4 Topics How to select Bonds
ผู้ที่สนใจลงทุนในตราสารหนี้ประเภทหุ้นกู้ ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเริ่มต้นการลงทุน หรือขยายพอร์ตการลงทุน ย่อมต้องมีการศึกษาข้อมูลความรู้การลงทุนหุ้นกู้อย่างแน่นอน แต่ด้วยสาระที่มีมากมายในหนังสือชี้ชวนของหุ้นกู้ อาจทำให้ใครหลายคนเกิดความสับสนข้อมูลและตั้งตนไม่ถูก TerraBKK ขอแนะนำจุดสำคัญ 4 ประการ เพื่อเป็นหลักง่ายๆในการศึกษาหนังสือชี้ชวนและตัวตราสารหนี้อย่างหุ้นกู้ จะได้คัดเลือกหุ้นกู้ที่ตรงความต้องการอย่างแท้จริง ประการที่ 1 : ผลตอบแทนหุ้นกู้ เรื่องของผลตอบแทน ย่อมเป็นที่สนใจอันดับต้นๆ TerraBKK ขอกล่าวถึงหัวใจสำคัญในเรื่องนี้ว่า ผู้ที่สนใจลงทุนหุ้นกู้ต้องมีเข้าใจถึง ความต่างของอัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้ทั้ง 2 ตลาด (ตลาดแรก และตลาดรอง) ,ความถี่ของการจ่ายดอกเบี้ย และข้อสังเกตเรื่องอัตราดอกเบี้ย ดังนี้
- ตลาดหุ้นกู้มี 2 ประเภท คือ "ตลาดแรก" จะเป็นการซื้อขายหุ้นกู้ตามมูลค่าที่ตราไว้ (Par value) ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนตาม "อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon rate)" และเมื่อลงทุนหุ้นใน "ตลาดรอง หรือ ตลาดตราสารหนี้ (Bond Electronic Exchange : BEX)" จะต้องพิจารณาผลตอบแทนจาก "อัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการถือหุ้นกู้นั้นจนครบอายุไถ่ถอน (Yield to Maturity: YTM)" ที่สามารถค้นหาได้จาก www.thaibma.or.th
- ความถี่ของการจ่ายดอกเบี้ย นักลงทุนสามารถตรวจสอบได้จาก "งวดการจ่ายดอกเบี้ย (Coupon frequency)" เช่น จ่ายทุก 6 เดือน แปลว่าจะได้รับดอกเบี้ย 2 ครั้งต่อปี เป็นต้น
- สำหรับ "ข้อสังเกตเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย" มักเป็นไปตามความเสี่ยงและระยะเวลาหุ้นกู้ เช่น - หุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูงกว่า ย่อมให้ดอกเบี้ยสูงกว่า อย่างหุ้นกู้ที่มีหลักประกัน ความเสี่ยงต่ำ ดอกเบี้ยที่กำหนดจึงต่ำตามเช่นกัน - หุ้นกู้ที่มีอายุยาว มักให้ดอกเบี้ยที่สูงกว่า เพื่อชดเชยค่าเสียโอกาศในการนำเงินไปลงทุนตราสารอื่น - หุ้นกู้ที่มีเครดิตเรทติ้งต่ำ จะมีดอกเบี้ยที่สูงกว่า TerraBKK เสนอว่า หุ้นกู้ที่สามารถลงทุนได้ ควรมีระดับ BBB – ขึ้นไป
- เงื่อนไขการจ่ายดอกเบี้ย เช่น จ่ายดอกเบี้ยเมื่อบริษัทมีกำไรจากการประกอบธุรกิจ แปลว่า มีโอกาสที่นักลงทุนจะไม่ได้รับดอกเบี้ย หากบริษัทไม่สามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างผลกำไรได้ เป็นต้น
- เงื่อนไขจากประเภทหุ้นกู้ ในหลากหลายรูปแบบ เช่น - "หุ้นกู้ที่ผู้ออกมีสิทธิเรียกไถ่ถอนก่อนกำหนด (Callable bond) " จะเป็นหุ้นกู้ที่ผู้ออกมีสิทธิเรียกคืน (call) หรือไถ่ถอนหุ้นกู้นั้นก่อนกำหนด กรณีที่ดอกเบี้ยตลาดลดลง จนทำให้ต้นทุนของหุ้นกู้นั้นสูงเกินไป - "หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (Subordinated bond) " ในกรณีผู้ออกหุ้นกู้มีปัญหาผิดนัดชำระหนี้ ผู้ออกหุ้นกู้ต้องจ่ายชำระหนี้ แก่เจ้าหนี้รายอื่นเป็นที่เรียบร้อยก่อน หลังจากนั้นค่อยจ่ายคืนเงินต้นแก่นักลงทุนหุ้นกู้ประเภทนี้เป็นลำดับท้าย - "หุ้นกู้ประเภทไถ่ถอนเมื่อเลิกบริษัท (Perpetual Bond) " จะเป็นหุ้นกู้ที่ไม่มีวันหมดอายุ โดยไม่มีการไถ่ถอนคืน จนกว่าบริษัทจะเลิกกิจการ เป็นต้น
บทความโดย : TerraBKK คลังความรู้
TerraBkk ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก
สามารถอ่านบทความ "ตราสารหนี้" เพิ่มเติม ได้ที่ > ตราสารหนี้ 9 บริษัทอสังหาฯชื่อดัง เครดิตระดับ A !!! > TRIS Rating ต้องรู้จัก !! ก่อนลงทุนตราสารหนี้อสังหาฯDiscussion
Follow breaking news Investment property articles on Facebook, click here.