ผลงานออกแบบของ 7 ดีไซน์เนอร์ไทยในงาน “Slow Hand Design”ที่คราวนี้มาในธีม “Eco A Mano” จัดขึ้นที่เมืองมิลาน, ประเทศอิตาลี
หลังจากที่ นิทรรศการ Slow Hand Design สั่งสมชื่อเสียงในหมู่นักออกแบบและบายเออร์ที่งาน Salone del Mobile มาหลายปี ในฐานะนิทรรศการที่นำเสนอผลงานออกแบบซึ่งผสมผสานภูมิปัญญา การออกแบบสไตล์ชาวบ้านเข้ากับการผลิตอินดัสเทรียลคราฟต์สมัยใหม่ได้อย่างลงตัว เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 14 – 19 เมษายน 2558) Slow Hand Design กลับมาที่ Rho, Fiera Milan ประเทศอิตาลี อีกครั้ง ในธีม Eco A Mano ซี่งนำเสนอผลงานของ 7 ดีไซน์แบรนด์และสตูดิโอที่มีรสนิยมและแนวความคิด ซึ่งแสดงถึงดีไซน์ดีเอ็นเอของไทยได้อย่างครบถ้วน
ทั้ง 7 แบรนด์นำเอาทักษะงานช่างและงานฝีมือของคนไทยที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น มาผสมรวมกับ ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ได้อย่างลงตัวและได้รับเลือกจากมุมมองที่ทันสมัยในการนำทักษะ งานฝีมือไทยมาใช้สร้างงานออกแบบสมัยใหม่ แบรนด์เหล่านี้มีความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย แต่ทุกคนกลับมีความสนใจและมีความมุ่งมั่นที่เหมือนกัน หนึ่งข้อ นั่นคือ ความพยายามในการเสาะหา วัสดุทางเลือกและวิธีการในการผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม Crafacto นำผักตบชวาและพืชน้ำชนิดอื่นๆ มาใช้สร้างทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับการผลิตเฟอร์นิเจอร์ Kenkoon & Moban เป็น 2 แบรนด์จากผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์เอาท์ดอร์ที่คร่ำหวอดในวงการดีไซน์มานาน พวกเขาทดลองและมองหาวัตถุดิบที่ยั่งยืนเพื่อนำมาใช้ในการทำงานอยู่เสมอ Mobella เป็นผู้เชี่ยวชาญ ด้านเฟอร์นิเจอร์บุหนังซึ่งใช้นโยบาย zero waste ในการผลิต โดยพยายามนำวัสดุที่มีอยู่ มาใช้งานอย่างคุ้มค่าที่สุด Palazzo นำหนังรีไซเคิลมาพัฒนาไปอีกขั้น ด้วยการนำไปใช้ ในคอลเลกชั่นเฟอร์นิเจอร์แบบโมดูล่าที่เปิดตัวในปีนี้ Performax เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่เชี่ยวชาญ การนำผักตบชวามาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์สาน ส่วนคอลเลกชั่น Love Earth ของ Deesawat ก็เสนอเครื่องเรือนสำหรับนอกบ้านที่นำวัสุดเหลือใช้มาเป็นส่วนประกอบหลัก Kun เป็นแบรนด์เฟอร์นิเจอร์เอาท์ดอร์อลูมิเนียมที่มีอายุกว่า 40 ปี พวกเขาสร้างคอลเลกชั่นล่าสุดขึ้นมาจากชิ้นส่วนของสต๊อกสินค้าเก่า โดยผสมผสานดีไซน์และเทคนิคการผลิตที่ทันสมัยลงไป
คอลเลกชั่นงานดีไซน์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนี้แสดงให้เห็นถึงความอัจฉริยะของงานช่างฝีมือไทย การมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์สอนให้คนไทยใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติและส่งต่อภูมิปัญญาไปสู่คนรุ่นหลังดังจะเห็นได้จากเครื่องไม้เครื่องมือประดิษฐ์เองที่เป็นของคู่บ้านอย่างอุปกรณ์หาปลา ตระกร้าสาน หรือของเล่นที่ทำกันเอง ดีไซเนอร์ยุคใหม่นำเทคนิคงานช่างเหล่านี้มาใช้ ผสมรวมกับเซนส์ เรื่องความงามและเทคโนโลยีสมัยใหม่จนเกิดเป็นงานออกแบบไทยร่วมสมัยอย่างทุกวันนี้ อย่างไรก็ดี การมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ไม่ได้ทำให้คนไทยละเลยปัญหาสิ่งแวดล้อมไป เราต่างดึงเอาภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษมาใช้เพื่อสรรหาวัสดุทางเลือกในการผลิตจากธรรมชาติรอบตัว Design By Ecology ในครั้งนี้นำเสนอผลงานออกแบบจากเส้นใยออกแกนิคหลากหลายชนิด เช่นเปลือกข้าว กากกาแฟ ใยสับปะรด ชานอ้อย ฯลฯ
นอกเหนือจากโชว์เคสทั้งสองชุดแล้ว Slow Hand Design ยังนำผลงานออกแบบที่ไดัรับรางวัล Design Excellent Awards (DEMARK) รางวัลสำหรับนักออกแบบสินค้ายอดเยี่ยม จากการสนับสนุนของภาครัฐบาลไทย องค์กรเอกชนของญี่ปุ่น The Japan External Trade Organization (JETRO) และ Japan Institute of Design Promotion (JDP) มาจัดแสดงในงานนี้ด้วย
สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ amin.editor@gmail.com และ pr.nuchanart@gmail.com
Discussion
Follow breaking news Investment property articles on Facebook, click here.