ว่าด้วยสถาปัตยกรรมแบบ Modernist หลายๆคนคงจะรู้จัก หรือเคยได้ยินมาบ้าง สำหรับคนที่ไม่รู้จักนั้น Modernist Architectures มีขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ประมาณปี ค.ศ.1920-1960 โดยมีรากฐานมาจากแนวความคิดแบบ Functionalism ซึ่ง Style ของงาน Modern Architecture ส่วนใหญ่จะแสดงออกถึงความงามของตัวอาคารเอง เน้นความประหยัดตรงไปตรงมาในเรื่องการใช้สอย ตัดความฟุ่มเฟือยหรูหราทางอารมณ์หรือการเอาใจใส่ในรายละเอียดปลีกย่อยของสถาปัตยกรรมทิ้งไป ใครที่ชื่นชอบในการดูหนัง เคยสงสัยบ้างมั้ยครับว่าตึกหรือบ้านสวยๆในเรื่องที่ดูกันนั้น มีสไตล์หรือที่มาที่ไปเป็นอย่างไร วันนี้เราจึงมีบ้านจากหนัง 4 เรื่องมาแนะนำกัน มาดูกันว่ามีเรื่องไหนบ้างที่มีสถาปัตยกรรม หรือตึกที่น่าสนใจสไตล์ Modernist กันบ้าง


1. The Vandamm House – North by Northwest เริ่มด้วย The Vandamm House บ้านสไตล์ Modernist ที่ปรากฎอยู่ในหนังของผู้กำกับระดับตำนาน Alfred Hitchcock ใน North by Northwest หนัง Thriller คลาสสิกปี 1959 ที่ว่าด้วยเรื่องราวของ Cary Grant นักโฆษณาชาวนิวยอร์กที่ถูกลักพาตัวไปโดยผู้มีอิทธิพลเพราะคิดว่าเป็นสายลับและพยายามฆาตกรรมเขา โดยสร้างฉากให้เหมือนเป็นอุบัติเหตุ ซึ่งมีฉากที่ตัวละคร Grant ได้แอบเข้าไปในคฤหาสน์บนภูเขาของตัวร้าย ซึ่งตัวบ้านตั้งใจให้ออกแบบคล้ายคลึงกับงานออกแบบสไตล์ Prairie School ซึ่งเป็นงานสถาปัตยกรรมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 ของ Frank Lloyd Wright สถาปนิกชื่อดัง ซึ่งจุดเด่นของ Prairie School คือจะมี Horizontal Line หรือแนวนอนที่ชัดเจน งาน Interior ที่เปิดกว้างและการใช้วัสดุท้องถิ่น โดยภายนอก Hitchcock ได้ใช้วิธี MATTE Painting หรือการเปลี่ยนฉากหลังบางส่วนในภาพยนตร์ด้วยการวาด, ประกอบ, หรือสร้างขึ้นใหม่ ด้วยวิธีการใดๆ เพื่อให้ภาพมีความสมบูรณ์สวยงาม และดูสมจริง ซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบัน เราจะทำมันด้วยคอมพิวเตอร์หมดแล้ว แต่ในอดีตส่วนมากจะทำขึ้นบนกระจก ส่วนภายในนั้นถูกสร้างขึ้นใน Studio ถ่ายหนัง ซึ่งดูเนียนและเจ๋งมาก จนหลายๆคนพากันเชื่อว่าบ้านนี้คือบ้านจริงๆจากฝีมือ Frank Lloyd Wright


2. The Sheats Goldstein Residence – The Big Lebowksi ต่อกันด้วยหนัง Crime Comedy ปี 1998 ของพี่น้องโคเอนกับ The Big Lebowski ที่สาวกหนัง Cult หลายคนน่าจะชื่นชอบกับพล็อตที่ว่าด้วยเรื่องของโบว์ลิ่ง,คน 2 คนที่ชื่อ Jeffrey Lebowski เหมือนกัน และการไถ่ตัวภรรยาของหนึ่งในสองคนนี้ ฉากที่เด่นฉากหนึ่งของเรื่องนี้คือคฤหาสน์สุดสวยของโปรดิวเซอร์หนังวาบหวิวในเรื่อง Jackie Treehorn ซึ่งที่นี่คือ The Sheats Goldstein Residence The Sheats Goldstein Residence เป็นงานออกแบบโดยหนึ่งในสถาปนิกชื่อดังชาวอเมริกัน John Lautner ซึ่งถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1963 คฤหาสน์หลังนี้มีจุดเด่นที่การผสมผสานระหว่าง คอนกรีต ไม้ และเหล็กที่ลงตัวบนบริเวณเขาที่ Hollywood Hill ใน Los Angeles ซึ่ง Lautner เป็นคนคิดและออกแบบทั้งหมด ที่เราชอบสุดๆคือประตู และกระจกสไลด์มอเตอร์ที่เชื่อมระหว่างเทอร์เรซกับห้องนั่งเล่นที่เพียงกดปุ่มก็จะสามารถเชื่อมหลายๆห้องด้วยกันได้ รวมไปถึงอ่างน้ำร้อนที่สามารถแช่น้ำพร้อมชมวิวมุมสูงของ LA ได้ The Sheats Goldstein Residence นั้นไม่ได้ใช้แค่ถ่ายทำ The Big Lebowksi เท่านั้น แต่ยังเคยถูกใช้เป็นเซตใน VDO และถ่ายภาพของคนดังหลายคนมาแล้ว เช่น Snoop Dogg และ Daft Punk


3. The Villa Necchi Campiglio – I am Love ไม่ใช่แค่ชื่อหนัง และแสดงนำอย่าง Tilda Swinton ที่เราปลื้มเมื่อเราดู I AM LOVE ที่กำกับโดย Luca Guadagnino เท่านั้น แต่ยังมีบ้านสุดสวยที่ Tilda และครอบครัวของเธออาศัยอยู่ที่ทำเอาเราลืมบ้านหลังนี้ไม่ลงอีกด้วย The Villa Necchi Campiglio เป็นตัวอย่างของงานสถาปัตยกรรมของอิตาลีในยุค INTER-WAR หรือในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ถึงช่วงเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งบ้านหลังนี้ถูกสร้างโดยสถาปนิกชาวอิตาเลียน Piero Portaluppi ในช่วงปี 1932 – 1935 แต่ต่อมาถูกปรับปรุงใหม่โดย Tommaso Buzzi บ้านหลังนี้ถูกตกแต่งและนำเสนอความเป็น Luxury ในช่วงเวลานั้น นอกจากนั้นยังมีนวัตกรรมเทคโนโลยี และวัสดุต่างๆที่ดูเด่นมากๆ ซึ่ง Guadagnino บอกว่าเขาโชคดีมากๆที่ได้เจอบ้านนี้แบบบังเอิญในหนังสือ หลังจากปวดหัวกับการหาบ้านที่แตกต่างจากบ้านของคนมีฐานะทั่วไปอยู่ซะนาน


4. Googie Diner – Pulp Fiction
อีกหนึ่งสุดยอด Modernist Moment ของเราคือฉากในร้าน Diner ในตอนเปิด และปิดของหนังแก๊งส์เตอร์ชื่อดังปี 1994 ของผู้กำกับ Quentin Tarantino อย่าง Pulp Fiction เราเชื่อว่าคุณก็คิดเช่นกันกับรายละเอียดต่างๆ อย่างเช่น กระเบื้องสี pastel ในร้านอาหาหาร, โต๊ะนั่งไม้กับเบาะหนังสีแดง และกระจกบานใหญ่ ซึ่งร้านอาหารนี้เปิดขายมาตั้งแต่ปี 1956 ในชื่อว่า Holly’s (ก่อนต่อมาจะเปลี่ยนเป็น The Hawthorne Grill) ในช่วงเวลาถ่ายทำหนังนั้นร้านนี้ได้ถูกปิดมากแล้วกว่า 4 ปี ต่อด้วยความสำเร็จของหนัง ทำให้ร้านนี้กลับมาเปิดใหม่ในปี 1995 ซึ่งน่าเสียดายมากที่ร้านนี้สุดท้ายถูกทุบไปแล้วเมื่อปี 1999 ซึ่งถึงแม้จะถูกทุบไปแล้ว แต่ฉากภายในร้านก็ยังถูกจดจำให้เป็นฉากโปรดและเป็นหนึ่งในซีนคลาสสิกตลอดกาลของวงการภาพยนตร์ไปแล้ว นอกจาก 4 เรื่องที่นำเสนอมาแล้ว ยังมีหนังอีกมากมายที่คงไว้ถึงความโดดเด่นทางด้านสถาปัตยกรรมต่างๆอยู่ ไว้ต่อไปเราจะกลับมานำเสนออีกครับ

Writer: Narith Kettong Credit: Anothermag , Hiconsumption , Port-Magazine

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก :