“กลยุทธ์” คือ ยุทธวิธี การเลือกปฏิบัติการอย่างไรให้ธุรกิจเติบโตมีกำไร ครองใจลูกค้า ชนะคู่แข่งขัน และคงอยู่ตราบนานเท่านาน ความสำคัญของสิ่งนี้มากมายหลากหลายสำนักที่ออกมาให้ความรู้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ แต่ว่าจากการศึกษาและพินิจพิเคราะห์ข้อมูล 108 ไอเดียนั้นๆ ทาง TerraBkk Research ขอหยิบยก 10 ส่วนผสมทางธุรกิจที่สำคัญ ปฎิบัติได้ เข้าใจง่าย โดยขอนำเสนอเป็นโครงข่ายความสัมพันธ์ของทั้ง 10 กลยุทธ์ (Business Strategy Metrix) เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้เริ่มต้นธุรกิจ หรือผู้บริหารทุกท่านดังนี้

  1. พลังทั้ง 5 ของ Porter (Five Force Model) คือวิเคราะห์พิจารณาสภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน ต้องมองทั้ง 1) คู่แข่งทางตรง 2) คู่แข่งรายใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาด 3) ความรุนแรงของการแข่งขันในปัจจุบัน 4) อำนาจต่อรองของคู่ค้า (Suppliers) รวมทั้งอำนาจต่อรองของลูกค้า และ 5) สินค้าทดแทนหรือบริการทดแทนอื่นใกล้เคียง
  2. การวางตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ (Strategic Positioning) อย่างมีประสิทธิผลในการดำเนินงาน หมายถึงการกระทำกิจกรรมที่แตกต่างจากกิจกรรมของคู่แข่งหรือทำกิจกรรมที่คล้ายกันแต่ทำในแบบที่แตกต่างออกไป หรือการสร้างคุณค่าความแตกต่างในใจของลูกค้า
  3. สร้างนวัตกรรม (Innovation) คือการสร้างกฏแห่งการแข่งขันใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด หรือสร้างความสามารถในการผลิตและให้บริการสิ่งอื่นที่ลูกค้าไม่เคยรู้มาก่อนว่าตัวเองต้องการสิ่งนี้
  4. การตั้งราคา (Pricing Strategy)
    การกำหนดราคาคือการมอบข้อเสนอในการสร้างคุณค่าที่เหนือกว่าคู่แข่ง มีข้อเสนอด้านราคา 3 แบบหลัก คือ 1.ตั้งราคาต่ำกว่าเพื่อสร้างส่วนแบ่งทางการตลาดที่มากกว่า 2.การตั้งราคาเทียบเท่าคู่แข่งเพื่อแสดงออกถึงตำแหน่งทางการแข่งขันเดียวกัน และ 3.การตั้งราคาสูงกว่าเพื่อยกระดับมาตรฐานของสินค้าและบริการ
  5. พลังขับเคลื่อนโดยลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Data Driven) ต้องศึกษาความพึงพอใจ ความคาดหวังของลูกค้าที่มีอยู่อย่างสม่ำเสมอ และขับเคลื่อนองค์กรโดยใช้ลุกค้าเป็นจุดศูนย์กลาง ต้องประมวลผลชุดข้อมูลลูกค้าอย่างต่อเนื่องและนำไปใช้เพื่อออกแบบวิธีการแสวงหาลูกค้าใหม่ให้ตรงเป้าที่สุด
  6. ผู้นำ (Leader) การธำรงไว้ หรือรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน ต้องคิดใคร่ครวญอยู่ตลอดเวลา และต้องออกแบบมาตรการป้องกันการลอกเลียนแบบ รวมทั้งต้องสร้างกิจกรรมสนับสนุนเสริมกลยุทธ์อย่างสม่ำเสมอ
  7. จงรักภักดี (Royalty) ต้องพยายามรักษาฐานลูกค้าที่จงรักภักดีและพนักงานผู้ภักดี หรือการยึดตำแหน่งในใจกลุ่มคนสองกลุ่มนี้ให้ได้ “ผู้ภักดี” นั้นคือผู้ที่ใช้ซ้ำและต้องการบอกต่อคุณค่าของสินค้าและบริการของท่านไปสู่บุคคลแวดล้อม และนี่คือกำไรระยะยาวขององค์กร
  8. การวัดผลการปฎิบัติงาน (Measure Performance) ต้องทบทวนความก้าวหน้าตามช่วงเวลา ค้นให้พบว่าเกิดผลกระทบอย่างไร เกิดความไม่สอดคล้อง หรือเบี่ยงเบนขึ้นที่จุดใด อะไรคือสาเหตุ? การติดตามและประเมินผลที่ดีจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขปัญหาได้
  9. การบริหารทางการเงิน (Financial Management) คือการจัดการทางการเงินให้สอดคล้องเพียงพอในการดำเนินงาน และเตรียมพร้อมหาจังหวะการลงทุนสร้างการเติบโตขยายกิจการ
  10. การสร้างการเติบโต (Growth Strategy) กลยุทธ์การสร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดดเห็นผลรวดเร็วคือ“การหาหุ้นส่วน” โดยเฉพาะเป็นหุ้นส่วนกับคู่แข่ง การรวมทีมกับคู่แข่งจะช่วยให้ประหยัดโครงสร้างพื้นฐาน ส่งผลให้สินค้าถูกลง แล้วนำทรัพยากรส่วนอื่นไปขยายอนาเขตการแข่งขันต่อไป

Tip : การดำเนินงานทั้ง 10 กลยุทธ์นี้ให้ดำเนินงานภายใต้สภาวะ “ของเหลว” หรือ ต้องปรับตัวได้อย่าง “น้ำ” โดยท่านสามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมในรายละเอียดของแต่ละกลยุทธ์ได้จากหนังสือของสำนัก Harvard Business Review, Kellogg School of Management และ Wharton School Publising

3 คําถามที่ถูกต้องเพื่อวัด ROYALTY ดัชนีชี้วัดการเติบโตที่แท้จริง แนวคิดที่น่าสนใจจาก Harvard Business Review เพียงคุณถามคําถามที่สําคัญกับลูกค้าว่า “คุณมีแนวโน้มที่จะแนะนําบริษัทของเราให้แก่เพื่อนหรือผู้ร่วมงานของคุณมากน้อยเพียงใด” เพราะเมื่อบริษัทของคุณมีผู้สนับสนุนมากขึ้นเท่าไหร่ บริษัทของคุณก็จะยิ่งเจริญเติบโดได้ยิ่งใหญ่ขึ้นเท่านั้น

เหตุผลหลักที่คนซื้อคอนโด และสื่อโฆษณาที่เข้าถึงมากที่สุด กลุ่มผู้ซื้อคอนโดมิเนียมโดยแบ่งออกเป็น 3 สถานภาพทางสังคม ดังนี้ 1) กลุ่มคนเพิ่มเริ่มทำงาน อายุ 20-25 ปี 2) กลุ่มคนโสด อายุ 26- 35ปี และ 3) กลุ่มครอบครัวใหม่ อายุ 36 – 45 ปี พบว่าทั้ง 3 กลุ่มมีเหตุผลหลักที่ตัดสินใจซื้อห้องชุด เพื่อต้องการลดเวลาการเดินทางไปทำงาน แต่ก็มีเหตุผลประกอบอื่นๆ ที่น่าสนใจ และแตกต่างกันไปดังนี้