GDP กับการเปิด ASEAN Economic Community (AEC)
เมื่อพูดถึงการลงทุนไม่ว่าจะในหรือนอกประเทศ ข้อมูลหรือตัวชี้วัดตัวหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง เพื่อนำไปเป็นปัจจัยในการตัดสินใจลำดับต้นๆ คือ “GDP” วันนี้ TerraBKK จึงอยากที่จะนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับ “GDP กับการเปิด AEC” ว่าก่อนที่เราเปิด AEC ประเทศเพื่อนบ้านของเรามีสภาพเศรษฐกิจแตกต่างกันอย่างไร
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า GDP หมายถึงอะไร
GDP ย่อมากจาก Gross Domestic Product หรือ ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ หมายถึง ผลรวมสุดท้ายทั้งหมดของสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ มูลค่าผลผลิตที่คนไทยและคนต่างประเทศผลิตขึ้นได้ในประเทศ แต่ GDP ก็มีข้อจำกัดในการนำไปใช้ คือ
- GDP ไม่ได้คำนวณรวมคุณภาพของสินค้าและบริการที่ผลิตได้เอาไว้
- GDP ไม่สามารถบอกถึงการกระจายรายได้ของประเทศว่าดีหรือไม่ดี
- GDP ไม่สามารถแสดงให้เห็นส่วนประกอบของผลผลิต
- GDP ไม่ได้บ่งบอกถึงความมั่งคั่งของประเทศเพราะไม่ได้รวมรายได้จากการใช้ทรัพยากรของไทยในประเทศอื่น
ตัวเลข GDP ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการคำนวณรายได้ประชาชาติ มีความสำคัญอย่างมากสำหรับการนำไปศึกษาถึงสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และจำนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินนโยบายของภาครัฐบาลทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง ยังรวมถึงการดำเนินนโยบายภายในบริษัทอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม GDP ไม่ใช่ทั้งหมดของการศึกษาสภาพเศรษฐกิจและยังมีตัวชี้วัดอีกหลายตัวที่จะสามารถเติมเต็มซึ่งกันและกันได้
สำหรับเศรษฐกิจในภูมิภาค ASEAN ของเราจะมีความโดดเด่นแตกต่างกันอย่างไรไปดูกันได้เลย (ข้อมูลที่รวบรวมมาทาง World Bank ไม่ได้รวบรวมข้อมูลของพม่าเอาไว้ทำให้ต้องดึงข้อมูลจาก IMF สำหรับพม่าเข้ามาแทน)
เมื่อดูมูลค่าผลิตภัณฑ์รวมภายในประเทศ (GDP) ของแต่ละประเทศใน AEC แล้ว อันดับ 1 ประเทศอินโดนีเซีย จะเป็นประเทศที่มีมูลค่าของผลผลิตที่เกิดขึ้นภายในประเทศสูงที่สุดใน ASEAN และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2010-2012 จากนั้นเริ่มชะลอความร้อนแรงลง อันดับที่ 2 คือ ประเทศไทย มีมูลค่าของผลผลิตที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทยสูงถึง 387,252 ล้านดอลล่าร์ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกๆปี สำหรับประเทศสิงคโปร์ อันดับที่ 4 และเมื่อดู GDP ของภูมิภาค ASEAN แล้วมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ส่วนประเทศพม่า อยู่ที่อันดับที่ 7
อัตราการ Growth ของ GDP ในภูมิภาคอาเซียนนในปี 2013 นำมาโดยประเทศพม่าซึ่งมีอัตราการเติบโตสูงถึง 8.25% ในปี 2013 เติบโตขึ้นต่อเนื่องเนื่องจากพม่าเป็นประเทศเกิดใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลกและยังมีทรัพยากรสำหรับการผลิตค่อนอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้เศรษฐกิจดูเติบโตอย่าโดดเด่นในช่วงที่ผ่านมา สำหรับประเทศลาวอัตราการเจริญเติบโตสูงถึง 7.8% มาตลอด 3 ปี การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างมีเสถียรภาพมากการเติบโตในลักษณะแบบนี้ถือว่าน่าสนใจมากทีเดียว สำหรับประเทศอัตราการเจริญเติบโตไม่ถึง 5% ต่อปี มี มาเลเซีย สิงค์โปร ไทย และบรูไน เรียงจากมากไปน้อยตามลำดับ สำหรับปรเทศไทยอัตราการเติบโตของ GDP ต่ำมากและถือว่าผันผวนค่อนข้างสูง
การวิเคราะห์ข้างต้นเป็นตัวอย่างของการนำข้อมูล GDP มาใช้ในการเปรียบเทียบสำหรับตัดสินใจลงทุนในต่างประเทศหรือประเทศตนเอง ซึ่ง GDP จะถูกใช้เป็นลำดับต้นๆในการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจ
บทความโดย : TerraBKK คลังความรู้
TerraBkk ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก