TerraBKK Research ได้รวบรวมผลประกอบการไตรมาส 1 ประจำปี 2559 กลุ่ม “บรรจุภัณฑ์” ย้อนหลัง 5 ปี โดยรวบรวมบริษัทที่อยู่ในตลาด SET ไม่รวม MAI มีด้วยกันทั้งหมด 17 บริษัท TerraBKK Research ­ขอนำเสนอตัวเลขผลประกอบการในส่วนของ รายได้ (Revenue), อัตราการเติบโตของรายได้, อัตรากำไรสุทธิ (EPS), อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA), อัตราผลตอบแทนจากผู้ถือหุ้น (ROE), กำไรต่อหุ้น (EPS) และอัตราหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. AJ : A.J. PLAST
  2. ALUCON : ALUCON
  3. CSC : CROWN SEAL
  4. NEP : NEP REALTY AND INDUSTRY
  5. NPP : NIPPON PACK (THAILAND)
  6. PTL : POLYPLEX (THAILAND)
  7. SITHAI : SRITHAI SUPERWARE
  8. SLP : SALEE PRINTING
  9. SMPC : SAHAMITR PRESSURE CONTAINER
  10. SPACK : S. PACK & PRINT
  11. TCOAT : THAI COATING INDUSTRIAL
  12. TFI : THAI FILM INDUSTRIES
  13. THIP : THANTAWAN INDUSTRY
  14. TMD : THAI METAL DRUM MANUFACTURING
  15. TOPP : THAI O.P.P.
  16. TPBI : TPBI
  17. TPP : THAI PACKAGING & PRINTING

จากการสำรวจกลุ่ม “บรรจุภัณฑ์” TerraBKK Research พบว่า บริษัทที่มีศักยภาพการเติบโตมากที่สุด และมีศักยภาพในการทำกำไร รวมถึงมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานอยู่ในระดับสูง บริษัทเหล่านั้นได้แก่ ALUCON, THIP และ CSC

(คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)

รายได้ (Revenue) จากการสำรวจข้อมูลรายได้ พบว่า บริษัทที่มีรายได้มากที่สุดในกลุ่ม คือ PTL มีรายได้ทั้งหมด 3,158 ล้านบาท รองลงมาคือ SITHAI รายได้ 2,208 ล้านบาท และ AJ มีรายได้ 1,600 ล้านบาท สูงที่สุดในรอบห้าปี เมื่อดูถึงศักยภาพการเติบโตบริษัท บริษัทที่มีการเติบโตของบริษัทมากที่สุด คือ NPP (+158.15% Y-o-Y), SMPC (+21.66% Y-o-Y),AJ (+17.77% Y-o-Y), THIP (+7.74% Y-o-Y), ALUCON (+5.04% Y-o-Y), TPP (+1.71% Y-o-Y), TOPP (+1.54% Y-o-Y) และ CSC (+1.17% Y-o-Y) การเติบโตของรายได้เป็นเสมือนเครื่องมือที่บอกว่าบริษัทยังมีความสามารถในการเติบโตหรือไม่ ถ้ารายได้ไม่เติบโตก็พอจะเป็นตัวบอกได้ว่าธุรกิจเริ่มจะอิ่มตัวหรือสินค้าเหล่านั้นอาจจะไม่ตอบโจทย์ เป็นต้น

(คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)

อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin : NPM) บริษัทในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่สามารถสร้างอัตรากำไรสุทธิได้สูงที่สุด 3 อันดับแรก คือ TMD, ALUCON และ SMPC ตามลำดับ บริษัทที่มีอัตรากำไรสุทธิเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อนหน้า ได้แก่ TMD, ALUCON, SMPC, PTL, CSC, THIP, TOPP และ TCOAT โดยบริษัท TMD, ALUCON, SMPC, PTL และ THIP เป็นบริษัทที่มีกำไรสุทธิมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 5 ปีส่วนบริษัทที่มีกำไรสุทธิติดลบ (ขาดทุน) ได้แก่ AJ, TFI, SPACK, NPP และ NEP

(คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)

อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (Return on Asset : ROA) เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกิจการ (Efficiency) ว่า บริษัทสามารถนำสินทรัพย์ที่มีอยู่ไปสร้างผลตอบแทนได้มากน้อยขนาดไหน ยิ่ง ROA มีค่ามากแสดงว่าดี แต่ถ้า ROA ต่ำแสดงว่าไม่ดี บริษัทที่มี ROA มากกว่า 15% ได้แก่ SMPC (30.95%), THIP (23.47%) และ ALUCON (16.72%) ถ้าหากเราสังเกตุ ROA จะเห็นถึงบริษัทที่มีแนวโน้มของ ROA เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ได้แก่ SMPC และ THIP

(คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)

อัตราผลตอบแทนจากผู้ถือหุ้น (Return on Equity : ROE) เป็นตัวชี้วัดถึงความสามารถในการสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้น ยิ่งROEมากยิ่งดี บริษัทที่มีความสามารถในการสร้าง ROE มากกว่า 15% คือ SMPC (60.26%), THIP (24.12%), ALUCON (19.62%) โดย SMPC และ THIP เป็นบริษัทที่มีแนวโน้มของอัตรากำไรสุทธิเพิ่มสูงต่อเนื่อง

(คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)

กำไรต่อหุ้น (Earning per Share : EPS) กำไรต่อหุ้นเป็นอัตราส่วนที่บอกถึงผลตอบแทนของกำไรสุทธิต่อหนึ่งหุ้น บริษัทที่มีการเติบโตของกำไรสุทธิมากจะแสดงถึง ความสามารถในการรับรู้กำไรต่อหนึ่งหุ้นที่มากขึ้นด้วย ดังนั้น เราจะให้ความสำคัญกับการเติบโตของกำไรต่อหุ้นเป็นหลัก บริษัทที่มีการเติบโตกำไรต่อหุ้นมากที่สุด (EPS Growth) ได้แก่ TCOAT (+163.64% Y-o-Y), PTL (+141.67% Y-o-Y), ALUCON (+78.49% Y-o-Y), THIP (+30.57% Y-o-Y), CSC (+25.32% Y-o-Y), TOP (+21.37% Y-o-Y) และ TMD (+1.79% Y-o-Y) ถ้าหากเราดูแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจพบว่าบริษัทที่มีแนวโน้มของกำไรเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ได้แก่ THIP, TOPP, CSC, PTL, TCOAT และ TMD

(คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)

หนี้สินต่อทุน (Debt to Equity) อัตราหนี้สินต่อทุนควรอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากการระดมทุนจากส่วนของหนี้สินมากๆ จะทำให้มีต้นทุนทางการเงินค่อนข้างมากและมีความเสี่ยงมากกว่า นอกจากนั้นบริษัทที่มีหนี้สินมากๆ จะไม่สามารถขอกู้จากสถาบันการเงินได้ ทำให้บริษัทต้องหันมาระดมทุนจากผู้ถือหุ้นผ่านการออกหุ้นเพิ่มทุน ส่งผลให้จำนวนหุ้นมากขึ้น ถ้าบริษัทเอาเงินเพิ่มทุนไปแต่ไม่สามารถสร้างกำไรได้ดีจะส่งผลให้กำไรต่อหุ้นลดลงจากจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้นซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่จะไม่ชอบที่กำไรต่อหุ้นของตนเองลดลงในที่สุดมันจะถูกสะท้อนออกมายังราคาหุ้นที่ลดลง จากการสำรวจเราพบว่าไม่มีบริษัทใดเลยที่มี D/E Ratio มากกว่า 2 เท่า - เทอร์ร่า บีเคเค

อัตรากำไรสุทธิ จะแสดงถึง ความสามารถในการทำกำไรสุทธิของบริษัท เป็นการวัดความสามารถของบริษัทในการควบคุมรายจ่ายทุกประการทั้งดอกเบี้ยและภาษีเมื่อเทียบกับยอดขาย หากอัตราส่วนนี้มีค่าสูงแสดงว่าบริษัทสามารถเปลี่ยนยอดขายให้เป็นกำไรสุทธิได้มาก

อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio) แสดงถึง สัดส่วนของเงินทุนจากการกู้ยืมต่อเงินทุนจากเจ้าของธุรกิจถ้าอัตราส่วนนี้สูงแสดงว่าบริษัทมีการกู้ยืมเงินในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับเงินทุนจากผู้ถือหุ้นของบริษัท ทำให้มีความเสี่ยงในลักษณะเดียวกับอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์

อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Asset:ROA) แสดงถึง ระดับผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมของบริษัท เป็นการวัดความสามารถในการนำสินทรัพย์ทั้งหมดของธุรกิจใช้ในการสร้างยอดขายและควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมดสุทธิจากภาษีแต่ก่อนหักต้นทุนทางการเงิน (ดอกเบี้ยจ่ายสุทธิจากภาษีที่ประหยัดได้) อัตราส่วนที่สูงแสดงว่าบริษัทมีความสามารถสูงในการนำสินทรัพย์ไปสร้างกำไรจากการดำเนินงาน

อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Equity : ROE) แสดงถึง ระดับผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นการวัดความสามารถในการทำกำไรให้แก่เงินทุนของผู้ถือหุ้น หากค่าที่ได้จากการคำนวณสูงแสดงว่าผู้ถือหุ้นมีโอกาสได้รับเงินปันผลและผลตอบแทนที่สูง

บทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน แหล่งข้อมูล : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก