EIA (Environmental Impact Assessment)
EIA (Environmental Impact Assessment)
-
การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment, EIA) หมายถึง “การวิเคราะห์ผลกระทบจากโครงการหรือกิจการประเภทต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสภาพแวดล้อม หรือสภาพแวดล้อมที่อาจจะมีผลกระทบต่อโครงการหรือกิจการนั้น ทั้งในทางบวกและทางลบ เพื่อเป็นการเตรียมการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการหรือกิจการนั้นๆ”
-
สามารถใช้ในการวางแผนการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและจะช่วยในการมองปัญหาต่างๆ ได้กว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิมที่มองเพียงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นประเด็นหลักอันก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมแก่ทรัพยากรธรรมชาติตามมา ช่วยพิจารณาผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความรุนแรงจากการพัฒนาโครงการเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถหามาตรการในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นนั้นอย่างเหมาะสมก่อนดําเนินการ สามารถแน่ใจว่าได้คาดการณ์ประเด็นปัญหาสําคัญอันเกิดขึ้นอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยเลือกมาตรการที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติและค่าใช้จ่ายน้อย ช่วยเป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในการลงทุนหรือพัฒนาโครงการ การเตรียมแผนงาน แผนการเงินในการจัดการสิ่งแวดล้อมและสามารถใช้ผลการศึกษาเป็นข้อมูลที่จะให้ความกระจ่างต่อสาธารณชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันความขัดแย้งของการใช้ทรัพยากรได้ เป็นแนวทางกําหนดแผนการติดตามตรวจสอบผลกระทบต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นภายหลังได้มีการก่อสร้าง และดําเนินการเป็นหลักประกันในการใช้ทรัพยากรที่ยาวนาน (long-term sustainable development)
-
1) เพื่อจําแนก ทํานาย และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากโครงการ โดยเปรียบเทียบกับสภาวะที่ไม่มีโครงการ และเพื่อเตรียมการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ขั้นวางแผนโครงการ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างและดําเนินโครงการ และเพื่อสนับสนุนหลักการพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
2) เพื่อให้มีการนําปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมมาช่วยในการวางแผนโครงการและตัดสินใจดําเนินโครงการ
-
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2535 เพื่อกําหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือเอกชนที่จะต้องจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม จํานวน 11 ประเภท
เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2535 ได้มีการออกประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กําหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการที่จะต้องจัดทําการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมอีก 8 ประเภท
วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2539 ได้มีการออกประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กําหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการที่จะต้องจัดทําการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนแปลง 2 ประเภทและเพิ่มเติมอีก 3 ประเภท
-
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการวิเคราะห์ใดที่จะสามารถนํามาใช้เป็นมาตรฐานสําหรับโครงการหรือกิจการทุกประเภท หรือที่เรียกว่า “Cook Book” หลักการของการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน เป็นการศึกษาวิเคราะห์และประเมินผลกระทบของโครงการหรือกิจการที่อาจจะเกิดขึ้น อันส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่มีอยู่ในบริเวณพื้นที่และบริเวณรอบๆ โครงการหรือกิจการนั้นๆ โดยจะต้องวิเคราะห์ถึงผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ในระยะสั้นและระยะยาว
-
1) การประเมินตัวแปรสิ่งแวดล้อมที่ถูกกระทบ โดยพิจารณาว่ามีตัวแปรใดบ้าง หรืออะไรบ้างที่อาจถูกกระทบกระเทือนได้ จะใช้เทคนิคหรือวิธีการวัดหรือวิเคราะห์ตัวแปรเหล่านี้ได้อย่างไร และมีข้อมูลของตัวแปรนั้นๆ อยู่ที่ใด มีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด และข้อมูลที่มีพอเพียงสําหรับการวิเคราะห์หรือไม่
2) การประเมินองค์ประกอบของโครงการหรือกิจการ ที่อาจเป็นต้นเหตุของผลกระทบต่อตัวแปร
3) การพิจารณาพื้นที่ที่อาจถูกผลกระทบใดทั้งในพื้นที่โครงการหรือพื้นที่รอบๆ และบริเวณที่กว้างออกไป
4) การประเมินสภาพแวดล้อมในปัจจุบันก่อนมีโครงการหรือกิจการ
5) การประเมินสภาพแวดล้อมในอนาคต ถ้าไม่มีโครงการหรือกิจการ
6) การประเมินสภาพแวดล้อมในอนาคต ถ้ามีโครงการหรือกิจการ
7) การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อลดหรือหลีกเลี่ยงความเสียหาย ตลอดจนมีการติดตามตรวจสอบผลกระทบเหล่านั้นด้วย
-
คณะกรรมการผู้ชํานาญการการพิจารณารายงานฯ ที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติตั้งขึ้น มี 6 คณะ คือ
1. ผู้ชํานาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านโครงการเหมือง แร่
2. ผู้ชํานาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านโครงการอุตสาหกรรม
3. ผู้ชํานาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านโครงการ โครงการพื้นฐานของเอกชน
4. ผู้ชํานาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านโครงการ ที่พักอาศัย บริการชุมชนและสถานที่พักตากอากาศ .
