บริษัทสถาปัตยกรรม Luca Curci Architects นำเสนอการออกแบบเมืองต้นแบบแนวดิ่ง Vertical City โดยนำเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน มาจัดการปัญหาประชากรหนาแน่น ดีไซน์ให้เป็นอาคารบริโภคพลังงานเท่ากับศูนย์ และเป็นโครงสร้างแบบเปิด เพื่อดึงประโยชน์จากธรรมชาติมาใช้ ทั้งแสงแดด น้ำฝน ลม ฯลฯ โครงสร้างของ Vertical City ใช้ระบบก่อสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูป Prefabrication System และประสานทางพิกัดทั้งแนวดิ่งและแนวนอน รอบๆ โครงสร้างบุด้วยกระจก ที่สามารถแปลงพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ (กระบวนการโฟโตโวลทาอิก) เพื่อนำพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้เองมาใช้ในเมืองแนวดิ่งแห่งนี้ และจ่ายกระแสไฟให้กับอาคารอื่นๆ บนแผ่นดินใหญ่
อาคารของเมืองต้นแนวดิ่ง Vertical City สูง 750 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 155 เมตร บางส่วนของอาคารอยู่ใต้น้ำ การออกแบบโครงสร้างจะมีช่องลมรูปห้าเหลี่ยมขนาดใหญ่รอบๆ อาคาร เพื่อดึงประโยชน์จากธรรมชาติมาใช้ ทั้งแสงแดด น้ำฝน ลม ฯลฯ โดยพื้นที่บริเวณช่องลมจะเป็นสวนสีเขียว เอื้อให้ผู้อยู่อาศัยมีไลฟ์สไตล์ที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ และเป็นการคิดคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสังคมและธรรมชาติให้มากขึ้นด้วย เมืองต้นแบบแนวดิ่ง มีทั้งหมด 18 ชั้น สามารถจุผู้อยู่อาศัยได้มากถึง 25,000 คน ชั้นที่อยู่ใต้น้ำหรือใต้ทะเล เป็นพื้นที่ของระบบโครงสร้างพื้นฐาน และมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ อาทิ สปา ฟิตเนส ศูนย์การแพทย์ และโรงแรมหรู เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอุโมงค์เชื่อมไปยังแผ่นดินใหญ่ด้วย






Source: www.designboom.com all visuals courtesy of luca curci architects แปลและเรียบเรียงโดย www.BuilderNews.in.th

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก :