ช่องโหว่การทุจริตที่ดิน
การทุจริตที่ดิน เป็นสิ่งที่พบเห็นมานาน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับพื้นที่ที่อยู่ใกล้เขตป่าสงวนของประเทศ อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งจากความตั้งใจและไม่ตั้งใจ ดังนั้น เราจึงควรตรวจสอบให้แน่ชัด ก่อนตัดสินใจซื้อ - เช่า หรือใช้ประโยชน์จากที่ดินเหล่านั้น หากไม่อยากถูกเพิกถอน หรือสั่งรื้อถอนในภายหลัง
1. ช่องโหว่การทุจริตที่ดินของเจ้าพนักงานที่ดินจริงๆ แล้ว กฎหมายไม่ได้มีช่องโหว่ เพียงแต่คนใช้กฎหมาย ตีความกฎหมายไม่ตรงเจตนารมณ์ของกฎหมาย และการทุจริตส่วนใหญ่เกิดจากการอาศัยช่องโหว่ในขั้นตอนการปฏิบัติงานจริงนั่นเอง
สาเหตุของความผิดพลาดอาจเกิดขึ้นได้ 3 ประการ คือ- เจ้าของที่ดิน
- หลักฐานเกี่ยวกับเขตป่าไม้ไม่ชัดเจนแน่นอน เกิดความยุ่งยากต่อตัวเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติ
- เจ้าหน้าที่ป่าไม้ซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาป่าไม้ ไม่อาจจะชี้แนวเขตป่าไม้ในพื้นที่จริงได้ (ข้อมูลจาก www.lawyerthai.com)
- ทางอาญา ให้แจ้งตำรวจให้ดำเนินคดีข้อหาบุกรุก ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362,363,365 แล้วแต่ว่าพฤติกรรมของผู้บุกรุกเข้าข่ายมาตราใด แต่การแจ้งข้อหาบุกรุกจะมีระยะเวลาให้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96 หากไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาตามที่กำหนด ถือว่าขาดอยุความ จะไม่สามารถแจ้งความเอาผิดทางอาญาได้ ถ้าผู้บุกรุกเข้าไปครอบครองทำกิน กรณีนี้จะถือว่า บุกรุกทั้งเวลากลางวันและกลางคืน เวลาฟ้องคดีอาญาข้อหาบุกรุกต้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 365 (3) อันเป็นความผิดต่อแผ่นดินไม่สามารถยอมความได้ บทลงโทษจะหนักกว่าบุกรุกตามมาตรา 362 หรือ 363
- ทางแพ่ง ให้ยื่นฟ้องขับไล่และเรียกร้องค่าเสียหาย
ถ้าที่ดินมีเอกสารสิทธิ์เป็นเพียง นส.3 นส.3ก. หรือที่ดินมือเล่าอื่นๆ หากปล่อยให้ผู้บุกรุกครอบครองเกิน 1 ปี ผู้บุกรุกจะสามารถอ้างการแย่งการครอบครองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375
ถ้าเป็นที่ดินมีโฉนด หากปล่อยให้ผู้บุกรุกครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี เขาสามารถอ้างการครอบครองปรปักษ์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382
3. ผู้เช่าไม่ยอมย้ายออก เนื่องจาก3.1 ครบกำหนดสัญญาแล้วไม่ย้ายออก ถือว่าสัญญาเช่าสิ้นผลบังคับตามกฎหมาย เจ้าของสถานที่เช่าสามารถแจ้งให้หน่วยงานเกี่ยวข้องตัดนำตัดไฟได้ และฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหาย
3.2 กรณีค้างค่าเช่าแจ้งให้ย้ายออก แต่ไม่ออก การค้างค่าเช่าไม่ทำให้สัญญาเช่าสิ้นผล ผู้ให้เช่าต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 560 ก่อน สัญญาเช่าจึงจะสิ้นสุด จึงจะสามารถดำเนินการตาม 3.1 ได้
สิ่งที่ควรพึงระวังในขณะที่สัญญาเช่ายังมีผลบังคับ จะส่งผลให้ผู้เช่ามีสิทธิครอบครองทรัพย์ที่เช่า การที่ผู้ให้เช่าเข้าไปในสถานที่เช่าโดยผู้เช่าไม่อนุญาต อาจถูกดำเนินคดีข้อหาบุกรุกได้
กรณีที่ผู้ให้เช่ามีสิทธิเข้าไปในสถานที่เช่าได้ ไม่ได้ส่งผลให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิกระทำการใดๆ อันทำให้ทรัพย์สินของผู้เช่าได้รับความเสียหาย หากผู้ให้เช่ากระทำอาจมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ได้
บทความโดย : TerraBKK คลังความรู้ TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก