3 ขั้นตอน สานฝัน คนอยากมีบ้าน
ใครก็อยากมีบ้านเป็นสินทรัพย์ไว้ในครอบครอง ปัญหาของคนอยากมีบ้านส่วนใหญ่คงหนีไม่พ้นเรื่องของเงินทุน งบประมาณ ประกอบกับไม่รู้วิธีจัดการความฝันนี้ ซ้ำยังลืมคำนึงไปว่า ยิ่งปล่อยเวลาให้ผ่านเลยไปนานเท่าไหร่ ราคาบ้านก็มีโอกาสปรับสูงขึ้นไปเท่านั้น ความจริงทางออกของเรื่องนี้ ไม่ได้เกินความสามารถของคุณมากนัก มาลองตรวจสอบความฝันของคุณกับ 3 ขั้นตอน สานฝัน คนอยากมีบ้าน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 : สำรวจเงินทุนตนเอง
ความจริงเรื่องแรกที่คนอยากมีบ้านควรรู้ คือ การสำรวจตนเองในด้านรายได้และจำนวนเงินออม ทั้ง 2 อย่างนี้ ล้วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเข้าใกล้บ้านในฝัน เพราะอสังหาริมทรัพย์เป็นสิ่งที่มีมูลค่า และราคามีแนวโน้มปรับสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ตามสภาพเศรษฐกิจ หากมัวแต่รอคอยการเก็บออมเงินให้ถึงเงินล้าน คาดว่าตอนนั้น ราคาบ้านก็ขยับตัวเพิ่มขึ้นไปอีก เป็นเหตุให้คุณไม่ได้ครอบครองบ้านในฝันเสียที
ดังนั้น หากยังไม่มีเงินสดอยู่ในมือครบทั้งก้อนก็ไม่เป็นไร นำ "เงินออม" มาเป็นเงินดาวน์ เพื่อแสดงความจำนงซื้อบ้านเสียก่อน ในขณะที่ "รายได้" ก็ต้องลองประเมินดูว่า มีความเป็นไปได้ในการชำระค่าผ่อนหรือไม่ ด้วยวิธีการง่ายๆ ดังนี้
- คำนวณความสามารถในการผ่อนจ่าย 1 ใน 3 รายได้ต่อเดือนก่อนหักภาษี สูงสุดไม่เกิน 40% ของรายได้สุทธิของคุณ (ทั้งนี้ อย่าลืมลบด้วยค่าผ่อนชำระอื่นๆ ที่มีอยู่ก่อนแล้ว เช่น ค่าผ่อนสินค้า ค่างวดรถยนต์ ค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต) คือ จำนวนเท่าไหร่ ?
- คำนวณเงินดาวน์บ้านประมาณ 10-15% ของราคาบ้าน เท่ากับ จำนวนเงินออมของคุณตอนนี้หรือไม่ ?
กู้บ้านให้ผ่านชัวร์ เพื่อไม่ให้ผิดหวังกับการยื่นขอกู้ TerraBKK มีวิธีเตรียมความพร้อมเพื่อความแข็งแรงทางการเงินมานำเสนอให้ได้เตรียมพร้อมสำหรับการเป็นผู้กู้ที่ทางธนาคารไม่มีทางปฏิเสธ ซึ่งต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการที่ธนาคารไม่อนุมัติวงเงิน นอกจากเรื่องของความรอบคอบเช่นการเตรียมเอกสารให้พร้อม สามารถศึกษาได้จาก
ขั้นตอนที่ 2 : เลือกบ้านในฝันจินตนาการที่ดีควรอยู่บนพื้นฐานความจริง เช่นเดียวกับการเลือกบ้านในฝัน ควรเป็นบ้านที่ตอบสนองการดำเนินชีวิตได้จริง บ้าน 3 ชั้นอาจไม่เหมาะสำหรับครอบครัวผู้สูงอายุ ลองคาดคะเนดูว่า ครอบครัวของคุณต้องการบ้านกี่ชั้น จำนวนห้องนอน ห้องน้ำ หรือที่จอดรถกี่คัน และเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน คือ การเดินทางคมนาคม จะมีประโยชน์อะไรหากคุณมีบ้านหลังใหญ่ แต่สุดท้ายต้องเช่าหอพักข้าง Office ตลอดสัปดาห์ เพราะไม่มีรถยนต์ส่วนตัวในการเดินทาง ในขณะเดียวกัน หากคุณมีรถยนต์ส่วนตัวเดินทางมาทำงานได้ คุณอาจจะเลือกบ้านในฝัน บนทำเลเชื่อมต่อตัวเมือง เป็นบ้านที่มีขนาดใหญ่กว่า สิ่งแวดล้อมดีกว่าในระดับราคาไม่ต่างกัน ก็เป็นไปได้
