"Five Forces" กับการวิเคราะห์การแข่งขันในอุตสาหกรรม
เมื่อพูดถึงการลงทุนกับการวิเคราะห์อุตสาหกรรมถือว่าเป็นของคู่กัน การเข้าใจธรรมชาติของธุรกิจ และเข้าใจธรรมชาติของอุตสาหกรรมก่อนตัดสินใจลงทุนอะไรซักอย่างหนึ่งก็ถือว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากเช่นกัน ว่าอุตสาหกรรมที่เรากำลังสนใจอยู่นั้นมีข้อดี ข้อเสีย จุดอ่อน จุดแข็งอะไร และมีแนวโน้มที่จะเติบโตในอนาคตที่กำลังจะมาถึงหรือไม่ (Trend) เพื่อให้การลงทุนของเรานั้นถูกจุดถูกจังหวะ และไม่ให้ความคิดหรือข้อมูลต่างๆฟุ้งกระจายจนไม่สามารถจับหลักได้ จึงทำให้เกิดกรอบแนวคิดการวิเคราะห์ Five Forces Analysis ของ Michael E. Porter จากมหาวิทยาลัย Harvard ขึ้น ประกอบด้วยกัน 5 องค์ประกอบดังต่อไปนี้
2.การแข่งขันจากคู่แข่งที่มีอยู่ในอุตสาหกรรม (Rivalry Among Existing Competition) การแข่งขันของคู่แข่งในอุตสาหกรรมเราสามารถดูได้จากองค์ประกอบย่อยๆของประเด็น ต่างๆดังต่อไปนี้ ขนาดของอุตสาหกรรม (Size) ส่วนแบ่งตลาดของแต่ละบริษัท (Market Share) จำนวนบริษัทในอุตสาหกรรมนั้นมีมากขนาดไหน ดูว่าในอุตสาหกรรมนั้นมีการแข่งขันที่ดุเดือดหรือไม่ หรือยังมีโอกาสให้บริษัทที่เราสนใจจะลงทุนสามารถกินคำใหญ่ได้หรือไม่ ข้อมูลต่างๆเหล่านี้จะเป็นตัวบอกว่าอุตสาหกรรมเป็นตลาดผูกขาด ตลาดผู้แข่งขันน้อยราย หรือเป็นตลาดแข่งขันแข่งขันสมบูรณ์ ยิ่งไปกว่านั้นสิ่งที่เราต้องใส่ใจมากขึ้นคือ การแข่งขันของอุตสาหกรรมในประเทศกับอุตสาหกรรมต่างประเทศ เนื่องจากในปัจจุบันโลกที่เชื่อมถึงกันหมดการแข่งขันของอุตสาหกรรมในประเทศ ก็มีผลกระทบเช่นกัน
3.การทดแทนกันของสินค้า (Threat of Substitutes Products) จากเทคโนโลยีของโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วผนวกกับการแข่งขันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นตลอดเวลา เพื่อทดแทนสิ่งเดิมๆในตลาดที่ล้าสมัยหรือมีต้นทุนการผลิตที่สูงเกินไป การทดแทนของสินค้าดังกล่าวจะส่งผลให้บริษัทที่ปรับตัวได้ช้า ไม่ยืดหยุ่นต่อสถานกาณ์ที่เปลี่ยนแปลงมีรายได้ลดลงจนไม่สามารถอยู่ในอุตสาหกรรมได้ เห็นได้จากกรณีตัวอย่าง ของบริษัทค่ายมือถืออย่าง NOKIA ที่ทุ่มงบกับการพัฒนาระบบ Symbian แต่อุตสหกรรมกำลังก้าวเข้าสู่ยุคของ Smart Phone ในระบบ Andriod หรือ iOS ที่เข้ามาที่ตลาดมือถือ จากความที่ไม่คล่องตัวในการจะปรับเปลี่ยนแผนในการผลิตในการบริหารทำให้ส่วนแบ่งตลาดมือถือจากที่ NOKIA เคยเป็นอันดับต้นๆของตลาดจนต้องตกลงถึงขั้นปิดกิจการไป อีกกรณีศึกษาหนึ่งคือ การเปลี่ยนผ่านจากกล้องฟิล์มไปสู่กล้องดิจิตอล หลายบริษัทต้องปิดตัวลงหนึ่งในนั้นคือ Kodak ที่ปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิตอลได้ค่อนข้างช้าส่งผลทำให้รายได้ลดลงในที่สุด ดังนั้นการทดแทนกันของสินค้า ประเภทสินค้าที่เทคโนโลยี ต้องทันสถานการณ์ประเปลี่ยนให้ทันทวงที
4.อำนาจในการต่อรองของผู้ซื้อ (Bargaining Power of Customers) ลูกค้าถือเป็นส่วนสำคัญที่สุดของธุรกิจ จึงทำให้ลูกค้ามีอำนาจในการต่อรอง (ธุรกิจต้อง้อลูกค้า) อุตสาหกรรมที่ลูกค้ามีอำนาจการต่อรองสูงๆก็จะทำให้ภาคธุรกิจต้องพยายามพัฒนาสินค้าและบริการให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ได้ และอาจจะไม่สามารถตั้งราคาได้สูงมากนัก ส่วนอุตสาหกรรมที่ลูกค้ามีอำนาจการต่อรองน้อยส่วนใหญ่ก็จะเป็นอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันน้อยรายหรือเป็นธุรกิจที่ค่อนข้างจะมีอำนาจในการผูกขาด ธุรกิจที่มีอำนาจในการผู้ขาด เช่น ธุรกิจพลังงาน สื่อสาร หรือทางด่วน เป็นต้น เรามักจะเห็นว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้ไม่ค่อยปรับราคาลดลงหรือปรับก็ปรับน้อยมาก มิหนำซ้ำยังปรับเพิ่มขึ้นอีกด้วยแต่ลูกค้าก็ยังมีความจำเป็นที่จำต้องใช้บริการอยู่
5.อำนาจในการต่อรองของผู้ขายวัตถุดิบ (Bargaining Power of Suppliers) ธุรกิจมีความจำเป็นต้องใช้วัตถุดิบในการผลิต โดยต้นทุนของวัตถุดิบจะสะท้อนในส่วนของต้นทุนการผลิตสินค้า อำนาจในการต่อรองของผู้ขายวัตถุดิบก็เช่นการ การกดราคาวัตถุดิบให้ได้ในราคาที่ถูกกว่าผู้ผลิตรายอื่นๆ หรือการขยายเวลาการชำระเงินให้แก่ผู้ขายวัตถุดิบ (Supplier) เช่น นำวัตถุดิบมาก่อนแล้วค่อยชำระเงินภายหลัง 1-3 เดือน เป็นต้น แต่ทั้งนี้อำนาจการต่อรองจะขึ้นอยู่กับว่า Supplier ที่ส่งของให้ผลิตมีจำนวนมากหรือน้อย เช่น ถ้าหากไม่สั่ง Supplier เจ้านี้ก็ไปสั่งอีกเจ้าหนึ่งแทนแบบนี้ก็จำทำให้อำนาจการต่อรองของธุรกิจดีขึ้นไปด้วย
กรอบการวิเคราะห์การแข่งขันของอุตสาหกรรมมีภาพใหญ่ๆประมาณ 5 หัวข้อหลักข้างต้นเพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์สิ่งที่สำคัญคือ ต้องเข้าใจและรู้จักธรรมชาติของธุรกิจนั้นๆว่ามีลัษณะเป็นอย่างไรเพื่อให้การวิเคราะห์ครบถ้วนมากที่สุด - เทอร์ร่า บีเคเค
บทความโดย : TerraBKK ข่าวอสังหาฯ TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก