กลยุทธ์ด้านอัตราดอกเบี้ย หลัง กนง. ขึ้นดอกเบี้ย 25 bps และสหรัฐฯ ขยายเพดานหนี้
กลุ่มงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB FM) มองว่า กนง. น่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 25 bps ซึ่งจะทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 2 ปี มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อได้ เนื่องจากในแถลงการณ์ผลการประชุม กนง. ยังไม่ได้ส่งสัญญาณหยุดขึ้นดอกเบี้ย แต่ให้ติดตามความเสี่ยงด้านสูงของเงินเฟ้อ ซึ่งอาจมาจากการดำเนินนโยบายภาครัฐที่มากกว่าที่ประเมิน อีกทั้ง คณะกรรมการมองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงในขณะนี้ยังคงติดลบ แต่ในภาวะที่เศรษฐกิจปกติควรปรับขึ้นมาเป็นบวกได้ SCB FM จึงมองว่ามีโอกาสที่ กนง. จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อได้ในการประชุมครั้งต่อไป และยังมีโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยจะถูกปรับสู่ระดับ neutral rate ของไทยที่ 2.50% ได้ ทำให้ยังมีโอกาสที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะสั้นจะปรับสูงขึ้นอีก
SCB FM แนะให้ลูกค้าป้องกันความเสี่ยงทิศทางอัตราดอกเบี้ย โดยการ Pay fixed-rate ตามที่เคยแนะนำไป ซึ่งหาก กนง. ยังเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยตามที่ประเมิน ก็อาจทำให้ THOR OIS tenor 2 ปี ปรับสูงขึ้นสู่ระดับราว 2.40-2.50%% ได้ ลูกค้าจึงอาจพิจารณาทำธุรกรรม Pay fixed rate ที่ระดับปัจจุบันราว 2.10%
อย่างไรก็ดี มีความเสี่ยงที่นโยบายภาครัฐอาจไม่เพิ่มแรงกดดันเงินเฟ้ออย่างที่ กนง. เป็นห่วง ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจไม่ปรับสูงขึ้นเกินกว่า 2.25% โดยกว่าที่นโยบายจะออกมาได้นั้นคาดว่าต้องรอถึงไตรมาส 4 ปีนี้เป็นอย่างเร็ว อีกทั้งการส่งผ่านสู่ภาคเศรษฐกิจจะต้องใช้เวลา จึงอาจยังไม่เห็นแรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในปีนี้ สำหรับแนวโน้มการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนั้น ก็น่าจะไม่ทำให้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นนักโดยเฉพาะในปีนี้
ด้วยเหตุนี้ SCB FM แนะให้ลูกค้าที่เคยทำธุรกรรม Pay fixed-rate ไปแล้ว และมองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจไม่ถูกปรับขึ้นเกินกว่า 2.25% ก็อาจพิจารณาทยอยปิด Position ได้ โดยตั้งเป้า THOR OIS tenor 2 ปี ที่ระดับราว 2.20% (SCB FM เคยแนะนำกลยุทธ์นี้ในเดือนมีนาคมซึ่งTHOR OIS อยู่ที่ราว 1.70-1.80%)
สหรัฐฯ น่าจะขยายเพดานหนี้ภาครัฐสำเร็จ ประกอบกับโอกาสที่ Fed จะปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ก็มีน้อยลง ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ มีแนวโน้มทรงตัว โดยปัจจัยเรื่องเพดานหนี้ที่จะทำให้อัตราผลตอบแทนฯ ปรับลดลง ได้หมดไป นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มลดลงช้ากว่าที่คาด ทำให้โอกาสที่ Fed จะลดดอกเบี้ยในปีนี้มีน้อยลง โดยล่าสุดผู้ร่วมตลาดบางส่วนมองว่า Fed อาจขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในเดือนมิถุนายนนี้ได้ ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 2 ปี ในเดือนที่ผ่านมาปรับสูงขึ้นเร็ว ซึ่งในระยะต่อไป SCB FM ประเมินว่ามีแนวโน้มทรงตัว
SCB FM จึงแนะนำให้ลูกค้าที่ได้ทำธุรกรรม Pay fixed USD ตามที่เคยแนะนำไป อาจยังคง Position ได้อยู่ (โดยทางเราได้เคยแนะให้เข้าทำธุรกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงที่ SOFR OIS tenor 2 ปี อยู่ที่ระดับราว 3.85% จนล่าสุดขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 4.35%) สำหรับลูกค้าที่ยังไม่ได้ทำธุรกรรม Pay fixed USD อาจคอยติดตามสถานการณ์ตัวเลขเงินเฟ้อและเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งในเวลาที่ออกมาแย่กว่าคาด อาจเห็นอัตราดอกเบี้ยปรับลดลงมา ซึ่งอาจเข้าทำธุรกรรม Pay fixed USD ที่ระดับราว 4.25% หรือต่ำกว่าได้
กนง. ขึ้นดอกเบี้ยไปที่ 2% และมีแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ยต่อในไตรมาส 3 ปีนี้
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 bps มาอยู่ที่ 2.0% ตามที่ผู้ร่วมตลาดส่วนใหญ่คาดการณ์ ทั้งนี้ กนง. ได้ปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของปีนี้ลงจาก 2.9% มาอยู่ที่2.6% จากแรงกดดันค่าไฟฟ้าและราคาน้ำมันที่ลดลง และปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของปีนี้ลงลงจาก 2.4% มาอยู่ที่ 2.0% พร้อมมองว่าในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน มีโอกาสที่เลขอัตราเงินเฟ้อจะชะลอลงได้อีก (อาจต่ำกว่า 2%ได้) เนื่องจากจะเผชิญปัจจัยฐานสูงเพิ่มขึ้น สำหรับประมาณการเศรษฐกิจไทย (GDP) ของปีนี้ กนง. ยังคงไว้เท่าเดิมที่ 3.6% โดยมองการส่งออก การท่องเที่ยว และการบริโภคเอกชนดีขึ้น แต่มองการลงทุนภาครัฐและภาคเอกชนแย่ลง สำหรับในระยะต่อไป กนง. มองว่าเศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวสูงกว่าที่ประเมินไว้ได้ หากนโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐออกมามากกว่าคาด
ในการประชุมครั้งต่อไป SCB FM มองว่า กนง. น่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 25 bpsซึ่งจะทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 2 ปี มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อได้ เนื่องจากในแถลงการณ์ผลการประชุม กนง. ยังไม่ได้ส่งสัญญาณหยุดขึ้นดอกเบี้ย แต่ให้ติดตามความเสี่ยงด้านสูงของเงินเฟ้อ ซึ่งอาจมาจากการดำเนินนโยบายภาครัฐที่มากกว่าที่ประเมิน อีกทั้ง คณะกรรมการมองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงในขณะนี้ยังคงติดลบ แต่ในภาวะที่เศรษฐกิจปกติควรปรับขึ้นมาเป็นบวกได้ SCB FM จึงมองว่ามีโอกาสที่ กนง. จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อได้ในการประชุมครั้งต่อไป อย่างไรก็ดี ผู้ร่วมตลาด ณ ขณะนี้ยังไม่ fully price ว่า กนง. จะขึ้นดอกเบี้ยไปที่ 2.25% ในการประชุมครั้งต่อไป (ปัจจุบันตลาด price-in การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งต่อไปราว 50-60%) และยังมีโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยจะถูกปรับสู่ระดับ neutral rate[1] ของไทยที่ 2.50% ได้ ทำให้ยังมีโอกาสที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะสั้นจะปรับสูงขึ้นอีก นอกจากนี้ สถานการณ์การเมืองไทยยังมีความไม่แน่นอนสูง ทำให้ในระยะสั้นเงินทุนเคลื่อนย้ายจะยังไม่ไหลเข้าตลาดพันธบัตรรัฐบาลไทยมากนัก ความเสี่ยง Downside ที่อัตราผลตอบแทนฯ จะปรับลงจึงมีต่ำ
SCB FM แนะให้ลูกค้าป้องกันความเสี่ยงทิศทางอัตราดอกเบี้ย โดยการ Pay fixed-rate[2] ตามที่เคยแนะนำไป ซึ่งหาก กนง. ยังเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยตามที่ประเมิน ก็อาจทำให้ THOR OIS tenor 2 ปี ปรับสูงขึ้นสู่ระดับราว 2.40-2.50%% ได้ ลูกค้าจึงอาจพิจารณาทำธุรกรรม Pay fixed rate ที่ระดับปัจจุบันราว 2.10%
อย่างไรก็ดี มีความเสี่ยงที่นโยบายภาครัฐอาจไม่เพิ่มแรงกดดันเงินเฟ้ออย่างที่ กนง. เป็นห่วง ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจไม่ปรับสูงขึ้นเกินกว่า 2.25% โดยกว่าที่นโยบายจะออกมาได้นั้นคาดว่าต้องรอถึงไตรมาส 4 ปีนี้เป็นอย่างเร็ว อีกทั้งการส่งผ่านสู่ภาคเศรษฐกิจจะต้องใช้เวลา จึงอาจยังไม่เห็นแรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในปีนี้ สำหรับแนวโน้มการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนั้น ก็มีโอกาสที่จะยังไม่เพิ่มแรงกดดันเงินเฟ้อในปีนี้เช่นกัน เนื่องจาก
- หากมองย้อนกลับไปในปี 2013 ที่มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน พบว่าภาครัฐแบ่งการขึ้นค่าแรงเป็น 2 รอบ รอบแรกขึ้นช่วงเดือน เม.ย. 2013 ราว 40% ทั่วประเทศมาอยู่ที่ราว 222-273 บาท/วัน (ค่าแรงหลังถูกปรับขึ้นจะแตกต่างกันแล้วแต่จังหวัด) และรอบที่สองถูกปรับขึ้นในเดือน ม.ค. 2014 มาอยู่ที่ 300 บาท/วัน เท่ากันทุกจังหวัด โดยแต่ละจังหวัดเพิ่มขึ้นอีกราว 9-36% อย่างไรก็ดี พบว่าเงินเฟ้อในช่วงนั้นไม่ได้ปรับขึ้นตามมากนัก แต่เงินเฟ้อของไทยจะได้รับผลจากเรื่องของราคาพลังงานมากกว่า
- สำหรับนโยบายที่มีการเสนอขณะนี้ ให้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 450 บาท/วัน SCB FM ประเมินว่าจะทำให้อัตราค่าจ้างในแต่ละจังหวัดเพิ่มขึ้นราว 27.5%-41.5% ซึ่งจะเห็นได้ว่า อัตราการปรับขึ้นค่าแรงนั้นน้อยกว่าในช่วงปี 2013-14 อย่างมีนัย และหากภาครัฐใช้แนวทางการปรับขึ้นเหมืนรอบก่อน โดยแบ่งการขึ้นเป็น 2 รอบ ก็จะทำให้การส่งผ่านแรงกดดันไปสู่เงินเฟ้อมีน้อยลงไปอีก และผลกระทบต่อเงินเฟ้อก็น่าจะยังไม่เห็นภายในปีนี้
นอกจากนี้ ในช่วงตอบคำถาม เลขานุการ กนง. เลี่ยงตอบคำถามที่ว่า กนง. จะดำเนินนโยบาย normalization ต่อไปหรือไม่ โดยกล่าวว่าการดำเนินนโยบายที่ผ่านมานั้นเหมาะสมและคณะกรรมการฯ จะดูแนวโน้มเศรษฐกิจประกอบการดำเนินนโยบายในระยะต่อไป ซึ่งการสื่อสารนี้แตกต่างจากการประชุมรอบที่แล้วที่ กนง.ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยนโยบายชัดเจนกว่า
ด้วยเหตุนี้ SCB FM แนะให้ลูกค้าที่เคยทำธุรกรรม pay fixed-rate ไปแล้ว และมองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจไม่ถูกปรับขึ้นเกินกว่า 2.25% ก็อาจพิจารณาทยอยปิด Position ได้ โดยตั้งเป้า THOR OIS tenor 2 ปี ที่ระดับราว 2.20% (SCB FM เคยแนะนำกลยุทธ์นี้ในเดือนมีนาคมซึ่ง THOR OIS อยู่ที่ราว 1.70-1.80%)
สหรัฐฯ ขยายเพดานหนี้สำเร็จ ทำให้อัตราผลตอบแทนฯ มีแนวโน้มทรงตัว
สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ มีมติเห็นชอบร่างกฎหมายในการขยายเพดานหนี้ภาครัฐ ทำให้จะสามารถเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ได้ในที่สุด โดยสภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) มีมติ 314 ต่อ 117 เสียงในการโหวตผ่านร่างกฎหมายดังกล่าว ซึ่งในขั้นตอนต่อไป ร่างนี้จะถูกส่งไปที่วุฒิสภา (Senate) เพื่อรับการเห็นชอบก่อนที่จะได้รับการลงนามโดยประธานาธิบดีเพื่อมีผลบังคับใช้ต่อไป โดยคาดว่าจะต้องได้รับการลงนามก่อนวันที่ 5 มิถุนายน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้รัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ (technical default) สำหรับเนื้อหาในร่างกฎหมายนี้ คาดว่าการใช้จ่ายภาครัฐจะถูกกำหนดให้คงที่ไปอีก 2 ปี (ยกเว้นการใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศ) เร่งการอนุมัติโครงการพลังงานขนาดใหญ่ ปรับลดเงินสนับสนุนในโครงการ Internal Revenue Service และเพิ่มเงื่อนไขในโครงการแสตมป์อาหาร (Food Stamp Program) และโครงการประกันสังคม (social safety net) ให้ครอบคลุมน้อยลง ส่วนเพดานหนี้จะถูกขยายให้สูงขึ้นครอบคลุมไปถึงเดือนมกราคม 2025
ด้วยความเสี่ยงเรื่องเพดานหนี้ที่หมดไป ประกอบกับโอกาสที่ Fed จะปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ก็มีน้อยลง ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ในระยะต่อไปมีแนวโน้มทรงตัว โดยปัจจัยเรื่องเพดานหนี้ที่จะทำให้อัตราผลตอบแทนฯ ปรับลดลง ได้หมดไป นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มลดลงช้ากว่าที่คาด โดยเฉพาะต้นทุนสินค้ากลุ่มพลังงานและภาคบริการที่ปรับสูงกว่าคาดในเดือนที่ผ่านมา ทำให้โอกาสที่ Fed จะลดดอกเบี้ยในปีนี้มีน้อยลง โดยล่าสุดผู้ร่วมตลาดบางส่วนมองว่า Fed อาจขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในเดือนมิถุนายนนี้ได้ ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 2 ปี ในเดือนที่ผ่านมาปรับสูงขึ้นเร็ว ซึ่งในระยะต่อไป SCB FM ประเมินว่ามีแนวโน้มทรงตัว
SCB FM จึงแนะนำให้ลูกค้าที่ได้ทำธุรกรรม Pay fixed USD ตามที่เคยแนะนำไป อาจยังคง Position ได้อยู่ (โดยทางเราได้เคยแนะให้เข้าทำธุรกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงที่ SOFR OIS tenor 2 ปี อยู่ที่ระดับราว 3.85% จนล่าสุดขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 4.35% ทั้งนี้ สำหรับลูกค้าที่ยังไม่ได้ทำธุรกรรม Pay fixed USD อาจคอยติดตามสถานการณ์ตัวเลขเงินเฟ้อและเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งในเวลาที่ออกมาแย่กว่าคาด อาจเห็นอัตราดอกเบี้ยปรับลดลงมา ซึ่งอาจเข้าทำธุรกรรม Pay fixed USD ที่ระดับราว 4.25% หรือต่ำกว่าได้
ผู้เขียนบทวิเคราะห์ : วชิรวัฒน์ บานชื่น
นักกลยุทธ์ตลาดเงินอาวุโส กลุ่มงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์
wachirawat.banchuen@scb.co.th
Disclaimer: The information contained in this report has been obtained from sources believed to be reliable. However, neither we nor any of our respective affiliates, employees or representatives make any representation or warranty, express or implied, as to the accuracy or completeness of any of the information contained in this report, and we and our respective affiliates, employees or representatives expressly disclaim any and all liability relating to or resulting from the use of this report or such information by the recipient or other persons in whatever manner.
Any opinions presented herein represent our subjective views and our current estimates and judgments based on various assumptions that may be subject to change without notice, and may not prove to be correct. This report is for the recipient’s information only. It does not represent or constitute any advice, offer, recommendation, or solicitation by us and should not be relied upon as such. We, or any of our associates, may also have an interest in the companies mentioned herein.
[1] Neutral rate คือ ระดับอัตราดอกเบี้ยที่ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับศักยภาพและอัตราเงินเฟ้อเป็นไปตามกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของ ธปท.
[2] การทำธุกรรม hedging อัตราดอกเบี้ย จากที่จ่ายดอกเบี้ย float-rate มาเป็นจ่ายดอกเบี้ย fixed-rate