8 tips สำหรับเหล่าแบ็คแพ็คเกอร์ในการเดินทางโดยรถบัสอย่างไรไม่ให้ทรมาน!
วิธีที่ถูกที่สุดในการเดินทางไปต่างประเทศ หรือในประเทศ ก็มักจะเป็นรถบัส ที่ถ้าโชคร้ายสุดๆ คุณอาจได้นั่งคันที่ทั้งช้า น่าอึดอัด เหม็น และแออัด…หยึย! แค่คิดก็ไม่จืดแล้ว
การเดินทางโดยรถบัสข้ามคืนสามารถช่วยให้คุณประหยัด 90% ของจำนวนเงินที่คุณต้องจ่ายไปกับค่าเครื่องบิน แต่แน่นอนว่าการเดินทางโดยเครื่องบินนั้นจะใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง แถมยังสะดวกสบายยิ่งกว่า ในขณะที่รถบัสจะใช้เวลาลากยาวกว่ามาก บางทีหลับไปไม่รู้กี่ตื่นก็ยังไม่ถึงซะที และถ้าคุณไม่ได้เตรียมตัวให้ดีซะก่อนล่วงหน้า กว่าจะถึงที่หมาย คุณอาจรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปวดตัว จนไม่เป็นอันเอ็นจอยสถานที่ที่คุณอุตส่าห์เดินทางมาเที่ยวได้
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่ามันจะไม่มีวิธีทำให้การเดินทางโดยรถบัสของคุณสะดวกสบายเสียเมื่อไหร่ เพราะวันนี้เราได้รวบรวม tips & tricks ง่ายๆ ที่คุณสามารถนำไปใช้ให้การเดินทางกว่า 10 ชั่วโมงบนรถบัสไม่แสนสาหัสอย่างที่คิด ไม่แน่ถ้าโชคเข้าข้าง คุณอาจได้นอนหลับสักตื่น สองตื่นก็เป็นได้ เอ้า! แบ็คแพ็คเกอร์คนไหนที่กำลังจะเดินทางเร็วๆนี้ รีบลงไปอ่านกันเลย!
1. เลือกที่นั่งที่ดีที่สุด
ศิลปะของการเลือกที่นั่งที่ดีที่สุดนั้นต้องใช้ทักษะที่เฉพาะเจาะจงมาก ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในการเดินทางโดยรถบัสของคุณล้วนๆถ้าคุณอยู่ในอเมริกาใต้ ยุโรป หรือสหรัฐอเมริกา คุณอาจสามารถเลือกที่นั่งที่ต้องการได้ตอนจองตั๋ว แต่ถ้าเป็นพวกประเทศโลกที่สามละก็ คุณคงจำเป็นต้องใช้วิชาตัวเบา ทำตัวให้ว่อง แล้วรีบแซกตัวต่อสู่กับผู้โดยสารคนอื่นๆ เพื่อให้ได้ที่นั่งที่คุณหมายตาเอาไว้ แน่นอนว่ารถบัสแต่ละคันนั้นมีความแตกต่างกันอยู่แล้ว แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันหมดก็คือ นั่งให้ห่างจากห้องน้ำเข้าไว้! ถ้าเป็นรถบัสแบบสูง ที่พวกที่นั่งอยู่เหนือคนขับ ก็แนะนำว่าให้นั่งด้านหน้าสุดไปเลย จะได้มีพื้นที่ให้เหยีดแข้งเหยียดขา หรือไม่ก็ที่นั่งด้านหลังบันได จะได้วางเท้าตรงราวบันไดได้2. เตรียมถุงใส่ขนมและอาหารไว้ให้ดี
ถึงแม้ว่าพวกรสบัสจะมีการแวะจอดให้พวกเราลงพักทานข้าวตามร้านอาหารข้างทาง แต่ส่วนใหญ่แล้วมีน้อยมากที่รสชาติจะถูกปาก เพราะฉะนั้นแนะนำว่าคุณควรซื้อพวกขนม ผลไม้ ข้าวกล่อง หรืออะไรก็ได้ที่คุณชอบทานจริงๆติดตัวไปด้วย ยิ่งได้กินในสิ่งที่ชอบมากเท่าไหร่ อารมณ์จะยิ่งดี เมื่อไหร่ที่คุณรู้สึกเบื่อมากๆ ก็งัดขนมขบเคี้ยวมากินซะ รับรองว่าช่วยได้3. มีกระดาษทิชชู่ หรือทิชชู่เปียกติดตัว
