกชนของญี่ปุ่น โดยมีการขยายผลทดลองทำระบบ “BIOSKIN” ในอาคาร NBF OSAKI BUILDING ซึ่งใช้งบประมาณรวมราว 20 ล้านเยน จากพันธมิตรจากหลายภาคส่วน โดยบริษัท โตโต้ จำกัด หรือ TOTO ได้มีส่วนในการสนับสนุนโครงการพัฒนาระบบ “BIOSKIN” ผ่านการพัฒนาท่อเซรามิกซ์ชนิดพิเศษ ที่ตั้งใจคิดต้นและพัฒนาขึ้นเป็นต้นแบบ โดยความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นหนึ่งในพันธกิจที่ TOTO ตั้งใจทำเพื่อสังคมเป็นโครงการพิเศษที่ต้องการสื่อสารให้คนญี่ปุ่นและคนทั่วโลกหันมาตระหนักและให้ความสำคัญกับการช่วยกันลดภาวะโลกร้อน

อย่างไรก็ดีระบบ “BIOSKIN” ได้มีการจดลิขสิทธิ์ให้เป็นองค์ความรู้ และเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถคิดค้นต่อยอดเทคโนโลยีนี้ได้ ซึ่งคุณยามานาชิ ก็ยังคงประเมินถึงผลกระทบจากปรากฏการณ์เกาะความร้อน และการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ไปถึงปี 2030 ซึ่งขณะนี้ก็ได้มีการคิดค้น พัฒนาเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ให้ช่วยลดโลกร้อนได้หลายรูปแบบ อาทิ Envi-lope 01  เป็นการต่อยอดจากเทคโนโลยีไบโอสกิน เดิม โดยใช้เทคนิคใช้โลหะเป็นตัวสะท้อนแสงให้แสงนุ่มนวล เพื่อลดความร้อนให้อาคารเย็นลง และคาดว่าจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทางด้านนายทาคายะสุ ชิมาดะ ประธานบริษัท โตโต้ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัท โตโต้ เชื่อว่าคุณค่าและความหลากหลายของผลงานที่ได้จากสถาปัตยกรรมจะมีบทบาทที่สำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคต บริษัทฯ จึงมุ่งหวังที่จะเป็นสะพานเชื่อมเพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ตลอดจนแนวคิดของสถาปนิกและนักออกแบบ ระหว่างสถาปนิกในประเทศไทย และสถาปนิกชาวญี่ปุ่น รวมถึงบทบาทของสถาปนิกที่มีต่อผู้คนในสังคม

........

ข้อมูลเพิ่มเติม

คุณโทโมฮิโกะ ยามานาชิ (Mr. Tomohiko Yamanashi) ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมชื่อดังจากประเทศญี่ปุ่น ได้รับรางวัลมากมาย อาทิ รางวัล MIPIM Asia’s Special Jury Award สำหรับงาน Mokuzai Kaikan (พ.ศ. 2552), รางวัล AIJ prizes สำหรับงาน NBF Osaki Building (พ.ศ. 2557) และ Toho Gakuen School of Music (พ.ศ. 2562), รางวัล the JIA Grand Prix สำหรับงาน HOKI Museum (พ.ศ. 2554), และรางวัล the CTBUH Innovation Award สำหรับงาน NBF Osaki Building (พ.ศ. 2557)

ผลงานของ คุณโทโมฮิโกะ ยามานาชิ

JIMBOCHO THEATER

โตเกียว, ญี่ปุ่น, พ.ศ. 2550

THE ACTOR AS THE CANVAS

โครงการแห่งนี้ประกอบด้วยโรงภาพยนตร์จำนวน 100 ที่นั่ง และโรงละครเวที 126 ที่นั่ง รวมถึงเวทีฝึกหัดของโรงเรียนศิลปะขนาด 300 ตร.ม. บนพื้นที่ประมาณ 300 ตร.ม. เพื่อรองรับพื้นที่ดังกล่าวซึ่งถูกล้อมรอบด้วยถนนแคบๆ โดยมีไดอะแฟรม (Diaphragm) เหล็กที่ช่วยป้องกันการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว อยู่ในตำแหน่งที่สอดคล้องกับระนาบควบคุมความสูง ช่วยให้ทั้งโครงสร้างมีน้ำหนักเบา และมีพื้นที่ว่างโดยปราศจากเสาได้มากที่สุด เพื่อรองรับจำนวนที่นั่งทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีฉนวนกันความร้อนจากภายนอก รอยแยกระหว่างแผ่นสีดำทำหน้าที่ช่วยระบายความร้อน และมีร่องระบายน้ำฝน รายละเอียดที่เรียบง่ายและวัสดุที่ถูกออกแบบมาอย่างพิถีพิถัน สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นธรรมชาติของ “นักแสดงจากผืนผ้าใบ” และช่วยฟื้นฟูพื้นที่ให้มีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น

MOKUZAI KAIKAN

โตเกียว, ญี่ปุ่น, พ.ศ. 2552

NEW FRONTIERS FOR TIMBER

สถาปัตยกรรมนี้ นับเป็นการเปิดประตูสู่โอกาสครั้งใหม่ของงานก่อสร้างด้วยไม้ คอนเซปต์ดังกล่าวช่วยเสริมให้สำนักงานสมาคมค้าไม้กลายเป็นสถานที่สำคัญ ที่แสดงให้เห็นถึงเสน่ห์อันน่าดึงดูดของไม้ นอกจากนี้เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้กับการใช้ไม้ในงานก่อสร้างเขตเมือง และส่งเสริมการใช้ไม้ภายในประเทศ (ซึ่งความต้องการของตลาดซบเซา) จึงมีการสำรวจกฎระเบียบ วิธีการก่อสร้าง ความเป็นไปได้ในการเข้าไม่แบบญี่ปุ่นดั้งเดิมโดยไม่ใช้กาวทั้งหลังฯลฯ อีกทั้งยังมีการใช้ไม้เป็นวัสดุก่อสร้างทั้งส่วนโครงสร้างและภายนอกอาคาร ด้วยการทำงานร่วมกันทั้ง 3 สิ่งคือการใช้วัสดุทางธรรมชาติ การเข้าไม้วิธีแบบโบราณ การทำงานผ่านเทคโนโลยีดิจิตอล ทำให้ลดค่าใช้จ่ายและนำไปสู่การลดคาร์บอนได้ เหตุผลที่ใช้การเข้าไม้แบบญี่ปุ่นดั้งเดิมนั้น เพราะสามารถทนต่อแรงบีบอัด แรงดึงและการดัดได้ดี แต่มันซับซ้อนและยากที่จะทำด้วยวิธีนี้ ดังนั้นในปัจจุบันจึงไม่ได้ใช้วิธีนี้แล้ว

HOKI MUSEUM

ชิบะ, ญี่ปุ่น, พ.ศ. 2553

DEFYING GRAVITY

โครงการแห่งนี้นับเป็นตัวแทนของพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของประเทศญี่ปุ่นที่มีขึ้นสำหรับจัดแสดงภาพวาดเสมือนจริง การออกแบบผสมผสานระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน มีการรังสรรค์พื้นที่จัดแสดงที่เหมาะสำหรับการชมภาพวาดที่มีรายละเอียดมากภายในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคอลเลคชันของเจ้าของผลงาน โครงการดังกล่าวสร้างขึ้นจากท่อรูปทรงโค้งที่ละเมียดละไมบรรจงวางซ้อนทับกับท่ออื่นๆ ผสมผสานกับคานที่ยื่นยาว 30 เมตร ช่วยดึงดูดความสนใจของผู้พบเห็น

.

บริษัท โตโต้ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าและอุปกรณ์ภายในห้องน้ำอันดับ 1 ของประเทศญี่ปุ่น และมีประวัติยาวนานมากกว่า 100 ปี รวมไปถึงผลิตสินค้าที่โดดเด่นอย่างฝารองนั่งอัตโนมัติ WASHLET ที่ได้รับความนิยมจากลูกค้าทั่วทุกมุมโลก ด้วยยอดจัดจำหน่ายมากกว่า 60 ล้านชิ้นทั่วโลก