การถอนค้ำประกัน กฏหมายไม่ได้ให้สิทธิ์ให้ผู้ค้ำประกันสามารถถอนการค้ำประกันได้ ดังนั้นหากต้องการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าในกรณีขอถอนชื่อ เปลี่ยนหลักทรัพย์นั้นต้องเจรจากับเจ้าหนี้เอง

ผู้ค้ำประกันต้องการที่จะยกเลิกการเป็นผู้ประกันตามสัญญาค้ำประกัน โดยกฎหมายไม่มีบทบัญญัติใดกําหนดให้สิทธิผู้ค้ำประกันบอกเลิกสัญญาค้ำประกันได้เองทันที การบอกเลิก ถอน หรือยกเลิกสัญญาค้ำประกันนั้น ผู้ค้ำประกันต้องติดต่อไปยังเจ้าหนี้ซึ่งเป็นคู่สัญญากับผู้ค้ำประกันโดยตรงเพื่อขอยกเลิกสัญญาค้ำประกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเจ้าหนี้มักจะไม่ยกเลิกสัญญาให้ เนื่องจากว่าหนี้ของลูกหนี้ที่มีการทําสัญญาค้ำประกันการชําระหนี้ไว้ตามกฎหมายตัวผู้ค้ำประกันย่อมต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้เพื่อชําระหนี้ในเมื่อผิดนัดไม่ชําระหนี้นั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 680

ดังนั้น เมื่อมีหนี้ประธานระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้แล้ว เจ้าหนี้มักจะให้ลูกหนี้หาผู้ค้ำประกันมาทําสัญญาค้ำประกันหนี้ประธานไว้ด้วย ก็เพื่อเป็นการเพิ่มลูกหนี้เข้ามาเป็นผู้รับผิดตามมูลหนี้ประธานเข้ามาอีก เพื่อเพิ่มโอกาสของเจ้าหนี้ในการที่จะให้ได้รับชําระหนี้นั้นสูงขึ้น ซึ่งตามกฎหมายแล้ว ผู้ค้ำประกันย่อมเป็นลูกหนี้ชั้นที่ 2 ในอันที่จะชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ เมื่อลูกหนี้ผิดชําระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 เจ้าหนี้โดยส่วนมากจะไม่ยอมยกเลิกสัญญาค้ำประกันปลดหนี้ให้แก่ผู้ค้ำประกันไปง่าย ๆ เพราะจะเป็นการทําให้โอกาสที่เจ้าหนี้ได้รับการชําระหนี้ลดน้อยถอยลง โดยการเรียกเอาชําระหนี้แก่ลูกหนี้ชั้นต้นได้แต่เพียงผู้เดียว เจ้าหนี้จึงมักไม่ดําเนินการยกเลิกสัญญาค้ำประกัน กรณีศึกษาจึงยังไม่เกิดขึ้น

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 680
อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อ เจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชําระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชําระหนี้นั้น อนึ่ง สัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสําคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

มาตรา 686 ลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด ท่านว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชําระหนี้ได้แต่นั้น

บทความโดย : TerraBKK