คงไม่ต้องอธิบายอะไรเยอะสำหรับข้อนี้ ห้องน้ำในรถบัสนี่เลี่ยงได้เป็นเลี่ยง แต่ถ้าเกิดคุณดันต้องเข้าขึ้นมาจริงๆก็อย่าลืมเอาทิชชู่เข้าไปด้วยล่ะ4. พกที่อุดหูหรือไอพอดไปด้วย
ต้องนั่งในรถบัสตั้งหลายชั่วโมง บอกเลยว่าห้ามลืมพกไอพอดติดกระเป๋าไปด้วยเด็ดขาด การได้นั่งฟังเพลงไปด้วย ชมวิวข้างนอกไปด้วย สามารถช่วยฆ่าเวลา และบรรเทาความเบื่อได้ดีนักล่ะ ส่วนถ้าอยากนอนหลับแบบสงบสุข โดยที่ไม่ต้องมาทนฟังเสียงเพลงเห่ยๆที่พวกรถบัสชอบเปิด แนะนำว่าให้ซื้อที่อุดหูสำหรับใส่เวลานอนหลับมาด้วย5. รวมถึงหนังสือ แมกกาซีน หรือไอแพด
คุณคงไม่สามารถที่จะกินแล้วก็นอน นอนแล้วก็กินอยู่อย่างนั้นตลอดการเดินทาง ดังนั้นคุณจำเป็นที่จะต้องมีความบันเทิงในรูปแบบอื่นมาช่วยฆ่าเวลา บอกเลยว่าการพกหนังสือดีๆไปด้วยสักเล่ม นิตยสาร หรือไอแพดเพื่อดูหนังสักเรื่องจะช่วยคุณได้มากทีเดียว6. อย่าดื่มหนักก่อนเดินทาง
รถบัสที่ทั้งร้อน มีกลิ่น และแออัดเป็นสถานที่ที่เลวร้ายสุดๆสำหรับอาการเมาค้าง มันอาจจะดูเหมือนเป็นความคิดที่ดีในตอนแรกที่ว่า ‘ไม่เป็นไรหรอก ถึงเวลาเราคงเหนื่อยมากๆจนนอนหลับได้สบายๆ’ แต่อันที่จริงแล้วเวลาคุณนอนหลับ ร่างกายของคุณจะยิ่งต้องทำงานหนักกว่าเดิม เพื่อต่อสู้กับพิษเหล้าที่คุณดื่มเมื่อคืนก่อน ทำให้พอตื่นเช้ามา แทนที่จะรู้สึกสดชื่น คุณกลับรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย และหงุดหงิดง่าย เพราะฉะนั้นก่อนจะเดินทาง อย่าดื่มเลยจะดีกว่า7. ดื่มน้ำให้เพียงพอ
น้ำ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่คุณควรพกติดกระเป๋า! ถึงแม้คุณคงไม่อยากที่จะต้องคอยเข้าห้องน้ำในรถบัสบ่อยๆ (ก็มันน่าอี๋สุดๆ!) แต่ถ้าคุณไม่ดื่มน้ำให้เพียงพอ คุณอาจเกิดอาการอ่อนเพลีย และไม่สบายขึ้นมาได้ ยิ่งถ้าคุณต้องนั่งในรถบัสที่ทั้งร้อน ทั้งอับ ไม่มีแอร์ด้วยแล้ว คุณยิ่งต้องหมั่นจิบน้ำให้มากๆ ส่วนรถบัสที่เปิดแอร์เย็นจัดๆก็จะทำให้อากาศแห้ง และผิวของคุณขาดน้ำ เพราะฉะนั้นคุณก็ควรหมั่นดื่มน้ำด้วยเช่นกัน8. อย่าลืมพกผ้าห่ม หรือสเวตเตอร์ติดตัวมาด้วย
คือเราก็ไม่อยากให้คุณต้องแพ็คอะไรที่หนา กินพื้นที่กระเป๋าหรอกนะ แต่แหม รถบัสบางคันก็เปิดแอร์ซะเย็นอย่างกับอยู่ช่องฟรีซ เพราะฉะนั้นทางที่ดีคุณควรเอาสเว็ตเตอร์อุ่นๆติดกระเป๋ามาด้วย หรือไม่ก็ผ้าห่มสักผืนที่ไม่ต้องหนามากก็ได้ เวลาคุณนอนหลับตอนกลางคืนจะได้อุ่นๆSource : Southeastasiabackpacker
ขอบคุณข้อมูลจาก : Dooddot.com
Discussion
Follow breaking news Investment property articles on Facebook, click here.