ดร.ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ระบุว่า ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนกันยายน 2567 กับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) พบว่า การส่งออกมีมูลค่า 25,983.2 ขยายตัวร้อยละ 1.1 และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 889,074 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 0.8 (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในเดือนกันยายนขยายตัวร้อยละ 3.1) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 25,589.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 9.9 และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 886,336 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.8 ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนกันยายน 2567 เกินดุลเท่ากับ 394.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเกินดุลในรูปของเงินบาท 2,738 ล้านบาท

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนมกราคม – กันยายน ของปี 2567 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) พบว่า ไทยส่งออกรวมมูลค่า 223,176.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 3.9 และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 7,957,895 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.6 (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในช่วงมกราคม - กันยายน ขยายตัวร้อยละ 4.2) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 229,132.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 5.5 และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 8,264,589 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.2 ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนมกราคม - กันยายน 2567 ขาดดุลเท่ากับ 5,956.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นการขาดดุลในรูปเงินบาท 306,694 ล้านบาท.

โดย สรท.คาดการณ์ ส่งออกปี 2567 เติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2 (ณ พฤศจิกายน 2567) โดยมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง ได้แก่ 1) ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ 1.1) ความการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีกังวลเกี่ยวกับนโยบายกีดกันทางการค้า มาตรการกำแพง และของสหรัฐอเมริกากับประเทศคู่ค้าที่ได้ดุลการค้าจากสหรัฐฯการค้า ไม่เฉพาะจีนเท่านั้น 1.2) สถานการณ์สงครามในตะวันออกกลางยังคงยืดเยื้อ 2) ดัชนีภาคการผลิต Manufacturing PMI ยังคงชะลอตัวในตลาดสำคัญ 3) ปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวังส่งผลต่อต้นทุนภาคการผลิต 3.1) ค่าเงินบาทยังมีความผันผวน แม้ว่าจะอ่อนค่าลงมาเล็กน้อยจากการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายจากการประชม กนง. ครั้งล่าสุด

ขณะเดียวกัน FED มีแนวโน้มที่จะปรับ FED ลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 3.2) สถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าทางทะเลเริ่มผ่อนคลายและปรับลดลงจากช่วงเวลาก่อนหน้า มีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างไรก็ตามอาจต้องเฝ้าระวังหลายสัญญาณที่อาจเกิดขึ้นช่วงปลายปีอีกครั้งหนึ่ง 3.3) ราคาน้ำมันปรับลดลงต่อเนื่อง กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันเปลี่ยนแผนการปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันออกไปอีกจากเดิมที่กำหนดไว้ในเดือนธันวาคม จากความกังวลด้านอุปสงค์ที่ชะลอตัวในหลายตลาดสำคัญ อย่างไรก็ตามความยืดเยื้อของสงครามในตะวันออกกลางยังคงครุกกรุ่นเป็นระยะส่งผลให้ทิศทางของราคายังคงมีคาวมผันผวน 4) มาตรการทางการค้าที่ต้องเฝ้าระวัง อาทิ 4.1) การยกเลิกมาตรการห้ามส่งออกข้าวของอินเดีย กระทบต่อผู้ส่งออกข้าวไทย 4.2) EUDR เลื่อนการบังคับใช้ออกไปเป็นปี 2569 กระทบราคาและการส่งมอบต่อผู้ส่งออกยางพารา

ทั้งนี้ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย มีข้อเสนอแนะที่สำคัญ ดังนี้ 1) ต้องเฝ้าระวังค่าระวางการขนส่งสินค้าทางทะเล เนื่องจากปัจจัยหลายปัจจัย อาทิ สถานการณ์สู้รบในตะวันออกกลางและความไม่แน่นอนของการเจรจาค่าแรงในท่าเรือฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกายังคงมีอิทธิพลต่อตลาดการขนส่งทางทะเล และความพยายามของสายเรือที่จะปรับเพิ่มขึ้นค่าระวางในเดือนพฤศจิกายน 2) ต้องเฝ้าระวังความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยน และเตรียมความพร้อมเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน รวมถึงต้องรักษาเสถียรภาพการเงินไม่ให้แข็งค่าเร็วเกินไป และ 3) เร่งรัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าในกลุ่มประเทศศักยภาพ รวมถึงการเจรจาการค้าเสรี และการทำข้อตกลงเพื่อความร่วมมือทางการค้า.