Tax Deductions --- Life Insurance / LTF / RMF
ช่วงท้ายของปี หลานคนเริ่มนำรายได้รวมทั้งปีของตนมาคำนวณภาษีคร่าวๆ เพื่อหาหนทางลดหย่อนภาษีที่ได้รับความนิยม คือ การทำประกันชีวิต ,การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม LTF หรือ RMF ซึ่งแต่ละวิธีสามารถหักลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่างกัน กรมสรรพากรอธิบายไว้ว่า “การหักลดหย่อน” เป็นการนำรายการตามกฎหมายกำหนด มาหักออกไปเพื่อลดภาระภาษี แล้วจึงนำเงินได้ที่เหลือ ไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อไป TerraBKK
- ขอนำเสนอ 2 รายการ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการทำความเข้าใจไปพร้อมกัน ดังนี้
1.การลดหย่อนและยกเว้น สำหรับเบี้ยประกันชีวิต
- เป็นไปตามจำนวนที่จ่ายจริงไม่เกิน 100,000 บาท แบ่งเป็น "ลดหย่อน" ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท ได้รับ "การยกเว้น" ไม่เกิน 90,000 บาท ทั้งนี้ เฉพาะกรมธรรม์ประกันชีวิตระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป จากบริษัทประกอบธุรกิจประกันชีวิตภายในประเทศไทยเท่านั้น
- หากเบี้ยประกันภัยที่จ่ายเป็น การประกันชีวิตแบบบำนาญ ตั้งแต่ 1 ม.ค. 53 เป็นต้นไป ให้ยกเว้นอีก ร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และ เมื่อรวมกับเงินที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน หรือค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
2. การยกเว้น ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
- กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ได้รับ "การยกเว้น" ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) มีข้อดีคือ เมื่อถือหน่วยลงทุน 5 ปีปฏิทิน สามารถไถ่ถอนคืนได้ นำเงินโยกย้ายไปลงทุนอื่นได้ ซึ่งไม่ผูกพันว่าต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี ดังนั้น หากต้องการลดหย่อนภาษีปีไหน สามารถทำการลงทุนในปีนั้นๆ
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ได้รับ "การยกเว้น" ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund), กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับการลงทุนในรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) จะมีภาระผูกพันว่าต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี ขั้นต่ำ 3%ของรายได้ หรือ 5,000 บาท ไปจนกว่าจะมีอายุครบ 55 ปี
- พบว่า
- ประเภทกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) จากการจัดอันดับของเว็บไซต์ morningstarthailand.com เว็บไซต์ที่รวมข้อมูลผลประกอบการกองทุนรวมต่างๆ ในประเทศไทย ดังนี้
- :
- เป็นการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานหลังปรับค่าความเสี่ยงและปัจจัยด้านการบัญชีเกี่ยวข้องทั้งหมดของแต่ละกองทุน เทียบกับภาพรวมกลุ่มกองทุนที่มีลักษณะคล้ายกัน โดยแบ่งRating ตามเกณฑ์ ดังนี้ กองทุนรวมที่มีผลดำเนินงานสูงสุด 10% แรกของกลุ่ม จะได้รับดาว 5 ดวง กองทุนรวมที่มีผลดำเนินงานเกณฑ์ 22.5% ถัดมาของกลุ่ม จะได้รับดาว 4 ดวง กองทุนรวมที่มีผลดำเนินงานเกณฑ์ 35% ถัดมาของกลุ่ม จะได้รับดาว 3 ดวง กองทุนรวมที่มีผลดำเนินงานเกณฑ์ 22.5% ถัดมาของกลุ่ม จะได้รับดาว 2 ดวง กองทุนรวมที่มีผลดำเนินงานต่ำสุด 10% ท้ายของกลุ่ม จะได้รับดาว 1 ดวง ท้ายนี้
- ได้รวบรวมรายชื่อ
- ที่น่าสนใจ เพื่อเป็นข้อมูลค้นหารายละเอียดต่อไปได้ ดังนี้
รายชื่อบริษัทประกันชีวิต
- บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
- บริษัท กรุงไทย - แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด
- บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด
- บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด
- บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด
- บริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด
- บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด
- บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด
- บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ฟิลลิปประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
- บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด
- บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ไทยซัมซุง ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด
- บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
- บริษัท เอไอเอ จำกัด
รายชื่อบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน
- บลจ. กรุงไทย
- บลจ. กรุงศรี
- บลจ. กสิกรไทย
- บลจ. ภัทร
- บลจ. ซีไอเอ็มบี – พรินซิเพิล
- บลจ.รวม ซิมิโก้
- บลจ. ทหารไทย
- บลจ. ทิสโก้
- บลจ. ไทยพาณิชย์
- บลจ. ธนชาต
- บลจ. ยูโอบี (ไทย)
- บลจ.รวม บัวหลวง
- บลจ. ฟิลลิป
- บลจ. ฟินันซ่า
- บลจ. แมนูไลฟท์
- บลจ.รวม วรรณ
- บลจ. อเบอร์ดีน (ประเทศไทย)
- บลจ. เอ็มเอฟซี (มหาชน)
- บลจ. แอสเซท พลัส
บทความโดย : TerraBKK คลังความรู้
TerraBkk ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก
- ที่มา : www.rd.go.th www.oic.or.th www.thaimutualfund.com www.morningstarthailand.com
Discussion
Follow breaking news Investment property articles on Facebook, click here.