วิธีตรวจสอบสภาพอาคารก่อนตัดสินใจซื้อ
สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับขั้นตอนการเลือกบ้านมือสอง คือ "สภาพบ้าน" เพราะมีการอยู่อาศัยมาแล้ว ทำให้สภาพบ้านอาจเสื่อมโทรมไปบ้าง โดยเฉพาะบ้านที่ผ่านกระบวนการบังคับคดีที่ใช้เวลานาน แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ "โครงสร้าง" จะยังแข็งแรงอยู่หรือไม่เพราะหากมีการต่อเติมที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการอาจสร้างปัญหาได้ในอนาคต สิ่งที่ต้องตรวจสอบและซ่อมแซมประกอบด้วย
3 จุดสำคัญในการตรวจสภาพบ้านมือสอง จากสำนักบริการวิชาการ ม.บูรพา
1. ตรวจสภาพภายนอกบ้าน
- ตรวจดูสภาพการทรุดตัวของบ้าน โดยดูจากการทรุดตัวของลานจอดรถหรือลานซักล้าง
- ปริมาณน้ำฝนจากบ้านข้างเคียงที่จะไหลเข้ามาสู่บ้านของเราเมื่อฝนตก ร่มเงาจากต้นไม้บริเวณรอบบ้าน ขนาดของต้นไม้ และระบบการชอนไชของราก ควรตรวจสอบให้ดีเพราะสามารถสร้างความเสียหายให้กับตัวบ้านได้
- ที่ตั้งของบ้าน ควรอยู่ระดับสูงกว่าถนน และไม่เสี่ยงต่อปัญหาน้ำท่วมบ้าน
- ตรวจสอบอาคารข้างเคียงว่ามีการขุดบ่อหรือสระใกล้บ้านจนอาจทำให้บ้านทรุดพังหรือไม่
- ตรวจเช็ครอยรั่วของหลังคา โดยเริ่มสังเกตจากอาการบวมของฝ้าและคราบน้ำที่ซึมออกมา ให้ลองฉีดน้ำลงบนบริเวณหลังคาที่มีรอยรั่วนั้นๆ ดูว่ายังรั่วอยู่ไหม ตรวจเช็คสภาพสีบนผนังว่ามีรอยด่างบวมเนื่องจากมีน้ำฝนหรือน้ำซึมเข้ามาในผนังหรือไม่
2. ตรวจสอบระบบภายใน
- ตรวจสอบการรั่วซึมของระบบประปา น้ำบริเวณผนังและพื้นห้องน้ำ พร้อมทดลองปิดน้ำในทุกจุด แล้วตรวจสอบมิเตอร์น้ำ หากมิเตอร์ยังเดินอยู่อาจเป็นเพราะอุปกรณ์ในถังพักโถสุขภัณฑ์เสื่อม ให้เปลี่ยนและเช็คอีกครั้ง หากยังเดินอยู่แสดงว่าระบบน้ำประปาอาจจะรั่วได้
- ตรวจสอบระบบไฟฟ้า สังเกตคุณภาพของสายไฟว่าเสื่อมหรือยัง หากฉนวนหุ้มแตกหรือกรอบ ควรเปลี่ยนใหม่ทั้งชุดโดยอาจเจรจาให้เจ้าของบ้านช่วยเปลี่ยนให้
3. ตรวจสภาพโครงสร้างอาคาร
- สังเกตภาพรวมของตัวบ้าน ดูการตั้งฉากของพื้น เสาและคานต้องไม่แอ่นหรือเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง
- ตรวจหารอยร้าวในคานและเสา หากเกิดรอยร้าวที่เนื้อคอนกรีตซึ่งเป็นโครงสร้างข้างในควรเรียกวิศวกรมาช่วยตรวจสอบเพื่อความปลอดภัย
- สังเกตรอยแตกร้าวบนพื้นภายในบ้านว่าส่งผลกระทบต่อโครงสร้างอาคารหรือไม่ หากเป็นบ้าน 2 ชั้นอาจจำเป็นต้องรื้อฝ้าเพดานเพื่อตรวจเช็คให้แน่ใจก่อน
เจาะลึกการตรวจสภาพโครงสร้างของบ้านมือสอง ก่อนตัดสินใจซื้อ (เขียนโดย สุระพงศ์ on วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552)
1. ตรวจค้นหาร่องรอยการต่อเติม เพื่อทราบประวัติการต่อเติมต่างๆของบ้านว่า บ้านหลังนี้ทำอะไรมาบ้าง เช่น ต่อครัว ต่อห้อง เพิ่มชั้นลอย ฯ และสังเกตุทำการต่อเติมได้ดีหรือไม่ดีอย่างไร วิธีที่ง่ายที่สุดในการหาร่องรอยการต่อเติมคือการถามเจ้าของเดิมครับ แต่ถ้าถามแล้วไม่ทราบ วิธีสังเกตุคือ ให้เดาลักษณะของบ้านเก่า ว่าควรมีหน้าตาอย่างไร (อาจดูจากข้างบ้านแล้วเทียบกัน) แล้วสังเกตุส่วนที่ไม่เหมือนกัน
ตรวจรอยต่อระหว่างอาคาร ในบริเวณอาคารเก่ากับอาคารใหม่ โดยปรกติแล้วการต่อเติมอาคารที่ถูกต้องคือ ต้องทำการต่อเติมให้โครงสร้างอาคารเก่ากับอาคารใหม่แยกจากกันโดยสิ้นเชิงครับ ตัวอย่างเช่น การต่อเติมพื้นที่ห้องเพิ่มขยายไปยังพื้นที่ว่างด้านนอก ต้องต่อออกมาในลักษณะเป็นอีกอาคารนึงเลยแต่มาชิดกันเท่านั้น ไม่ได้เป็นการฝากโครงสร้างใหม่เข้ากับโครงสร้างเก่า (ดูรูป)
เพราะการฝากโครงสร้างที่ทำใหม่ กับอาคารเดิมจะเกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากัน มีผลทำให้อาคารวิบัติ(พัง) มาเยอะแล้ว ดังนั้นสิ่งที่ควรต้องสังเกตุคือ รอยต่อระหว่างอาคาร ในบริเวณอาคารเก่ากับอาคารใหม่ ต้องเป็นรอยต่อที่ไม่มีการแตกร้าวที่เกิดจากการดึงกัน ระหว่างโครงสร้าง 2 ส่วน เพราะเป็นสาเหตุของอาคารวิบัติคัรบ แต่รอยร้าวที่เกิดขึ้นจากอาคารสองส่วนที่ทรุดตัวไม่เท่ากันอาจยอมรับได้ถ้าการเป็นการต่อเติมเป็นการต่อเติมที่ถูกต้อง(ดูรูป)
ตรวจรอยร้าว จริงๆแล้วรอยร้าว ไม่มีเลยจะดีที่สุดครับ แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ก็ควรรู้ว่ารอยร้าวของอาคารมีหลายประเภท หลายสาเหตุครับ แต่อยากให้สังเกตุไว้ว่ารอยร้าวแบบที่พอจะรับได้คือรอยร้าววที่มาจากการเสื่อมของวัสดุบนกำแพง เพราะมันพอจะแก้ไขได้ไม่ยากครับ วิธีสังเกตุคือ รอยร้าวประเภทนี้จะเป็นรอยร้าวแบบแตกระแหง มั่วไปมั่วมา ไม่เป็นแนวยาวเป็นทางเดียวต่อเนื่องกันครับ ส่วนรอยร้าวที่โครงสร้างหลักเช่น เสา คาน พื้น หรือ รอยร้าวบนผนังที่เป็นแนวยาวผิดสั้งเกตุ มันเป็นการบ่งบอกว่าอาคารมีปัญหา ควรหลีกเลี่ยงไว้ก่อน เพราะอาจเป็นการทรุดตัว หรือการรับน้ำหนักมากเกินไป หรือไม่ก็เป็นลางที่บอกว่า อาคารใกล้จะพัง
2. สังเกตุระดับอาคาร เทียบกับถนน ให้ดูว่าบ้านนี้ระดับพื้นชั้นล่างต่ำเกินไปไหมในอนาคต เพราะถนนจะต้องถมให้สูงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเราไม่สงเกตุตรงนี้อนาคตถนนมาการยกพื้นก็เป็นเรื่องที่ทำกันไม่ได้ง่ายๆ
สังเกตุร่องรอยการยกพื้นหรือการถมดิน ข้อควรจำคือเมื่อยกพื้นขึ้นโดยการเทคอนกรีต หนา 10 เซนต์ จะเพิ่มน้ำหนักให้อาคารถึง 240 กก.ต่อตารางเมตร ถ้ามากกว่านี้ก็เพิ่มไปอีก แต่บ้านพักอาศัยเดิมๆ วิศวกรออกแบบสำหรับการรับน้ำหนักไว้ประมาณ 200 กก. ต่อตารางเมตรเท่านั้น ถ้าเพิ่มน้ำหนักให้บ้านไปมากๆ ก็คิดดูเอาเองครับ ดังนั้น การถมดิน การยกพื้นของบ้านควรพิจารณาดีๆ อีกอย่างที่ควรสังเกตุ คือบ้านมือสองในบริเวณพื้นที่ๆมีน้ำท่วม เขายกพื้นกันทุกบ้านแหละครับ
สังเกตุการใช้งานผิดประเภทของอาคาร เช่นใช้บ้าน มาทำเป็นที่เก็บของ ดัดแปลงเพิ่มห้องน้ำบนดาดฟ้าเดิม หรือต่อระเบียงออกมาเป็นห้องนอน เรื่งพวกนี้ล้วนแต่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้อาคารโดยไม่ตั้งใจทั้งนั้น
ดังนั้น หากคุณไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญก็ควรจะหาผู้ที่มีความรู้ด้านนี้ไปช่วยเลือกบ้านด้วย เพื่อตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและใช้ในการประเมินราคาบ้าน และที่สำคัญคือ สาธารณูปโภคพื้นฐานภายในบ้าน ว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ ต้องซ่อมแซมมากน้อยเพียงใด เพราะนอกจากจะต้องเตรียมเงินสดหรือขอสินเชื่อเพื่อซ่อมแซมแล้ว ยังเป็นสิ่งที่สำคัญมากในขั้นตอน "การต่อรองราคา"
Discussion
Follow breaking news Investment property articles on Facebook, click here.