ลูกหนี้ ไม่ต้องกลัวถูกฟ้องศาล โดย...ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค หลังจาก พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ มีผลบังคับใช้ เจ้าหนี้หรือบริษัทที่ทำธุรกิจติดตามทวงถามหนี้ ออกมาให้ความเห็นในเชิงทำนอง ว่าจากเดิมที่ให้โอกาสลูกหนี้แก้ตัวเป็นปีคงไม่สามารถทำได้แล้ว เพราะการทวงหนี้อาจมีกระทบกระทั่งกันเกรงจะผิดกฎหมายจึงต้องฟ้องลูกหนี้เร็วขึ้น พ.ร.บ.ฉบับนี้อาจทำให้คดีล้นศาล มีต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ต้นทุนเหล่านั้นลูกหนี้ต้องรับผิดชอบ หรือเจ้าหนี้จะให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินยากขึ้น เป็นต้น แม้ไม่มี พ.ร.บ.ติดตามทวงหนี้ ลูกหนี้ถูกฟ้องคดีเพียบ ต้องบอกว่าปัจจุบันแม้ไม่มี พ.ร.บ. ฉบับนี้คดีเรื่องหนี้ ล้นศาลอยู่ก่อนแล้ว เนื่องจากมีบริษัทหรือสำนักงานกฎหมายซื้อหนี้จากสถาบันการเงินมาบริหารจัดการ โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ทั้งที่ตามกฎหมายกำหนดให้เรียกร้องภายในอายุความ เช่นบัตรเครดิต 2 ปี และสินเชื่อส่วนบุคคลภายใน 5 ปี แต่เจ้าหนี้กลับไม่ฟ้องภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อหนี้ที่ซื้อมาขาดอายุความ ก็ส่งฟ้องศาล ลูกหนี้ไม่ทราบจึงไม่ได้ต่อสู้คดีเรื่องคดีขาดอายุความ ศาลต้องพิจาณาไปตามกระบวนการ ลูกหนี้จึงควรรู้ว่าเมื่อตัวเองผิดนัดชำระหนี้มานานแล้ว สามารถต่อสู้คดีกรณีหนี้ขาดอายุความได้
ส่วนการกู้ยืมเงินมักจะยากขึ้น เพราะปัญหาหนี้ NPL นั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นสถาบันการเงินจึงต้องตรวจสอบสถานะของลูกหนี้ในการปล่อยสินเชื่อให้รัดกุม เพื่อไม่ให้แบกรับภาระความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของสถาบัน

http://terrabkk.com/wp-content/uploads/2015/10/loan.jpeg

ข้อดีของการถูกฟ้อง การถูกฟ้องนั้น ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว การเป็นหนี้ตามนั้นกฎหมายมีอายุความกำหนดไว้ว่ากรณีเป็นหนี้บัตรเครดิตจะมีอายุความ 2 ปี กรณีสินเชื่อส่วนบุคคล อายุความ 5 ปี กรณีการกู้ยืมเงินทั่วไปอายุความ 10 ปี การฟ้องศาลจึงถือเป็นการหยุดอายุความ ซึ่งเป็นทางเลือกที่เจ้าหนี้ เลือกที่จะฟ้องลูกหนี้อยู่แล้ว ถ้าฟ้องแล้วคำพิพากษาถึงที่สุด เจ้าหนี้ต้องบังคับคดีภายใน 10 ปีนับจากวันพิพากษา ถ้าฟ้องอายุความหยุดลงและโปรดรู้ไว้ว่า - เรื่องหนี้นั้นเป็นคดีทางแพ่งไม่ติดคุก - คดีจบเร็วไม่ยืดเยื้อ - หากคดีนั้นขาดอายุความ ลูกหนี้สามารถต่อสู้คดีได้ - ลูกหนี้จะได้รับความเป็นธรรม ศาลจะช่วยดูเรื่องดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมที่ผิดกฎหมายให้ หรือสามารถต่อสู้คดีได้ หากผู้ประกอบการคิดดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมที่ผิดกฎหมาย - ลูกหนี้ที่ไม่มีทรัพย์สินใดๆ มีแต่เงินเดือน อาจปล่อยให้กระบวนการทางคดี ไปถึงการอายัดเงินเดือน เพราะเจ้าหนี้ทำได้เพียงอายัดตามกฎหมายกำหนด และแม้มีเจ้าหนี้มากกว่า 1 ราย ก็จะสามารถทำได้ทีละรายเท่านั้นจนกว่าจะชำระหนี้เจ้าแรกที่บังคับคดีหมด พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ช่วยลูกหนี้อย่างไร

http://terrabkk.com/wp-content/uploads/2015/10/bank_loan.jpeg

พ.ร.บ. ฉบับนี้ออกมาเพื่อช่วยให้ลูกหนี้ไม่ถูกแรงกดดัน ข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย ประจาน ทวงหนี้กับญาติพี่น้อง ทวงหนี้ไม่เป็นเวลา ทำให้เข้าใจว่าเป็นเจ้าหน้าที่ หรือการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเกินกว่ากฎหมายกำหนด จากผู้ที่ติดตามทวงหนี้ ลูกหนี้ที่ได้รับความเสียหายสามารถร้องเรียนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และที่ว่าการอำเภอได้ทุกแห่ง พ.ร.บ. การทวงหนี้ส่งผลกระทบกับคนทวงหนี้อย่างไร - บริษัทหรือสำนักงานกฎหมายหรือบุคคลที่รับจ้างติดตามทวงหนี้ ต้องจดทะเบียน - เจ้าหน้าที่รัฐห้ามทำธุรกิจทวงหนี้ บริษัทที่ซื้อหนี้เน่า (หนี้ NPL) จากสถาบันการเงินมาบริหารจัดการต้องรักษากติกาตามกฎหมาย ไม่สร้างแรงกดดัน ข่มขู่ลูกหนี้ ทำให้ลูกหนี้เข้าใจผิดว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หรือเรียกเก็บค่าติดตามหนี้ที่สูงเกินกฎหมายกำหนด - มีโทษจำคุกและปรับ หากเจ้าหนี้หรือคนที่ติดตามทวงหนี้กระทำผิดกฎหมาย แต่ถ้าคนทวงหนี้รู้กติกาและไม่ทำเกินกว่าเหตุ คงไม่มีการร้องเรียนเกิดขึ้นหรือหากเจ้าหนี้จะให้โอกาสลูกหนี้ผ่อนชำระ ด้วยการผ่อนปรนการชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็สามารถทำได้เพราะเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะดูแลลูกค้าของตัวเอง คงไม่เกี่ยวกับ พ.ร.บ.การทวงหนี้ ที่เจ้าหนี้ทั้งหลายพยายามจะอ้างแต่อย่างใด ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ผู้จัดการ รูปหน้าปกจาก : pattanakit.net