5. ผู้ชํานาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้าน โครงการพัฒนาแหล่งน้ํา
6. ผู้ชํานาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านโครงการ โครงสร้างพื้นฐานและโครงการอื่นๆ ของรัฐและรัฐวิสาหกิจ
-
ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความรู้ของคณะกรรมการแต่ละท่าน แต่โดยรวมแล้วจะพิจารณาในหัวข้อต่างๆ ดังนี้
1) มีความครบถ้วน ชัดเจนและถูกต้องของข้อมูล และเนื้อหาที่นํามาใช้ในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
2) มีการจําแนกระดับความสําคัญของผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เมื่อมีโครงการหรือกิจการ โดยแบ่งเป็น major impact และ minor impact
3) มีการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามวิธีการที่ยอมรับ มีการเสนอมาตรการในการลดหรือหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม และมาตรการในการติดตามตรวจสอบที่เหมาะสมเพียงพอ และสามารถนําไปปฏิบัติได้
4) ใช้ความรู้และประสบการณ์ จากการพิจารณาโครงการหรือกิจการอื่นที่มีลักษณะหรือประเภทใกล้เคียงกัน
5) มีการตรวจสอบกับมติคณะรัฐมนตรี ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ําประเภทต่างๆ การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน เป็นต้น
-
สํานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ได้กําหนดแยกเป็น 2 ประเภท คือ
1) โครงการเอกชนและโครงการที่ไม่ต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรี
2) โครงการของรัฐ รัฐวิสาหกิจและโครงการร่วมกับเอกชนซึ่งต้องเสนอ ขอรับความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรี
-
1. ทรัพยากรด้านกายภาพ (Physical Resources)
2. ทรัพยากรด้านนิเวศวิทยา (Ecological Resources)
3. คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ (Human Use Values)
4. คุณภาพชีวิต (Quality of Life)
-
หลังจากได้ทําการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในทุกประเด็นแล้ว จะต้องมีการชี้แจงถึงระดับของผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในแต่ละประเด็นที่ได้วิเคราะห์ว่าจะสามารถทําการควบคุมป้องกันและแก้ไขได้อย่างไร ถ้าผลการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่าผลกระทบสิ่งแวดล้อมนั้นมีมากและยากต่อการควบคุมหรือป้องกัน ผู้ทําการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจําเป็นจะต้องพิจารณาทางเลือกอื่นที่มีว่าจะสามารถแก้ปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นได้มากน้อยกว่าวิธีการเดิมอย่างไร
-
เมื่อได้วิเคราะห์หรือประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมแต่ละประเด็นแล้ว จะต้องตรวจสอบมาตรการควบคุมและป้องกันที่เจ้าของโครงการหรือกิจการได้เตรียมการไว้ ถ้ามาตรการเหล่านั้นยังไม่สามารถหรือไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ก็จะต้องมีการจัดหามาตรการอื่นๆ ที่สามารถควบคุมและป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในขณะเดียวกันจะต้องให้มีมาตรการติดตามตรวจสอบ สําหรับมาตรการควบคุมและป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ได้เสนอแนะไว้
-
มีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในประเด็นที่สําคัญทุกๆ ประเด็น โดยกําหนดมาตรการลดผลกระทบที่ชัดเจนรวมถึงมาตรการและวิธีการในการติดตามตรวจสอบผลการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจําเป็นจะต้องจัดทํารายงานที่สมบูรณ์ กระทบสิ่งแวดล้อม หลังจากได้เริ่มดําเนินการแล้ว เพื่อเป็นส่วนสําคัญสําหรับการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชํานาญการฯ ซึ่งในการจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในอดีตจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์และวิธีการวิเคราะห์ของนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตเป็นผู้มีสิทธิทํารายงานฯแต่ละราย ต่อมาสํานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมได้จัดทําเอกสารคําชี้แจงประกอบแนวทางในการจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยกองวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การจัดทํารายงานเป็นรูปแบบเดียวกัน มีตัวแปรหรือดัชนีที่สําคัญที่ต้องทําการวิเคราะห์ถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างครบถ้วน เพื่อเสนอ สํานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม และคณะกรรมการผู้ชํานาญการพิจารณารายงานฯ
รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
รายงานฉบับย่อ (Executive Summary) เสนอเรื่องย่อของข้อมูลส่วนต่างๆ ที่เสนอไว้ในรายงานฯ โดยชี้ให้เห็นถึงจุดสําคัญที่กระชับเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว ประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้-
1) ประเภทและขนาดของโครงการ พร้อมกิจกรรมประกอบที่เกี่ยวข้อง
2) ที่ตั้งโครงการ ประกอบแผนที่แสดงบริเวณโครงการและบริเวณโดยรอบอย่างชัดเจน และแสดที่ตั้งของสิ่งต่าง ๆ ที่อาจได้รับผลกระทบในบริเวณใกล้เคียง
3) รายงานการแสดงผลกระทบหลัก/มลพิษหลักจากโครงการทั้งในระยะการก่อสร้างและระยะดําเนินการต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
4) รายงานมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับรายการแสดงผลกระทบหลักมลพิษ
5) มาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมแต่ละด้าน
-
1) ส่วนหน้าของรายงาน
2) บทนํา
3) รายละเอียดโครงการ
4) สภาพแวดล้อมในปัจจุบัน
5) ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ
6) มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น
7) การพิจารณาทางเลือกของโครงการ
8) มาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
9) บทสรุป
10) ภาคผนวก
-
1) ที่มาของโครงการและเหตุผลความจําเป็นในการดําเนินโครงการ
2) วัตถุประสงค์ของการจัดทํารายงาน
3) กําหนดการดําเนินโครงการ
4) ขอบเขตการศึกษาและวิธีการศึกษา
-
1) ประเภทและขนาดของโครงการ/กําลังผลิต
2) ความจําเป็นของโครงการ
3) ระยะเวลาในการดําเนินโครงการ
4) ที่ตั้งโครงการและเส้นทางเข้าถึงโครงการให้แสดง แผนที่ (มาตราส่วน 1:50,000) แผนผัง ในมาตราส่วนที่ชัดเจน
5) เหตุผลในการเลือกที่ตั้งโครงการ (โดยเป็นเหตุผลที่ได้พิจารณาทางด้านสิ่งแวดล้อมด้วย)
6) รายละเอียดกระบวนการ กิจกรรมประกอบของโครงการ ความต้องการวัตถุดิบ พลังงานระบบสาธารณูปโภค จํานวนพนักงาน คนงาน ตลอดจนรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แสดงแผนผัง กระบวนการ แบบแปลนการก่อสร้างโครงการและองค์ประกอบอื่นๆ ของโครงการเพื่อให้สามารถเข้าใจในกระบวนการ/กิจกรรมไว้อย่างชัดเจน
7) สารมลพิษหรือของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการหรือการดําเนินงานก่อสร้างโครงการ (ระบุชนิด ปริมาณ สารมลพิษ หรือของเสีย และจุดกําเนิดมลพิษ)
8) รายละเอียดระบบบําบัดมลพิษหรือของเสีย การดูแลและควบคุมระบบประสิทธิภาพของระบบ
-
ให้แสดงผลการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสถานภาพปัจจุบันของทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและคุณค่าต่างๆ ที่มีต่อมนุษย์ พร้อมด้วยแผนที่ของบริเวณโครงการ และบริเวณพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบกระเทือนจากโครงการ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ได้แก่สภาพแวดล้อมของโครงการโดยทั่วไปก่อนมีโครงการ พร้อมภาพประกอบทรัพยากรทางด้านกายภาพและทางด้านชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และคุณค่าต่อคุณภาพชีวิต โดยมีประเด็นที่ควรศึกษาจําแนกไว้ดังแสดงในตาราง
-
ทั้งที่เป็นผลกระทบโดยตรงและผลกระทบทางอ้อม ทั้งในลักษณะผลกระทบระยะสั้นและระยะยาว และสําหรับการจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อประกอบการขอก่อสร้างโครงการ จําเป็นต้องประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในระยะก่อสร้างด้วย โดยประเมินตามกลุ่มทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและคุณค่าต่างๆ ที่มีต่อมนุษย์ว่าจะเกิดผลกระทบต่อกลุ่มทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและคุณค่าต่างๆ ในแต่ละกลุ่มอย่างไร และรุนแรงมากน้อยเพียงไร การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในส่วนนี้จะต้องใช้ความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างข้อมูลรายละเอียดโครงการและสภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันมาพิจารณาประกอบการคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการทางวิชาการ นอกจากนี้การทํานายผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน เช่น การทํานายผลกระทบต่อคุณภาพอากาศ ควรใช้แบบจําลองทางคณิตศาสตร์ มาช่วยในการประเมินเพื่อให้เกิดความแม่นยําและแน่นอนมากขึ้นให้ทําการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจเกิดขึ้นเนื่องจากโครงการ
