10 ส่วนประกอบ ใน "ข้อมูลทางโภชนาการ" บนฉลากสินค้าที่คุณต้องระวัง
การจ่ายตลาดซื้อของเข้าครัว อาจไม่ใช่เรื่องง่าย สำหรับผู้ที่ใส่ใจสุขภาพของทุกคนในครอบครัว นอกจากการเฟ้นหา อาหารที่สดใหม่ เปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการ โดยเฉพาะการอ่านฉลากสินค้าอธิบายส่วนประกอบที่เป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษ คงยิ่งทำให้รู้สึกไม่แน่ใจ ว่าคำเหล่านั้นมีผลดีผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร
การแกะความหมายของส่วนประกอบนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ยาก วันนี้ TerraBKK รวบรวมส่วนประกอบ 10 อย่างที่คุณควรหลีกเลี่ยง
1. Monosodium Glutamate (MSG) – ผงชูรสMSG นั้น สามารถพบได้ทั่วไปในอาหารที่ผ่านกรรมวิธี เช่น น้ำสลัด โยเกิร์ตไขมันต่ำ เนื้อกระป๋อง เนื้อแช่เย็น มันฝรั่งทอดกรอบ ซุปกระป๋อง และขนมปังแผ่นบางประเภท MSG นั้น เป็นสารที่มีอันตรายต่อระบบประสาทและอื่นๆ ภายในร่ายกาย การใส่ผงชูรสมากเกินไป จะเป็นตัวกระตุ้นให้ประสาททำงานหนักกว่าที่ควร การรับประทานอาหารที่มีผงชูรสติดต่อกันเป็นเวลานานนั้น อาจจะทำลายเซลล์สมอง และก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ นอกจากนี้การรับประทานผงชูรสอย่างต่อเนื่องยังสาเหตุของการกระตุ้นความอยากอาหารและทำให้เกิดโรคอ้วนได้อีกด้วย
ขอบคุณรูปภาพ จาก : th.theasianparent.com
2. Aspartame – แอสปาร์แตม (สารให้ความหวานแทนน้ำตาล)สามารถพบได้โดยทั่วไปใน สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล และมีชื่อเล่นว่า ยาพิษที่มนุษย์สร้างขึ้น แอสปาแตม ก็เป็นสารอีกตัวหนึ่งที่กระตุ้นให้ระบบประสาททำงานมากเกินไป เหมือนกับ MSG นอกจากนี้ การบริโภคเกินขนาด ยังสามารถก่อให้เกิดอาการ เช่น ปวดหัว ตาพร่า และปัญหาในระบบทางเดินอาหารอีกด้วย จากการวิจัยพบว่า สารนี้สามารถ ทำลายระบบภูมิคุ้มกันได้ หากรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน นักวิจัยจำนวนมาก เชื่อว่า แอสปาแตมเป็นสารที่อันตรายที่สุดที่ FDA รับรองให้ใช้ได้
ขอบคุณรูปภาพ จาก : occupycorporatism.com
3. High Fructose Corn Syrup – น้ำเชื่อมข้าวโพด หรือ น้ำเชื่อมฟรุกโตสส่วนมาก HFCS นั้น ถูกผลิตมาจากข้าวโพดที่ทำการตัดต่อพันธุกรรมแล้ว และนี่ก็เป็นที่มาอันดับ 1 ของสารอาหารที่คนอเมริกาบริโภค และยังเป็นสารที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับโรคอ้วนและโรคเบาหวาน และยังไม่พอ HFCS ยังเกี่ยวเนื่องกับโรคสำคัญๆ เช่น หลอดเลือด ความดันโลหิต และ โรคหัวใจ อีกด้วย
HFCS นั้น สามารถพบได้ใน น้ำอัดลม น้ำสลัด ขนมปัง ซีเรียล โยเกิร์ต ซุป เนื้อแปรรูป ซอสต่างๆ
4. Agave Nectar – สารให้ความหวานจากเกสรดอกไม้น้ำตาลสังเคราะห์อีกประเภท และเป็นน้ำตาลที่มีจำนวนฟรุกโตสมากที่สุด เมื่อเทียบกับน้ำตาลสังเคราะห์ ฟรุกโตสนั้นเป็นสารที่จะไปสลายตัวในตับและเปลี่ยนเป็นไขมัน ดังนั้นแล้วหากเลี่ยงได้ก็ควรที่จะเลี่ยง
5. Sodium Nitrite and Sodium Nitrate – โซเดียมไนไตรท์ และ โซเดียมไนเตรทสารเคมีทั้งสองอย่างนี้ ใช้ในการคงสภาพเนื้อ เมื่อใส่สารทั้งสองลงในเนื้อ สารนี้จะกลายสภาพเป็น ไนโตรซาไมน์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ การเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็ง การศึกษาจาก World Cancer Research นั้น มีกล่าวว่า การรับประทานอาหารแปรรูปทุกวัน จำนวน 1.8 ออนซ์ จะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็ง 20% ซึ่งสารดังกล่าวนี้ พบใน เนื้อแปรรูป แฮม เบคอน คอร์นบีฟ ฮอตดอก เนื้อกระป๋อง แซลมอนรมควัน ปลาและเนื้อแห้ง เป็นต้น
6. Refined Vegetable Oil – น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคาโนล่า หรือน้ำมันถั่วลิสงน้ำมันที่ผ่านกรรมวิธีนั้น เป็นน้ำมันที่ผ่านเครื่องจักรสกัดน้ำมันออกมาจากเมล็ดพืช ขั้นตอนการสกัดนั้นเกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมี อุณหภูมิที่สูง การกำจัดกลิ่นและฟอกสี ซึ่งทำให้วิตามินและสารอาหารที่สำคัญถูกกำจัดออกไปจากเมล็ด โดยส่วนมาก สามารถพบได้ใน แครกเกอร์ ธัญพืชอัดแท่ง ขนมอบ น้ำมันพืช และ มาการีน
7. Potassium Bromate (enriched flour) – สารปรับปรุงคุณภาพแป้งสาลีส่วนประกอบนี้เป็นสารที่ช่วนให้แป้งขนมปังหนานุ่มมากขึ้น มันเป็นสารที่ได้รับการพิสูจน์ในบางประเทศว่าเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งในสัตว์และถูกห้ามในประเทศแคนาดา และอีกหลายประเทศ สารปรับปรุงคุณภาพแป้งนั้น พบได้มากใน ขนมปังและเค้กที่ผลิตจากแป้งสาลี
8. Margarine – มาการีนมาการีนและน้ำมันไฮโดรจีเนทอีกหลายตัวนั้น เต็มไปด้วยไขมันทรานส์ ซึ่งเป็นสาเหตุของเส้นเลือดอุดตัน โรคหัวใจ และความดัน
ขอบคุณรูปภาพ จาก : www.theinspiringkitchen.com
9. Table Salt – เกลืออันดับแรกเพื่อความเข้าใจที่ตรงกับ เกลือกับโซเดียมนั้นไม่ใช้สิ่งเดียวกัน เกลือนั้นเป้นสารเคมีที่มนุษย์สร้างขึ้น เกลือนั้นไม่ใช่อาหารตามธรรมชาติที่จะช่วยเพิ่มสารอาหารให้ร่างกายของเรา มันจริงที่ร่างกายต้องการโซเดียม แต่โซเดียมกับเกลือนั้นเป็นคนละเรื่องกันเลยทีเดียว เกลือส่วนใหญ่ที่ขายในตลาดนั้นมีสารสังเคราะห์ผสมอยู่มากกว่า 30 อย่าง และนอกจากนั้นเกลือที่ขายกันในตลาดโดยส่วนใหญ่นั้นผ่านการฟอกสีมาแล้วด้วย ความอันตรายของเกลือนั้นรวมถึงการเพิ่มความดัน และดูดซึมน้ำในร่างกายมากกว่าปกติ เป็นสาเหตุของโรคเก๊าท์ ทำให้ตับและไตต้องทำงานหนัก และนำไปสู้โรคอ้วน
10. Low-Fat & Fat Free – อาหารไขมันต่ำ หรืออาหารไม่มีไขมัน
สำหรับเทรนด์คนรักสุขภาพในช่วงนี้คงไม่พ้น อาหารไขมันต่ำ หรืออาหารไม่มีไขมัน ซึ่งอาหารจำพวกนี้ ไม่ดีต่อร่างกาย เนื่องจากผู้ผลิตมักเพิ่มน้ำตาลและสารกันบูดอื่นๆ เพื่อให้รสชาติยังคงเดิม นอกจากนี้ ในความจริงไขมันไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว เพราะร่างกายของเราแท้จริงแล้วต้องการไขมัน เพื่อช่วยให้อวัยวะภายในทำงานได้ตามปกติ และไขมันยังช่วยบำรุงผิวอีกด้วย ทั้งยังช่วยในการละลายวิตามินอีกหลายประเภท อาทิ A E และ K นอกจากนี้ไขมันยังมีส่วนในการผลิตสารเอนโดฟิน อีกด้วย
ขอบคุณข้อมูล จาก : www.skinnymom.com