วันหมดอายุที่เห็นบนฉลากอาจยังไม่ใช่วันที่อาหารควรถูกโยนทิ้งถึงขยะก็ได้ TerraBKK มีความจริงเกี่ยวกับวันหมดอายุบนฉลากและอายุที่แท้จริงของอาหารแต่ละชนิดมาฝาก... เผยเคล็ดลับโดย Women's Health ถ้าคุณเก็บอาหารเหล่านี้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะในช่องแช่เย็นธรรมดา ช่องฟรีซ หรือตู้กับข้าว ก็จะช่วยให้คุณไม่ต้องทิ้งเงินไปเปล่าๆ ทั้งๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาแต่อย่างใด


1/ น้ำผึ้ง เก็บได้นานพอๆ กับอายุของคุณค่ะ 2/ ซุปกระป๋องที่ยังไม่เปิด 2-5 ปี 3/ เครื่องเทศบดต่างๆ 3-4 ปี 4/ ผักดองในโหลแก้ว 1 ปี 5/ เบกกิ้งโซดา 2 ปี 6/ เมล็ดข้าวโพดคั่ว 2 ปี 7/ เมล็ดข้าวหรือพาสต้า 3 ปี (ที่ยังไม่สุก) 8/ น้ำสลัดแบบขวด 6-9 เดือน
9/ แคร็กเกอร์ยังไม่เปิดห่อ 6-8 เดือน 10/ ซอสมะเขือเทศ 6 เดือน 11/ เนยถั่ว 6 เดือน 12/ ไข่สด 3-5 สัปดาห์ 13/ มายองเนส 2 เดือน 14/ เนย 1-3 เดือน 15/ วิปปิ้งครีม 3 เดือน 16/ เชดดาร์ชีสแบบก้อน 3-4 สัปดาห์ 17/ เบบี้แครอต 2-3 สัปดาห์ 18/ น้ำส้มกระป๋อง 7-10 วัน 19/ นม 1 สัปดาห์ 20/ เบคอนสด 1 สัปดาห์ 21/ ไส้กรอกสด 1 สัปดาห์ (1-2 เดือน ในช่องฟรีซ) 22/ โยเกิร์ต 5-7 วัน 23/ ขนมปังโฮลวีต 5-7 วัน (3 เดือน ในช่องฟรีซ) 24/ ข้าวสุก 4-6 วัน (ถ้าหน้าร้อนอายุจะสั้นลง) 25/ เนื้อไก่แผ่น 3-5 วัน 26/ ไวน์เปิดขวดแล้ว 3-5 วัน 27/ หน่อไม้ฝรั่งสด 3-4 วัน 28/ ไก่ย่าง 3-4 วัน 29/ ไส้กรอกปรุงสุก 3-4 วัน 30/ พิซซ่าที่เหลือ 3-4 วัน 31/ ไก่ดิบ 1-2 วัน (9 เดือน ในช่องฟรีซ) 32/ เนื้อบด 1-2 วัน (3-4 เดือน ในช่องฟรีซ)
สาวๆ ควรสังเกตวันที่ระบุความสดใหม่ของอาหาร เพื่อความปลอดภัยด้วยนะคะ อย่างคำว่า BEST BY/ENJOY BY นั้นบอกถึงรสชาติและคุณภาพ...ซึ่งจะดีจนถึงวันที่กำหนดไว้ ส่วนคำว่า USE BEFORE/GUARANTEED FRESH บ่งชี้ว่าอาหารมีรสชาติและคุณภาพดีเยี่ยมในระยะเวลาที่กำหนด แต่คำว่า SELL BY นั้นเป็นข้อความที่ผู้ผลิตบอกกับผู้ค้าปลีกว่าควรเปลี่ยนสต็อกได้แล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับคุณแต่อย่างใด

ขอบคุณข้อมูลจาก :