อคติทางการเงิน ที่อาจนำหายนะมาให้คุณได้ !
อคติบางครั้งก็เป็นเรื่องที่ดี และบางครั้งก็เป็นเรื่องที่ไม่ดีนะคะ แต่ใครที่มีอคติทางการเงินที่ไม่ดีนั้น มันก็สามารถทำให้ การเงิน ของเราเกิดการล้มเหลวได้นะคะ หากอยากรู้แล้วว่าอคติทางการเงินที่ว่านั้นคืออะไร ก็ตาม MoneyGuru.co.th มาดูกันเลยค่ะ !
ต้นทุนจม
ต้นทุนจม (Sunk-Cost Fallacy) คือ ต้นทุนที่เราจ่ายไปแล้วในอดีต และไม่ว่าปัจจุบันหรืออนาคตเหตุการณ์จะเปลี่ยนไปอย่างไร ก็ไม่สามารถเรียกต้นทุนในส่วนนั้นคืนมาได้ ซึ่งในชีวิตประจำวันทั่ว ๆ ไป เราสามารถพบเรื่องราวมากมายที่ทำให้เราติดอยู่ในต้นทุนจม เช่น
ฉันขับรถไปซื้อโทรศัพท์รุ่นที่ฉันต้องการ แต่ปรากฎว่ามันไม่มีรุ่นที่ฉันกำลังมองหา ฉันเลยซื้อรุ่นอื่นมาแทน หนึ่งสัปดาห์ต่อมาฉันก็ไปหาซื้อรุ่นที่ฉันต้องการจนได้ เครื่องที่ซื้อมาก่อนหน้านี้จึงกลายเป็นต้นทุนจม เพราะไม่สามารถคืนเงินได้แล้ว
ฉันใช้เวลาครึ่งชั่วโมงเพื่อช้อปปิ้งเสื้อใน Amazon แต่ฉันไม่เจอเสื้อผ้าที่ถูกใจสักตัว ในที่สุดฉันก็ไปซื้อของอย่างอื่นแทน เพราะมันจะได้คุ้มกับเวลาที่ฉันเสีย ดังนั้น ของอย่างอื่นที่ซื้อมาจึงกลายเป็นต้นทุนจม เพราะไม่สามารถคืนเงินได้แล้ว
อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายอาจจะมีปัญหาได้ ถ้าเรายังมีนิสัย Sunk-Cost Fallacy เพราะคุณจะได้สิ่งของที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้มาแทน แถมเงินคุณก็ต้องเสียอีกด้วย ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา Sunk-Cost Fallacy เราจึงต้องมีสติให้มากก่อนที่จะใช้จ่ายอะไรก็ตาม และอย่านึกเสียดายเวลาหรืออะไรก็ตามแต่ที่ทำให้คุณไม่ได้สิ่งของที่ต้องการ เพราะมันจะทำให้คุณเสียเงินไปด้วย
หาเหตุผลเข้าข้างตนเอง
ความผิดพลาดทางการเงินของเราหลายคน คือมักหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง หรือที่เรียกว่า Choice-Supportive Bias ในการที่จะซื้อสิ่งของบางอย่าง อีกทั้งผู้ที่เกิด Choice-Supportive Bias นี้ มักมีแนวโน้มที่จะไม่สนใจความคิดอื่น ๆ เพื่อที่จะปกป้องการตัดสินใจแรกที่ได้ตัดสินใจไปแล้ว ยกตัวอย่างเช่น…
ฉันจ่ายเงินไปเยอะมากในการซื้อชุดแต่งงานราคาแพงของฉัน ฉันพยายามหาเหตุผลเข้าข้างตนเองในการซื้อชุดแต่งงานราคาแพงนี้ว่า “มันเป็นการตัดสินใจที่ดีนะ เพราะมันเป็นวันที่ยิ่งใหญ่และเป็นวันสำคัญที่สุดสำหรับ” โดยที่ฉันไม่ได้ดูเลยว่าเงินในกระเป๋าตัวเองตอนนี้มันร่อยหรอเต็มที
การหาเหตุผลเข้าข้างตนเองนี้มักจะถูกเรียกอีกในชื่อหนึ่งว่า "Buyer’s Stockholm Syndrome " ซึ่งมันเป็นกลไกทางสมองของเรา ในการที่จะลดการรับรู้ของความไม่สอดคล้องกัน ระหว่างข้อเท็จจริงกับการตัดสินใจของตัวเอง หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าเราตัดสินใจที่จะซื้ออะไรไปแล้ว เราจะหาเหตุผลหลาย ๆ อย่างเพื่อมาเป็นข้ออ้างในการที่เราจะซื้อสิ่งของสิ่งนั้น โดยที่เราจะละเลยข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกับเหตุผลพวกนั้นไปอย่างง่ายดายค่ะ
และหากท่านใดอยากจะสอบถาม ข้อมูลเกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์ สามารถติดต่อมาได้ที่ 02 653 0020 หรือกด Subscribe เพื่อติดตามข่าวสารเรื่องรถยนต์และการเงินจาก MoneyGuru.co.th ได้เลยค่ะ เราจะส่งความรู้และสาระต่าง ๆ ไปให้ทางอีเมลทุก ๆ สัปดาห์
ขอบคุณข้อมูล จาก MoneyGuru.co.th
บทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก
Discussion
Follow breaking news Investment property articles on Facebook, click here.