5 Year Operating Result History of 7 Commerce Company
TerraBKK Research ได้รวบรวม "ผลประกอบการกลุ่มค้าปลีก"สำคัญๆในตลาดค้าปลีกของประเทศไทย โดยรวบรวมมาทั้งหมด 7 บริษัทยักษ์ใหญ่ สามารถนำผลประกอบการเหล่านี้มาเปรียบเทียบจุดเด่นจุดด้อยของแต่ละธุรกิจว่าบริษัทไหนบริหารงานหรือมีประสิทธิภาพมากกว่ากัน บริษัทไหนเป็นเจ้าตลาดในขณะนั้น และยังบอกถึงแนวโน้มของอุตสหากรรมค้าปลีกได้อีกด้วยว่าจะเติบโตไปในทิศทางใด มีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
ยอดขาย (Revenue) ภาพรวมยอดขายในกลุ่มค้าปลีกจะเห็นว่าแนวโน้มของค้าปลีกชัดเจนมาก ยอดขายมีแนวโน้มโตสูงขึ้นชัดเจนทุกปี โดยยอดขายที่โตสูงสุดจะเป็น CP ALL หรือที่รู้จักในชื่อ “7-11” ยอดขายสูงสุดในกลุ่มค้าปลีกและสูงขึ้นอย่ามีนัยยะสำคัญมากๆ รองลงมาเป็น BigC และ MAKRO ตามลำดับ ส่วนกลุ่มวัสดุก่อสร้างที่นำตลาดจะเป็น Home Pro รองลงมาเป็น SIAM GLOBAL
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)
อัตรากำไรขั้นต้น เป็นอัตรากำไรซึ่งได้หักต้นทุนสินค้าออก อันดับที่ 1 ที่มี Gross Profit สูงสุดเป็น Home Pro มีอัตรากำไรขั้นต้น 28.1% แสดงว่าสามารถสั่งต้นทุนของสินค้าที่นำมาขายได้ในราคาต่ำที่สุดและลักษณะของอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับธุรกิจขายวัสดุก่อสร้างด้วยกันอย่าง SIAM GLOBAL มี Gross Profit เท่ากับ 15.2% ต่างกันพอสมควรกับ Home Pro อันดับที่ 2 จะเป็น Robinson รักษาอัตรากำไรขึ้นต้นได้ค่อนข้างคงที่ทุกปีที่ระดับมากกว่า 20% ทุกปี สำหรับอัตรากำไรขั้นต้นมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยหรือแทบจะไม่เปลี่ยนแปลง ส่วน CP ALL กำไรขั้นต้นลดลงเล็กน้อย
อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) อันดับ 1 จะเป็น Robinson อยู่ที่ 7.6% รองลงมาเป็นกลุ่มวัสดุก่อสร้าง คือ Home Pro และ SIAM GLOBAL ตามลำดับ ส่วน CP ALL ยอดขายดีแต่ Net Profit Margin ลดลงเหลือเพียง 2.7% เท่านั้น
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)
อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio) CPALL เป็นบริษัทที่ก่อหนี้มากที่สุดจากการเข้าไปซื้อกิจการ MAKRO ทำให้ก่อหนี้สูงขึ้นหลายเท่าตัว บริษัทที่หนี้สินต่อทุนอยู่ในระดับต่ำ (ต่ำกว่า 1.5) ได้แก่ SIAM GLOBAL, Robinson, สหพัฒน์, BigC เรียงจากน้อยไปมากตามลำดับ
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)
ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย (Inventory Period) ในเรื่องประสิทธิภาพในการบริหารสต๊อก GLOBAL มีสินค้าคงเหลือใช้เวลาในการขายนานที่สุดถึง 181 วันถึงจะขายหมด ต่างจาก Home Pro ที่ขายวัสดุก่อสร้างเหมือนกัน สินค้าคงเหลือใช้เวลา 77 วันเท่านั้น ส่วนสินค้าของกินของใช้ สหพัฒน์ขายดีที่สุดขายออกได้เร็วใช้เวลาประมาณ 12 วันเท่านั้น
ระยะเวลาชำระหนี้เจ้าหนี้การค้า (Payment Period) ยิ่งมากยิ่งแสดงถึง “อำนาจในการต่อรอง” ในการชำระเงินกับผู้ผลิตสินค้า บริษัทที่ดึงเวลาในการจ่ายเจ้าหนี้ได้ช้าที่สุดจะเป็น Home Pro 121 วัน(4 เดือน) ส่วน GLOBAL เพียง 51 วันเท่านั้น รองลงมาก BigC 84 วัน (2เดือนครึ่ง) ส่วน MAKRO อันดับสุดท้าย 44 วัน
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)
ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) และผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ผู้นำคือผลตอบแทนทั้งสินทรัพย์ และส่วนของผู้ถือหุ้น คือ MAKRO และมีแนวโน้มของผลตอบแทนสูงขึ้นทุกปี ส่วน SIAM GLOBAL รั่งอันดับสุดท้ายของกลุ่ม
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)
อัตรากำไรสุทธิ จะแสดงถึง ความสามารถในการทำกำไรสุทธิของบริษัท เป็นการวัดความสามารถของบริษัทในการควบคุมรายจ่ายทุกประการทั้งดอกเบี้ยและภาษีเมื่อเทียบกับยอดขาย หากอัตราส่วนนี้มีค่าสูงแสดงว่าบริษัทสามารถเปลี่ยนยอดขายให้เป็นกำไรสุทธิได้มาก
อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio) แสดงถึง สัดส่วนของเงินทุนจากการกู้ยืมต่อเงินทุนจากเจ้าของธุรกิจถ้าอัตราส่วนนี้สูงแสดงว่าบริษัทมีการกู้ยืมเงินในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับเงินทุนจากผู้ถือหุ้นของบริษัท ทำให้มีความเสี่ยงในลักษณะเดียวกับอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์
อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Asset∶ROA) แสดงถึง ระดับผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมของบริษัท เป็นการวัดความสามารถในการนำสินทรัพย์ทั้งหมดของธุรกิจใช่ในการสร้างยอดขายและควบคุมค่าใช่จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมดสุทธิจากภาษีแต่ก่อนต้นทุนทางการเงิน (ดอกเบี้ยจ่ายสุทธิจากภาษีที่ประหยัดได้) อัตราส่วนที่สูงแสดงว่าบริษัทมีความสามารถสูงในการนำสินทรัพย์ไปสร้างกำไรจากการดำเนินงาน
อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Equity∶ROE) แสดงถึง ระดับผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น จากเจ้าของบริษัท เป็นการวัดความสามารถในการทำกำไรให้แก่เงินทุนของผู้ถือหุ้น หากค่าที่ได้จากการคำนวณแสดงว่าผู้ถือหุ้นมีโอกาสได้รับเงินปันผลและผลตอบแทนที่สูง
บทความโดย : TerraBKK ข่าวอสังหาฯ
TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก