9 Incredibly Smart Financial Actions Every Middle-Aged must take !!
1. รู้ทันสภาพการเงินของตัวเองเสมอ
พฤติกรรมเพิ่มทักษะการเงินสำคัญที่ไม่ควรเมินเฉยเป็นอย่างยิ่ง อย่าคิดว่าการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน (Financial Partner) มาดูแลทรัพย์สินแล้วจะอุ่นใจ เพราะปัญหาการเงิน อาจจะมาจากสิ่งที่เกินความคาดหมาย โดยไม่ทันได้เตรียมตัว เช่น ชีวิตคู่ที่ไม่ได้จบอย่างสวยหรู มีการหย่าร้าง หากเป็นแม่บ้านไม่มีรายได้ สภาพการเงินย่อมมีปัญหา เป็นต้น ดังนั้น ควรทำเข้าใจสภาพการเงินของตนเองเสมอ สิ่งสำคัญที่สุด คือ การตอบตัวเองว่า ควรมีเงินมากน้อยเพียงไร สำหรับการดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคต? เริ่มต้นง่ายๆด้วยการเลือกลงทุนหรือบริหารเงินของตนเองตั้งแต่วันนี้เปรียบเทียบความเสี่ยงและผลตอบแทนในทุก Asset Class TerraBKK Research ขอเปรียบเทียบความต่างของความเสี่ยง และผลตอบแทนแต่ละ ASSET โดยความเสี่ยงในที่นี้อาจจะหมายถึงความผันผวน (Volatility) ของผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ .....
2. ใช้ชีวิตอย่างสมดุล
อย่าเสียเวลาครุ่นคิดถึงคำพูดของคนรอบข้าง, เพื่อนบ้าน หรือพ่อแม่ของคุณ ที่ต้องการชีวิตสวยหรู ไม่มีความจำเป็นใดที่จะต้องซื้อสิ่งของที่เกินความสามารถ จนกลายเป็น ภาระหนี้สิน ในท้ายที่สุด สิ่งที่ควรทำความเข้าใจเพื่อเพิ่มทักษะการเงิน คือ เรียนรู้การใช้จ่ายเงินน้อยกว่าจำนวนเงินที่มี เริ่มต้นจากการค้นหาสิ่งที่รักและมีความพอดีกับงบประมาณ มีสติและไม่หลงระเริงกับสิ่งฟุ่งเฟือยราคาแพงเพียงต้องการความบันเทิงชั่วคราว สร้างความสุขแท้จริงจากสิ่งที่มี ย่อมดีกว่า การสนองความต้องการทรัพย์สินเพียงเปลือกความแตกต่างรายได้เฉลี่ยคนไทย 77 จังหวัด เรื่องของรายได้ ใครๆก็อยากรู้ว่า จังหวัดใดมีระดับรายได้เฉลี่ยสูงสุดในภาค หรือจังหวัดใดมีอัตราเติบโตของรายได้เฉลี่ยสูงสุดในภาคนั้นๆ TerraBKK ได้ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือนของคนไทย จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ทั้งระดับภาคและจังหวัด ....
3. กำหนดกรอบชีวิต
เป็นการค้นหารูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างที่เรียกกันว่า "ไลฟ์สไตล์" ที่สามารถตอบสนองความต้องการ, เหมาะสมกับบุคลิกลักษณะนิสัย รวมถึงฐานะการเงินด้วย การกำหนด "กรอบชีวิต" จึงครอบคลุมทุกอย่างที่สามารถคัดกรองได้ว่า สิ่งไหนจำเป็น และสิ่งไหนเกินความจำเป็นหรือเกินความสามารถ ไม่ได้สร้างความสุขอย่างแท้จริง ท้ายที่สุดแล้ว กรอบชีวิตสามารถตอบทุกโจทย์ของชีวิต ทั้งหน้าที่การงาน ,สถานที่ดำรงชีวิต และเป้าหมายชีวิตที่ต้องการนับจากนี้4. อย่าจ่ายเงินเพื่อเรียกร้องความสนใจ
ต้องยอมรับว่า "การเข้าสังคม" ของคนวัยทำงานเป็นเรื่องปกติ วิธีเบื้องต้นง่ายๆคือการตอบตัวเองว่า การกระทำนี้สำคัญต่องานและชีวิตเราจริงไหม? หรือเป็นเพียงข้ออ้าง เพื่อแต่งตัวสวยเรียกร้องความสนใจจากคนรอบข้าง ,สังสรรค์ดื่มแอลกอฮอล์เพื่อเรียกร้องความสนใจจากกลุ่มเพื่อน สิ่งสำคัญที่ควรทำความเข้าใจคือ การตระหนักถึงสิ่งที่ตนมีและสิ่งที่ตนเป็น อย่าจ่ายเงินซื้อความสุขทั้งที่ตนเองไม่ได้มีเงินเหลือเฟือ ดังนั้น สิ่งที่ต้องปรับทัศนคติแล้วเปลี่ยนพฤติกรรมคือ เรียนรู้ที่จะตอบปฎิเสธการใช้จ่ายเงินโดยไม่จำเป็น5. เตรียมแผนเกษียณอายุตั้งแต่วันนี้
ปัจจุบันสังคมไทยมีขนาดครอบครัวที่เปลี่ยนแปลงไป จากอดีตครอบครัวคนไทยมักเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ อยู่ร่วมกันพร้อมหน้าตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายมาจนรุ่นลูกรุ่นหลาน สมัยนี้ครอบครัวมีขนาดเล็กลง คนวัยทำงานสะดวกใจที่จะซื้อหรือเช่าที่พักในตัวเมืองใกล้ที่ทำงาน พ่อแม่ที่ไม่อยากเป็นภาระพึ่งพิงลูกหลาน จึงควร "วางแผนการเงินหลังเกษียณ" หากประมาทปล่อยเวลาผ่านไป โดยไม่มีการวางแผนเกษียณ ยากที่จะใช้ชีวิตอย่างที่คาดหวังในยามแก่เฒ่าได้ รอถึงตอนนั้นก็คงสายไปเสียแล้วความสำคัญของการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ใน “วัยเกษียณ” หลังจากการทำงานในบริษัทมาตลอด 30 กว่าปี วัยนี้จึงเป็นวัยที่รับความเสี่ยงได้ค่อนข้างต่ำ เพราะไม่ได้รับเงินเดือนอย่างเคย จึงเป็นเรื่องน่าคิดว่าจะทำอย่างไรให้สามารถเลี้ยงดูตนเองหลังวัยเกษียณได้ และมีความั่นคงก่อนถึงวัยเกษียณจริงๆได้…..
6. ปรับทัศนคติด้านการเงินกับคู่คิดก่อนตัดสินใจแต่งงาน
เพราะทุกคนมีพื้นฐานชีวิตที่แตกต่างกัน ทำให้ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินไม่เหมือนกัน สิ่งที่ควรให้ความสำคัญมากที่สุด คือ การพูดคุยและเรียนรู้ทัศนคติการเงินกับคู่คิดของคุณ แม้ว่าเรื่องนี้จะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สิ่งนี้จะช่วยให้ชีวิตคู่พบ "จุดสมดุลทางการเงิน" ที่สร้างความลงตัวให้กับคู่ชีวิตได้อย่างพอดี ในไลฟ์สไตล์ที่ตัวเขาเป็น และไลฟ์สไตล์ที่ตัวคุณเป็น ก่อนการตกลงปลงใจแต่งงานเป็นคู่ชีวิตตลอดไปCase Study 14: แนวคิดใหม่ “หนุ่มสาวผู้บริหารระดับกลาง Middle Managers” กับการบ้าน 2 หลัง TerraBKK Research เห็นความเปลี่ยนแปลงและความน่าสนใจสำหรับการมีที่อยู่อาศัยในเมืองไว้สำหรับวันทำงาน และในวันหยุดออกนอกเมืองมาพักผ่อนหลีกหนีความวุ่นวายมาอยู่บริเวณชานเมืองในกลุ่มนักบริหารระดับกลาง 35 ปีขึ้นไป
7. อย่าปล่อยให้ใครมาจัดการเงินของคุณมากกว่าตัวคุณเอง
การผลักภาระหนักหน่วงนี้ไปให้คนอื่น เช่น ที่ปรึกษาการเงินส่วนบุคคล เป็นต้น โดยที่คุณไม่มีความเข้าใจหรือเห็นคล้อยตามทุกอย่างตามเสนอ คือ "ความประมาท" ในทรัพย์สิน สิ่งที่ควรทำคือ เรียนรู้และทำความเข้าใจการจัดการเงิน สิ่งนี้จะช่วยกรอกบางสิ่งบางอย่างที่เป็นไปเพราะผลประโยชน์แอบแฝง เช่น กลยุทธ์เร่งทำยอดตามเป้าหมาย โดยการเชิญชวนใช้บริการที่อาจจะไม่มีความจำเป็นต่อบุคคลนั้นๆ เป็นต้น8. ปรึกษาเรื่องเงินกับคนรู้ใจ
เรื่องเงินทองเป็นเรื่องที่ใครก็ไม่อยากเปิดเผย รู้สึกอึดอันเวลาจะพูดถึง ทำให้ไม่กล้าที่จะพูดคุยขอคำปรึกษามากนัก หลายคนจะมีความรู้สึกที่ดีกว่า หากมีคนเข้ามาแนะนำหรือช่วยเหลือโดยไม่ต้องร้องขอ ดังนั้น ทางออกของปัญหานี้ก็คือ การหาคนไว้ใจที่สามารถพูดคุยเรื่องเงินได้ โดยที่เขาเต็มใจและเข้าใจเรา ทำให้กล้าที่จะพูดหรือปรึกษาปัญหาการเงินได้นั้นเอง9. ยึดหลักดำเนินชีวิตเรียบง่าย
เริ่มต้นด้วยการ ทำความเข้าใจธรรมชาติของชีวิต ในด้านต่างๆ เช่น รู้เรียนการสร้างความสุขโดยไม่ยึดติดกับวัตถุนิยม, ออกกำลังกายดูแลสุขภาพ ย่อมดีกว่า เสียสตางค์หาหมอกินยา, ลูกในครอบครัวฐานะปานกลางแต่อบอุ่น ย่อมดีกว่า ลูกในครอบครัวร่ำรวยแต่พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ เป็นต้น --เทอร์ร่า บีเคเคบทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก