รถเมล์ก็ดันมาไม่ตรงเวลา มิหนำซ้ำเวลาจะมายังมาถึงพร้อมกันสองคัน รถตู้ก็ขับไว ไม่ได้ห่วงความปลอดภัยผู้โดยสาร แท็กซี่หรอ? ไม่ต้องพูดถึง ส่ายหน้าไปส่งรถเติมแก้สกันทั้งวัน รถไฟฟ้าก็แน่น กว่าจะแลกเหรียญต่อคิวซื้อบัตร ตะคริวก็ขึ้นขาหมดแล้ว

โอ้ยยยย.. เมื่อไรกรุงเทพจะพัฒนา ขนส่งมวลชน ซักที!

อย่าว่าแต่กรุงเทพเลย ต่างจังหวัดของไทยก็ยังไม่มีขนส่งมวลชนที่เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง แล้วเวลาที่ผ่านมาประเทศเราพัฒนาอะไรไปบ้าง? TerraBKK จะพาไปย้อนดูตั้งแต่ยุคพระเจ้าเหาว่าวิวัฒนาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและ ขนส่งมวลชน ของไทยนั้น เป็นอย่างไร รอกันมาตั้งแต่ยุคไหน แล้วคนที่เค้ารอกันในยุคนั้นตายก่อนที่จะได้ใช้รึเปล่า? 

ยุคทวาราวดี เริ่มมีพัฒนาการพัฒนาเมือง

ประเทศไทยเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานชุมชนและเป็นแหล่งอารยธรรมสำคัญในอุษาคเนย์มาแล้ว โดยในยุคทวาราวดีเริ่มมีพัฒนาการวางผังเมืองกันแล้วนะคุณ แต่ผังเมืองในสมัยนั้นจะเป็นรูปแบบสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรีรูปไข่ มีการขุดคูเมืองทำคันดิกั้นน้ำ วางยุทธศาสตร์เมืองสำหรับการทำศึก เและเริ่มมีการริเริ่มระบบชลประทานสำหรับการเกษตร โดยหนึ่งในโบราณสถานที่บ่งชี้ก็คือ อุทยานแห่งชาติภูกระบาท ที่มีการเรียงหิน ขุดดิน แสดงการอยู่กับธรรมชาติ

ยุคอาณาจักรสุโขทัย พ.ศ. 1238-1583

เรารู้กันดีว่าช่วงยุคสุโขทัย เริ่มมีการประดิษฐ์อักษรไว้ใช้ ทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ช่วงนั้นจะได้รับอิทธิพลศิลปวัฒนนธรรมขอมแบบลพบุรี เอาก้อนหินมาทำสะพาน มีการวางผังเมือง สร้างทำนบ หรือเรียกว่า ถนนพระร่วง ระยะทาง 123 กิโลเมตร จากสุโขทัยไปศรีสัชนาลัย ระบบชลประทานก็เริ่มเห็นชัดมากขึ้น โดยมีการทำอ่างเก็บน้ำ และเขื่อน

ยุคกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1893-2310

อยุธยาเป็นยุคที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เร่าร้อน และรุนแรง อย่างที่เราจะเห็นกันดีจากภาพยนตร์หลายๆเรื่อง การเมืองแข็งแรงและมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญคือ การขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างช่วง พ.ศ. 2077-2090 มีการสำรวจและตัดถนนขึ้นสู่พระพุทธบาท และมีการขุดคลองเชื่อมคลอง ระหว่างคลองโคกขามกับแม่น้ำท่าจีน (คลองมหาชัย) จนเกิดเป็นท่าฉลอมและมหาชัยในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีการค้าขาย เผยแพร่ศาสนา มีการวางผังอาคาร ผนังตามประทีป และมีระบบประปา

ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น

ยังคงยึดการเดินทางด้วยเรือ โดยช่วงนี้มีการขุดคลองรอบกรุงรัตนโกสินทร์ จนเมื่อเกิดอุทกภัยใหญ่ในปี พ.ศ.2374 ทำให้มีการขุดคลองเพิ่มอีกกว่า 100 คลองในกรุงเทพ ต่อมาในช่วงปี พ.ศ.2394-2411 เริ่มมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น มีการต่อเรือกลไฟ ประภาคาร และมีร่องน้ำเดินเรือ พร้อมกับมีกฎหมายเดินเรือบังคับใช้เป็นครั้งแรก และมีการตัดถนนที่ใช้เทคโนโลยีแผนใหม่ คือ ถนนเจริญกรุง, ถนนบำรุงเมือง และถนนเฟื่องนคร

ยุครัตนโกสินทร์ตอนกลาง พ.ศ.2411 – 2453

เป็นช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแผนใหม่อย่างจริงจังสมบุกสมบัน มีขนาดที่ใหญ่และใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนมากขึ้น ระบบรถราง เริ่มนำเอามาใช้ในยุคนี้ มีการสัมปกานกิจหารรถรางร่วมทุนใน พ.ศ.2448 โดยบริษัทรถรางไทยทุน จำกัดได้รับสัมปทาน ถือว่าเป็น mass transit ที่เห็นได้ชัดอย่างจริงจังครั้งแรกของกรุงเทพและของประเทศไทย พร้อมกับตัดถนนหลายสายบริเวณเขตพระนคร เยาวราช ศรีอยุธยา ส่วนเอกชนก็มีการตัดถนนเช่นกันในบริเวณสีลม-สาทร และในปี พ.ศ.2434 คนไทยก็ต้องยืดอกอย่างภาคภูมิใจ เพราะได้เริ่มก่อสร้าง ทางรถไฟเส้นแรก คือกรุงเทพ-นครราชสีมา และก่อตั้งกรมรถไฟหลวง (การรถไฟแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน) มีการก่อสร้างอาคารตามแบบยุโรปหลายแห่ง

ภาพจาก : https://www.thairath.co.th/

ยุคเปลี่ยนผ่านจนถึงปัจจุบัน

หลังจากการเปลี่ยนมือสัมปทานหลายราย บทบาทของรถรางเริ่มลดน้อยถอยลง เนื่องจากคนมีอันจะกินอย่างข้าราชการ พ่อค้าคหบดี เริ่มมีรถยนต์ของตัวเองมากขึ้น (เกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2) และที่สำคัญเริ่มมีกิจการรถโดยสารรับจ้างอย่าง รถแท็กซี่ และ รถเมล์ ที่มี บริษัท นายเลิศ จำกัด เป็นเริ่มกิจการรถเมล์รายแรกประมาณปี พ.ศ.2459 และเริ่มมีบริษัทอื่นๆมาเป็นคู่แข่งในปี พ.ศ. 2476 โดยมีถึง 28 ราย และมีการออก พรบ.การขนส่ง พ.ศ.2497 มาใช้ควบคุมเป็นฉบับแรก

แต่ถึงแม้จะมีกฎหมายควบคุมและผู้ประกอบการปริมาณมาก ก็ใช้ว่าคุณภาพจะดีตามไปด้วย เพราะระยะหลังเริ่มมีการแก่งแย่งเส้นทางกันเอง การบริการก็ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน มีการปล่อยใก้เดินรถอย่างเสรี (แหม คุ้นจังเลยนะคะปัญหาแบบนี้) ทำให้ใน พ.ศ.2518 ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้มีมติให้รวมกิจการเดินรถในกรุงเทพเป็นบริษัทเดียว ในชื่อ บริษัท มหานครขนส่ง จำกัด

ต่อมา พ.ศ.2527 คณะรัฐมนตรีเริ่มมีการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนหลายแบบ ทั้งทางยกระดับ, ทางพิเศษ และทางราง

หลังจากมีรถเมล์ ทางด่วน ทางยกระดับ กรุงเทพก็ยังดั้งด้นที่จะพัฒนาโฮปเวลอย่างต่อเนื่อง ทำให้การจราจรก็ยิ่งทวีความติดขัดมากขึ้น เพราะมีแต่ทางสำหรับรถยนต์ และระบบขนส่งมวลชนอย่างรถเมล์นั้นก็สร้างชื่อเสียงในการบริการที่แย่ไปซะแล้ว เราต้องใช้เวลารอถึง 14 ปี กว่าที่คณะรัฐมนตรีจะมอบหมายให้มีการออกแบบเส้นทางระบบขนส่งมวลชนใน พ.ศ.2541 และมี พรบ.องค์การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 หลังจากเวลาผ่านไป 6 ปี เราก็ได้มีรถไฟฟ้าสายแรกใช้กันซักที นั่นคือ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน ในพ.ศ. 2547

ภาพจาก : https://hilight.kapook.com

ผ่านมา 13 ปี เรามีรถไฟฟ้าใช้กันทั้งหมด 5 สาย จำนวน 79 สถานี รองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 1.2 ล้านคนต่อวัน และเราจะรอกันอีก 10 ปี เราจะมีรถไฟฟ้าครบทุกสายวิ่งรอบกรุงเทพ

ถ้านับจากวันที่เรามีรถรางคันแรกใน พ.ศ.2448 จนถึงวันที่มีรถไฟฟ้าสายแรกให้บริการตอนพ.ศ.2547 เราใช้เวลารอขนส่งมวลชนที่เป็นรูปธรรมกันมาถึง 99 ปี! และเราจะรอกันอีก 10 ปี สำหรับรถไฟฟ้าครบวงจรในกรุงเทพ แต่สำหรับต่างจังหวัดก็เริ่มมีสัญญานการพัฒนาขนส่งมวลชนตามหัวเมืองใหญ่กันบ้างแ้ล้ว ไม่รู้ว่าจะอีก 50 ปี หรืออีก 1,000 ปี กว่าที่เราจะมีขนส่งมวลชนทัดเทียมกับประเทศที่เจริญแล้วซักที

บทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน

TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก

อ้างอิงข้อมูลจาก : โครงสร้างพื้นฐานกับการพัมนาประเทศไทย : อดีต สู่อนาคต