สานฝัน เรื่องการปลูกสร้างบ้านด้วยสินเชื่อบ้านบัวหลวง "คิดจะปลูกสร้างบ้านเองต้องพร้อมขนาดไหน?"
สานฝัน เรื่องการปลูกสร้างบ้านด้วยสินเชื่อบ้านบัวหลวง "คิดจะปลูกสร้างบ้านเองต้องพร้อมขนาดไหน?"
บ้านเป็นแหล่งรวมความสุขของทุกคนในครอบครัว เป็นจุดศูนย์กลางความอบอุ่น ความปลอดภัยแถมอบอวลไปด้วยความรัก จึงไม่แปลกที่ใครๆ ก็ปรารถนาที่จะมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลัง หลายคนจึง เริ่มหางาน...เริ่มเก็บหอมรอมริบ เพื่อส่งมอบของขวัญชิ้นพิเศษให้กับคนที่ตัวเองรัก อยากสร้างบ้านใหม่ให้พ่อแม่ อยากสร้างบ้าน..เพื่อครอบครัวของตนเอง แต่การมีบ้านสักหลังไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด และไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่ใครสักคนหนึ่งจะทำได้ หากมีการวางแผนและเตรียมตัวให้พร้อมซึ่งสามารถทำได้ดังนี้
1. เลือกแบบที่ใช่
เลือกแบบที่ตอบโจทย์ความต้องการของคนในครอบครัว บ้านในฝันเป็นแบบไหนแนะนำให้พิจารณาจากคนในครอบครัว มีผู้สูงอายุหรือไม่ จำนวนสมาชิก จำนวนพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน จำนวนห้องนอน ห้องน้ำ และจำนวนที่จอดรถ ต้องการบ้านสไตล์ไหน ก่อนที่จะจ้างสถาปนิกให้ออกแบบเขียนแปลนควรทราบความต้องการเบื้องต้นของตนเอง
- เช่นขนาดพื้นที่ดิน 11.5x18.5m
- พื้นที่ตัวบ้าน 90 ตรม. 9x10m
- บ้านสไตล์ American country
- ชั้นล่าง ห้องนั่งเล่น ห้องน้ำ ห้องครัว หน้าต่างลานซักล้างรวมถึงถ้ามีผู้สูงอายุห้องนอนควรอยู่ทิศไหนอย่างไร
- ชั้นบนห้องนอนกี่ห้อง ห้องน้ำ ตำแหน่งการจัดวางแต่ละห้อง
2. ประเมินตัวเองด้านการเงิน
สำหรับผู้ที่มีศักยภาพในการสร้างบ้านด้วยเงินสด อาจไม่ต้องกังวลนัก แต่ผู้ที่ต้องการกู้เงินกับธนาคารควรตรวจสอบก่อนว่ารายได้ของตนเองสามารถยื่นกู้สูงสุดได้เท่าไหร่ จะได้เลือกแบบบ้านให้เหมาะสมกับงบประมาณไม่เกินกำลังตัวเอง
โดยทั่วไปแล้วในการวิเคราะห์สินเชื่อเพื่อปล่อยวงเงินกู้ ธนาคารจะใช้หลักพิจารณา 2 หลักใหญ่ๆ
- เงินรายได้
รายได้ต่อเดือนหักค่าใช้จ่ายและภาระหนี้สินเหลือเพียงพอผ่อนชำระได้หรือไม่
โดยส่วนใหญ่ภาระผ่อนในแต่ละเดือนไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายได้ต่อเดือน เช่นเงินเดือน 20,000 บาท ภาระผ่อนไม่ควรเกิน 30% - 40% ของรายได้ ต่อเดือนหรือไม่ควรเกิน 7,000 ถ้ามีภาระผ่อนหนี้อื่นอยู่หากผ่อนบ้านด้วยอาจไม่เพียงพอ
- หลักประกัน
โดยปกติ กรณีต้องการกู้เพื่อปลูกสร้างที่ดินของตนเอง ธนาคารส่วนใหญ่ให้วงเงินกู้สูงสุดเท่ากับมูลค่าการก่อสร้างและไม่เกิน 90%ของราคาประเมินที่ดินและราคาประเมินสิ่งปลูกสร้างตามแบบแปลน แต่หากต้องการกู้ซื้อที่ดินด้วย ก็สามารถขอกู้ซื้อที่ดินพร้อมกันได้ โดยสามารถขอวงเงินกู้ได้ประมาณ 80% - 90% ของมูลค่าที่ดินรวมสิ่งปลูกสร้าง
3.ปรึกษาสถาปนิกผู้รับเหมา
ปรึกษาสถาปนิกเพื่อออกแบบแปลนบ้านตามที่ต้องการเพื่อประเมินราคาก่อสร้างว่าค่าใช้จ่ายทั้งหมดเท่าไร รวมถึงพิจารณาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขออนุญาตปลูกสร้าง ซึ่งอาจต้องพิจารณาเพิ่มเติมจากข้อกำหนดผังเมือง ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากกฎหมายผังเมืองที่กำหนดโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือ เว็บไซต์ “www.dpt.go.th” เช่น หากพื้นที่อยู่อาศัยของเราอยู่ในเขตสีเหลือง ย.1 ซึ่งเป็นที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย จะสามารถสร้างที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวได้อย่างเดียวไม่สามารถสร้างที่อยู่อาศัยประเภทอื่นได้ แต่หากพื้นที่อยู่อาศัยอยู่ในเขตสีส้มหรือสีน้ำตาล ซึ่งเป็นที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่น หรือหนาแน่นมาก ก็สามารถสร้างที่อยู่อาศัยได้ทุกรูปแบบ แต่อาจต้องพิจารณาเรื่อง อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio: FAR) และ อัตราส่วนพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม (Open Space Ratio: OSR) เพิ่มเติม เป็นต้น
นอกจากนี้ ในส่วนของการว่าจ้างใครสักคนมาสร้างบ้าน สามารถเลือกได้หลายวิธี
- จ้างบริษัทรับสร้างบ้านให้ก่อสร้างให้
- จ้างสถาปนิกเป็นผู้ออกแบบก่อน จากนั้นนำแปลนให้ผู้รับเหมามาประมูลสร้างบ้าน
- จ้างผู้รับเหมารับผิดชอบให้เขาเป็นคนหาสถาปนิกมาออกแบบให้
และเมื่อจ้างสถาปนิกออกแบบมาแล้ว ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า วงเงินก่อสร้างอยู่ในงบประมาณที่ตั้งไว้หรือไม่ แต่ถ้ายังไม่ได้ติดต่อสถาปนิกรายใดเลย และอยากจะรู้ราคาแบบบ้านคร่าวๆ สามารถทำได้ดังนี้
1. หาแบบมาตรฐานของบริษัทรับสร้างบ้าน หรือแบบสำเร็จรูปที่มาขายในท้องตลาด ดูว่างบประมาณการสร้างในปัจจุบันราคาเท่าไร เลือกแบบบ้านในฝันที่ใกล้เคียงกับที่เราต้องการให้มากที่สุด แบบบ้านที่หามานั้น ใช้เป็นตุ๊กตาจำลองบ้านในฝันเพื่อหางบประมาณราคาก่อสร้างนั้นออกมาก็พอ
2. ควรหาแบบบ้านหลากหลายบริษัท เพื่อเปรียบเทียบพื้นที่ใช้สอย ภายในและภายนอกที่ตรงกับความต้องการเราที่สุด เมื่อได้แบบในฝันนั้นมา ลองดูรายการวัสดุก่อสร้างตรงกับความต้องการเราหรือไม่ และควรสำรวจราคาเปรียบเทียบจากหลายๆบริษัท
3. ระบุขนาดพื้นที่ใช้สอยกี่ตารางเมตร สเปคที่เลือกราคาก่อสร้างจะทำให้สามารถหาค่าก่อนสร้างต่อตารางเมตรได้ ลองเปรียบเทียบกันหลายๆ บริษัท แล้วนำค่าก่อสร้างมาหาค่าเฉลี่ย
ค่าก่อสร้างต่อตารางเมตร x พื้นที่ใช้สอย = งบประมาณการก่อสร้าง
4. ขอสินเชื่อกับธนาคาร
ควรศึกษารายละเอียดในการขอ สินเชื่อ แต่ละธนาคารให้ดี ซึ่งแต่ละธนาคารจะมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป ปกติในการขอ สินเชื่อ ธนาคารจะขอดูบัญชีที่แสดงกระแสเงินได้ย้อนหลัง 6-12 เดือน เราควรมีหลักฐานเงินได้ผ่านบัญชีเพื่อแสดงความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ในระยะยาว และควรมีหลักฐานการออมเพื่อแสดงให้เห็นถึงวินัยทางการเงินและความน่าเชื่อถือ และหากมียอดหนี้เก่าจากการผ่อนชำระที่อื่นควรรักษาประวัติการผ่อนชำระให้ตรงเวลา เพราะมีผลต่อการอนุมัติ สินเชื่อ
ปัจจุบันนี้สถาบันการเงินมากมายที่ให้ความสนับสนุนผู้ที่ต้องการปลูกสร้างบ้าน โดยเฉพาะ สินเชื่อบ้าน บัวหลวง ธนาคารกรุงเทพ ได้ให้บริการ สินเชื่อ แก่ลูกค้าที่ต้องการปลูกสร้างบ้าน เพียงนำโฉนดที่ดินพร้อมกับสัญญารับเหมาก่อสร้างของบริษัทบ้าน เพื่อขอให้ธนาคารพิจารณา สินเชื่อ เงินกู้ โดยธนาคารจะมีการให้เบิกจ่ายเงินกู้ตามความคืบหน้าการก่อสร้างตามสัญญารับเหมา เช่น งวดที่ 1 หลังจากลงเสาเข็มแล้วเสร็จ งวดที่ 2 เทพื้นชั้นล่าง งวดที่ 3 ขึ้นโครงสร้างชั้นที่ 2 แล้วเสร็จ เป็นต้น ซึ่งเมื่อลูกค้ามาขอเบิกงวดงานในแต่ละงวด จะมีเจ้าหน้าที่ของธนาคารไปตรวจงวดงานก่อนเบิกเงินกู้งวดต่อไป
เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ การมีบ้านสักหลังไม่ใช่เรื่องยากเกินไปเลยใช่ไหมค่ะ หากมีการวางแผนชีวิตและเตรียมตัวให้พร้อม ใครๆก็สามารถสานฝันสร้างบ้านที่แสนสุขนี้ได้... สำหรับผู้ที่สนใจ สินเชื่อบัวหลวง เพื่อการปลูกสร้างบ้านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา ทั่วประเทศ
ขอบคุณข้อมูลจาก www.bangkokbank.com