เมืองต้นแบบแนวดิ่ง Vertical City ตอบโจทย์ประชากรหนาแน่นในอนาคต
บริษัทสถาปัตยกรรม Luca Curci Architects นำเสนอการออกแบบเมืองต้นแบบแนวดิ่ง Vertical City โดยนำเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน มาจัดการปัญหาประชากรหนาแน่น ดีไซน์ให้เป็นอาคารบริโภคพลังงานเท่ากับศูนย์ และเป็นโครงสร้างแบบเปิด เพื่อดึงประโยชน์จากธรรมชาติมาใช้ ทั้งแสงแดด น้ำฝน ลม ฯลฯ
โครงสร้างของ Vertical City ใช้ระบบก่อสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูป Prefabrication System และประสานทางพิกัดทั้งแนวดิ่งและแนวนอน รอบๆ โครงสร้างบุด้วยกระจก ที่สามารถแปลงพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ (กระบวนการโฟโตโวลทาอิก) เพื่อนำพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้เองมาใช้ในเมืองแนวดิ่งแห่งนี้ และจ่ายกระแสไฟให้กับอาคารอื่นๆ บนแผ่นดินใหญ่
อาคารของเมืองต้นแนวดิ่ง Vertical City สูง 750 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 155 เมตร บางส่วนของอาคารอยู่ใต้น้ำ การออกแบบโครงสร้างจะมีช่องลมรูปห้าเหลี่ยมขนาดใหญ่รอบๆ อาคาร เพื่อดึงประโยชน์จากธรรมชาติมาใช้ ทั้งแสงแดด น้ำฝน ลม ฯลฯ โดยพื้นที่บริเวณช่องลมจะเป็นสวนสีเขียว เอื้อให้ผู้อยู่อาศัยมีไลฟ์สไตล์ที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ และเป็นการคิดคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสังคมและธรรมชาติให้มากขึ้นด้วย
เมืองต้นแบบแนวดิ่ง มีทั้งหมด 18 ชั้น สามารถจุผู้อยู่อาศัยได้มากถึง 25,000 คน ชั้นที่อยู่ใต้น้ำหรือใต้ทะเล เป็นพื้นที่ของระบบโครงสร้างพื้นฐาน และมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ อาทิ สปา ฟิตเนส ศูนย์การแพทย์ และโรงแรมหรู เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอุโมงค์เชื่อมไปยังแผ่นดินใหญ่ด้วย
Source: www.designboom.com all visuals courtesy of luca curci architects แปลและเรียบเรียงโดย www.BuilderNews.in.th
Discussion
Follow breaking news Investment property articles on Facebook, click here.