-
มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม จะต้องอธิบายถึงการดําเนินงานของโครงการในอันที่จะป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่อาจมีต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมหรือคุณค่าต่างๆ และในกรณีที่ความเสียหายไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ให้เสนอแผนการชดเชยความเสียหายดังกล่าว มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนสําคัญในการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพราะจะทําให้ผู้พิจารณารายงานทราบว่า โครงการนี้ได้มีมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง เหมาะสมกับระดับการก่อให้เกิดผลกระทบหรือไม่ เพียงใด
-
ในกรณีที่โครงการทําให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และคุณค่าต่างๆ ที่มีต่อมนุษย์อย่างรุนแรง ก็ควรจะได้มีการพิจารณาทางเลือกอื่นๆ ที่สามารถบรรลุผลในการพัฒนาทัดเทียมกัน หากแต่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน กรณีนี้ให้เปรียบเทียบผลดีและผลเสียต่างๆ อันเนื่องจากทางเลือกเหล่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นที่ตั้งของโครงการ เช่น โครงการก่อสร้างท่าเรือ ควรจะมีการพิจารณาที่ตั้งในหลายๆ บริเวณ โดยมีการอธิบายรายละเอียดเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นถึงความเหมาะสมของแต่ละที่ตั้งและ/หรือแต่ละระบบนิเวศน์ นอกจากนี้ยังได้แก่ การเสนอทางเลือกในการดําเนินการ โดยเสนอกระบวนการกิจกรรมของโครงการอื่นที่ให้ผลผลิตหรือประโยชน์ของโครงการในลักษณะเดียวกัน แต่ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงไป
-
ในส่วนนี้เป็นการอธิบายเกี่ยวกับแผนงานการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อตรวจสอบยืนยันประสิทธิภาพของมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เสนอไว้ในรายงานและเพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมอย่างมีระบบและมีระยะเวลาในการติดตามเป็นเวลาต่อเนื่องกันตามหลักวิชาการและให้มีความเหมาะสม ทั้งระดับคุณค่าคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่จะได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างหรือดําเนินโครงการ ซึ่งแผนงานดังกล่าว ให้กล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับสถานีตรวจวัด ระยะเวลาในการวัดดัชนีคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่จะทําการตรวจวัด และวิธีวัดตลอดจนรายงานการตรวจสอบผลกระทบเป็นระยะๆ
-
เป็นการสรุปผลดีและผลเสียจากผลของการศึกษา วิเคราะห์และประเมินผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม และการตัดสินใจถึงการยอมรับผลที่จะได้รับจากการดําเนินโครงการ ไม่ว่าจะเป็นค่าชดเชย ความเสียหาย การลดความสูญเสียต่างๆ รวมทั้งการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่สามารถกลับคืนสภาพเดิมได้ และที่สําคัญการติดตามตรวจสอบ
-
ประกอบด้วยแหล่งที่มาของเอกสารอ้างอิง รายงานการศึกษา ผลงานวิจัย ข้อมูลภาคสนาม ตัวอย่างแบบสอบถาม มาตรฐานที่ใช้อ้างอิง ตลอดจนรายละเอียดของข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
-
1) สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา หรือสถาบันวิจัยซึ่งมีฐานะเป็นนิติ บุคคล ตามกฎหมายไทย
2) นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายไทย
3) นิติบุคคลซึ่งได้จดทะเบียนตามกฎหมายต่างประเทศ แต่นิติบุคคลดังกล่าวต้องมีนิติบุคคลตาม 1) หรือ 2) ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้มีสิทธิทํารายงานฯ เข้าร่วมในการทํารายงานด้วย
4) รัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเฉพาะแต่ในกิจการของรัฐวิสาหกิจนั้น
5) สภาการเหมืองแร่ตามกฎหมายว่าด้วยสภาการเหมืองแร่เฉพาะแต่ในกิจการของสมาชิก
บทความโดย : TerraBKK
Discussion
Follow breaking news Investment property articles on Facebook, click here.