ประเทศไทย ติดอันดับ 44 จาก 50 อันดับประเทศนวัตกรรมโดย Bloomberg
ไม่ใช่เพียงแค่ประเทศไทยเท่านั้น ที่อยากจะเข้าใกล้คำว่า 4.0 แต่หลายประเทศเท่าโลกเองต่างก็แข่งขันกันในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีในยุคดิจิตอล โดยเว็บไซต์ชั้นนำระดับโลก อย่าง Bloomberg ได้ทำการจัดอันดับประเทศด้านนวัตกรรมในปี 2018 โดยใช้เกณฑ์การจัดอันดับทั้งหมด 7 ข้อ ได้แก่
- R&D intense: เปอร์เซ็นต์การลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
- Manufacturing value-added : วัดจากค่า MVA / GDP และ PPP
- Productivity: GDP และ GNI ต่อหัวของปรชากรวัยแรงงานที่อายุมากกว่า 15 ปี และทำงานมากกว่า 3 ปี
- High-tech density: จำนวนของบริษัทมหาชนด้านเทคโนโลยี เช่น ไบโอเทค, อุตสาหกรรมหนัก, อุตสาหกรรมเบา, ซอฟท์แวร์อินเตอร์เน็ต และบริการด้านเทคโนโลยี
- Tertiary efficiency: จำนวนนักศึกษาและบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- Researcher concentration: สัดส่วนจำนวนบุคลากรที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกต่อจำนวนการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยี
- Patent activity: การขอจดสิทธิบัตรต่อจำนวนนประชากร
โดยเกณฑ์ทั้ง 7 ข้อนี้ ส่วนใหญ่วัดจากความเข้มข้นของการลงทุน วิจัย และพัฒนาด้านนวัตกรรม จากบริษัทมหาชนชั้นนำที่มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีในแต่ละประเทศ
น่าแปลกใจที่ประเทศมหาอำนาจอย่างอเมริกา หลุดโผ Top Ten จากปี 2017 ที่เคยได้อันดับที่ 9 ลงมาเป็นอันดับที่ 11 คะแนนรวม 80.42 คะแนน แพ้อิสราเอลอันดับที่ 10 คงที่มาตั้งแต่ปี 2017 ไปเพียงแค่ 0.22 คะแนน โดยประเทศที่เข้ามาแทนตำแหน่งของอเมริกาคือฝรั่งเศส ขึ้นมาจากอันดับที่ 11 มาเป็นอันดับที่ 9 คะแนนที่ 80.75 คะแนน โดยสาเหตุที่อเมริกาตกชั้นจาก Top Ten ส่วนใหญ่มาจากคุณภาพของแรงงานที่จบการศึกษาตั้งแต่ชั้นมัธยมปลายไปจนถึงมหาวิทยาลัยอันดับตกต่ำลง และผู้จบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการผลิตลดลง ทำให้สูญเสียอันดับไป #terrabkk
ความน่าสนใจสูงสุดที่ TerraBKK มองคืออันดับ 1-5 เริ่มตั้งแต่เกาหลีใต้ที่ยังคงครองอันดับ 1 มาเป็นปีที่ห้าติดต่อกัน ในคะแนนสูงลิ่วนำโด่งถึง 89.28 โดยมีซัมซุงเป็นหัวหอกหลัก เนื่องจากมีมูลค่าหลักทรัพย์ในตลาดมากขึ้น ด้านการวัดผล เกาหลีใต้มีการพัฒนาด้านกระบวนการผลิตที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีถึง 21 แห่งอีกด้วย
ประเทศที่ได้อันดับที่ 3 อย่างสิงคโปร์ ที่ไต่เต้ามาจากอันดับที่ 6 ในปี 2017 ก็ได้ถูกพูดถึงในฐานะที่เป็นประเทศที่มีประสิทธิภาพสูงสุดด้านการพัฒนา โดยสิงคโปร์ให้ความสำคัญด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ และยังมีการระทุมด้านวิจัยและพัฒนานวัตกรรมอย่างจริงจังเป็นอยากมาก
สำหรับจีนแผ่นดินใหญ่ ปรับตัวขึ้นสู่อันดับที่ 19 จากอันดับที่ 17 ในปี 2017 โดยได้คะแนนเพิ่มจากจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และวิสกรรมศาสตร์ และมีการจดสิทธิบัตรนวัตกรรมเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น Huawei เป็นต้น
ประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางแย่ที่สุดคือนิวซีแลนด์และยูเครน โดยทั้งสองประเทศลดลงมา 4 อันดับ โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากเรื่องของการศึกษา
สำหรับประเทศไทยเรา ก็ติดโผ 50 อันดับกับเขาด้วยเหมือนกัน โดยอันดับลดลงจากปี 2017 ไปหนึ่งตำแหน่งมาอยู่ที่อันดับ 44 เป็น อันดับสุดท้ายของ 6 ประเทศในเอเชียที่ติดอันดับ 50 ประเทศด้านนวัตกรรม โดยมาเลเซียอยู่อันดับที่ 26 จีนอันดับที่ 19 ญี่ปุ่นอันดับที่ 6 สิงคโปร์อันดับที่ 3 และเกาหลีใต้ครองแชมป์อันดับที่ 1 - เทอร์ร่า บีเคเค
บทความโดย : TerraBKK คลังความรู้
TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก