อันตรายแสงสีฟ้า! เสี่ยงจอประสาทตาเสื่อม
เทคโนโลยีก้าวไกลทำให้หลายคนต้องก้าวตาม ทุกวันนี้เราเลยมองแต่จอ จ้องแต่แสง พอตื่นนอนสิ่งแรกที่ดวงตาได้รับคือแสงจากท้องไฟและหลอดไฟในห้องนอน ส่วนตอนกลางคืนก็หลับไปพร้อมกับหน้าจอมือถือ แท็บเล็ต หรือบางคนฟุบหลับหน้าจอคอมพิวเตอร์ เรียกได้ว่าเราสัมผัสกับแสงสีฟ้าอยู่ตลอดเวลา ซึ่งแสงนี้เป็นอันตรายต่อดวงตาของเราถึงขนาดทำให้จอประสาทตาตาย
วันนี้ DeeDaily.com มีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับ อันตรายจากแสงสีฟ้า มาบอกกัน โดยหลายคนมักจะคิดว่าแสงสีฟ้าเป็นแสงที่มาจากหน้าคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟนเท่านั้น แต่ความจริงแล้วแสงนี้อยู่รอบตัวเรา ไม่ว่าจะกำลังเดินตามท้องถนนหรืออยู่ในรถจนหลีกเลี่ยงไม่ได้
แสงสีฟ้า เป็นคลื่นแม่เหล็กที่มีช่วงของแสงอยู่ที่ 400-500 นาโนเมตร ซึ่งมีทั้งแบบดีและไม่ดี แสงสีฟ้าที่ดีจะอยู่ในช่วงของ 465-495 นาโนเมตร มันจะทำงานร่วมกับนาฬิกาชีวิตของเรา เช่น ตอนเช้าเราจะตื่นขึ้นทันทีเมื่อมีแสงของพระอาทิตย์ นั่นเพราะมีแสงสีฟ้าชนิดนี้มาปลุก ส่วนแสงสีฟ้าที่ไม่ดีอยู่ในช่วง 415-455 นาโนเมตร แสงนี้มาพร้อมกับความทะลุทะลวงที่ทำให้จอประสาทตาเสื่อม เพราะแสงสีฟ้าชนิดนี้ไปกระตุ้นให้เกิดสารอนุมูลอิสระภายในดวงตา ซึ่งสารอนุมูลอิสระจะทำให้เซลล์จอประสาทตาตาย
เมื่อเราใช้อุปกรณ์พวกสมาร์ทโฟนหรือจ้องจอ LED เป็นเวลานาน แสงสีฟ้าที่เข้ามากระทบดวงตาเราจะส่งผลให้ปวดตา ตาแห้ง ตาพร่ามัว หรือน้ำตาไหลได้ ส่วนอาการของโรคจอประสาทตาเสื่อมคือ มองเห็นภาพตรงกลางไม่ชัด ภาพบิดเบี้ยวเหมือนมีจุดดำตรงกลางภาพ โรคนี้รักษาให้หายขาดไม่ได้
ถึงแม้ว่าแสงสีฟ้าจะอยู่รอบตัวเราจนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่เราสามารถดูแล รักษา และถนอมสายตาดวงนี้ของเราเอาไว้ได้นะคะ เพียงแค่...ถ้าต้องจ้องอุปกรณ์ที่มีแสงสีฟ้าเป็นเวลานาน ควรหยุดพักสายตาบ้าง หลับตา 2-3 นาที หรือทอดสายตามองไปไกลๆ จะช่วยให้กล้ามเนื้อดวงตามีความผ่อนคลาย นอกจากนี้อาจหาแว่นตากรองแสงมาใส่ในช่วงเวลาทำงานผ่านแท็บเล็ตหรือหน้าจอคอมพิวเตอร์ก็ได้นะคะ
ดูดวงสดๆ กับหมอดูโฮโรเวิลด์ที่นี่ 24 ช.ม โทร. 1900-111-080