อย่าให้ New Year’s Resolution เป็นแค่ความเพ้อฝันประจำปี   พอถึงเวลาขึ้นปีใหม่ หลายคนก็จะมีการตั้งเป้าหมายของปี (new year’s resolution) และตั้งใจจะทำให้ได้ เช่น ตั้งใจลดน้ำหนัก ตั้งใจออกกำลังกาย แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่ผลการวิจัยออกมาว่า 17-45 เปอร์เซนต์ของพวกเรานั้นล้มเลิกเป้าหมายของปีที่ตั้งใจจะทำภายในเวลาเพียงแค่เดือนเดียว และผู้คนส่วนใหญ่ก็เลิกล้มที่จะทำตามที่ตั้งใจไว้เมื่อผ่านไปได้เพียงครึ่งปี จนเกิดเป็นอาการ false hope syndrome

เพื่อให้ประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจมากขึ้นนักวิจัยจึงแนะนำให้ตั้งเป้าหมายที่อยู่บนความเป็นจริง มีเป้าที่สามารถทำได้จริง มากกว่าที่จะตั้งเป้าหมายที่ต้องใช้การห้ามเหรือการเลิกเช่น ฉันจะเลิกดื่มเหล้า เลิกบุหรี่ โดยเราสามารถแบ่งเป้าหมายเป็น long-term goals และ micro-goals ตัวอย่างเช่นหากต้องการลดน้ำหนัก การตั้งเป้าว่าจะลดน้ำหนัก 10 กิโล จะดูมากเกินไปและยาก และทำให้เราเกิดอาการท้อแท้จนล้มเลิก การปรับเป้าหมายมาเป็นเป้าหมายที่ดูทำได้จริงเช่น การลดน้ำหนักโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 0.5 ถึง 1 กิโลกรัม ต่อสัปดาห์ เราจึงควรตั้งเป้าหมายให้ 10 กิโล เป็น long-term goal และ เอาค่าการลดน้ำหนักเฉลี่ยมาใช้เป็น micro-goal ที่เราต้องดูในแต่ละสัปดาห์ และทำตาม micro-goal ไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้เรารู้สึกถึงความสำเร็จ มีกำลังใจและนำไปสู่ long-term goal ที่เราตั้งเป้าไว้ได้สำเร็จ ซึ่งแนวคิดนี้ก็สามารถนำมาปรับใช้กับเป้าหมายอื่นๆ ได้เช่นกัน    

แนวทางเพื่อสร้างเสริม well-being

การที่เราตั้งเป้าหมายที่จะมีสุขภาพดีนั้นสามารถทำได้หลายด้าน แต่สำหรับหลายๆคนแล้วนั้น เมื่อเวลาผ่านไปอาจรู้สึกท้อแท้และรู้สึกว่าเป้าหมายที่วางเอาไว้นั้นดูใหญ่ ดูมากเกินไปจนรู้สึกไม่อยากทำแล้วก็ล้มเลิก แต่ถ้าหากเราเปลี่ยนเป็นการค่อยๆ โฟกัสไปทีละด้าน อาจทำได้วันละนิดแต่ทำอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้เพิ่มโอกาสที่จะทำเป้าหมายการดูแลสุขภาพให้สำเร็จได้มากขึ้น การดูแลสุขภาพในด้านต่างๆ ก็มีดังต่อไปนี้  

ดูแลเรื่องการนอนหลับ

เราสามารถดูแลเรื่องการหลับได้ โดยหลีกเลี่ยงแสงสว่างภายในสองชั่วโมงก่อนเวลานอน และหลีกเลี่ยงการเล่นมือถือก่อนเข้านอน ควรเข้านอนให้ตรงเวลาและหลีกเลี่ยงการนอนดึก บางคนอาจใช้กลิ่นอ่อนๆ เพื่อช่วยผ่อนคลายก่อนหลับ ก็สามารถช่วยให้หลับได้ดีขึ้นเช่นกัน  

ดูแลสุขภาพร่างกาย

เพียงการขยับเท้า ขยับมือ สั่นหัวเข่า สามารถช่วยเผาผลาญแคลอรี่ได้มากกว่าที่เราคิดและยังช่วยลดความเครียด การเดินถอยหลังก็สามารถเผาผลาญแคลอรี่ได้มากกว่าเดินไปข้างหน้าและยังช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อหลังและช่วยกระตุ้นสมองอีกด้วย 

ดูแลจิตใจ

ผ่อนคลายจิตใจด้วยกรทำกิจกรรมต่างๆ ใม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้เรารู้สึกว้าวกับตัวเอง ความว้าว ความประหลาดใจเวลาที่เรารู้สึกสนุกหรือได้ accomplish อะไรบางอย่าง ก็มีส่วนช่วยลดความเครียดเช่นกัน

ดูแลความสัมพันธ์

ความสัมพันธ์กับคู่ครอง เพื่อนๆ ครอบครัวก็ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและทำให้เรารู้สึกมีความสุข การให้อภัยซึ่งกันและกันในเรื่องต่างๆ การปล่อยวางก็ช่วยให้ลดความเครียดลงได้เช่นกัน การหาเวลาเข้าสังคม พบปะญาติมิตรและเพื่อนฝูง ก็ทำให้รู้สึกเบิกบานใจและสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีได้

ดูแลเรื่องการกิน

การบริโภคผักและผลไม้ช่วยบำรุงสมองและยังช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ การทานอาหารขยะก็ยังเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงซึ่งนอกจากจะไม่ดีต่อร่างกายแล้วก็ยังไม่ดีต่อจิตใจอีกด้วย จึงควรเพิ่มการบริโภคผักและผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพเข้าไปในชีวิตประจำวันด้วย

ดูแลความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย

การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยให้รู้สึกแข็งแรงแล้ว ยังช่วยในการไหลเวียนของออกซิเจนซึ่งช่วยในระบบการเผาพลาญพลังงานของร่างกาย การก้าวเท้าเดินเพียงแค่วันละ 5,000 ก้าวก็เพียงพอที่จะช่วยทำให้สุขภาพดีขึ้น ขอเพียงแค่ทำอย่างต่อเนื่อง หรือเปลี่ยนจากการขึ้นลิฟต์เพียงไม่กี่ชั้นเป็นการขึ้นลงบันไดแทน ก็ช่วยให้รู้สึกแข็งแรงขึ้นได้เช่นกัน

ดูแลงานอดิเรก

งานอดิเรกมีส่วนช่วยในการแก้ความเบื่อหน่ายซึ่งเป็นต้นตอของอาการทางจิตหลายๆ อาการ เมื่อรู้สึกเบื่อหน่าย แทนที่จะหันไปดูโทรศัพท์มือถือ ให้ลองเปลี่ยนเป็นการทำงานอดิเรก เช่น เล่นดนตรี วาดภาพ แต่งกลอน สามารถช่วยทำให้สมองรู้สึกดีขึ้นและยังช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย นอกเหนือจากงานอดิเรก การทำความสะอาดบ้านก็เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ และเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายที่ดีเช่นกัน

ไม่ว่าเราตั้งใจอยากทำอะไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือการเริ่มลงมือทำ และทำอย่างต่อเนื่องๆ อาจมีท้อแท้บ้างเมื่อเห็นผลลัพธ์ที่ได้แค่นิดเดียว หรือไม่เปลี่ยนแปลงเลย แต่หากได้ทำต่อเนื่องและค่อยๆ สะสมไปทีละนิด สร้างกำลังใจไปทีละหน่อย อาจจะใช้เวลามากหน่อย แต่ก็สามารถช่วยให้เราไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ และรู้สึกดีเยี่ยมเมื่อประสบความสำเร็จตามที่ได้ตั้งใจไว้

 

ที่มา https://www.bbc.com/future/article/20231229-how-to-improve-your-life-in-2024-according-to-science