ดังนั้น ลองหาจุดพอดี ที่ครอบคลุมทั้งด้านราคา, ด้านฟังก์ชั่นบ้าน, ด้านทำเลที่ตั้งและการเดินทาง จากนั้นจึงออกสำรวจโครงการบ้านจัดสรรที่เข้าตาโดนใจตอบโจทย์ตามที่ได้กำหนดไว้ แล้วรวบรวมข้อมูล เพื่อเป็นตัวเลือก พิจารณาดูจนมั่นใจว่า บ้านหลังนี้คือบ้านในฝันของฉัน ดังนี้
- ระบุรายละเอียดบ้าน บนพื้นฐานประโยชน์ใช้สอยที่จำเป็น
- ระบุทำเลที่ตั้งบ้านในฝัน ตอบสนองการเดินทางในชีวิตประจำวัน
- สร้าง choice เพื่อเปรียบเทียบเลือกสิ่งที่ดีที่สุด ให้กลายเป็น "บ้านในฝัน"
ขั้นตอนที่ 3 : ขอสินเชื่อจากธนาคารที่รู้ใจ
เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ หากคุณทำการบ้านทั้ง 2 ขั้นตอนข้างต้นมาเป็นอย่างดี และทุกอย่างเป็นไปด้วยความตั้งใจก็คงไม่มีอะไรน่ากลัว การขอสินเชื่อซื้อบ้านในฝันกับธนาคารที่รู้ใจ ควรทำความเข้าใจในเรื่อง อัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาการกู้ การยืดระยะเวลาผ่อนชำระให้ยาวออกไปหลายปี มีผลต่อการคำนวณค่างวดในแต่ละเดือน เมื่อถึงกำหนดชำระค่างวด คุณสามารถเจราจาการผ่อนชำระให้สูงขึ้น เพื่อประหยัดดอกเบี้ย ที่คำนวณจากดอกเบี้ยลดต้นลดดอกได้ หรือการจ่ายชำระคืนก่อนกำหนด เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเรื่อง โปรโมชั่นสินเชื่อ ที่มีประโยชน์แก่ตัวคุณ เช่น สินเชื่อบ้านสำหรับกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ, สินเชื่อสำหรับโครงการจัดสรรที่ธนาคารให้การสนับสนุน, สินเชื่อบ้านสำหรับผู้ที่มีบัญชีเงินฝากกับธนาคาร เป็นต้น
ดังนั้น ธนาคารที่รู้ใจคุณจะปรากฎตัวขึ้นจากความเข้าใจที่ถูกต้องของตัวคุณเอง โดยการเลือกข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ในการขอสินเชื่อซื้อบ้านในฝัน ต้องไม่ใช่แค่ช่วงโปรโมชั่น 3 ปีแรก แต่ควรเป็นไปตลอดอายุสัญญาสินเชื่อ ดังนี้
- รูปแบบดอกเบี้ย สอดคล้องกับความสามารถของตนเอง
- ระยะเวลาสินเชื่อ เป็นไปตามอายุผู้กู้ ขอยาวๆไว้ก่อน
- รายละเอียดสินเชื่อ เปิดเผยจริงใจ เจรจากันได้
อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ ธนาคารกรุงเทพ ประกาศ วันที่ 16 พ.ย. 2558
- MOR (Minimum Overdraft Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ในประเภทวงเงินเบิกเกินบัญชี (O/D) เพื่อหมุนเวียนธุรกิจ ปัจจุบันมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 7.375%ต่อปี
- MLR (Minimum Loan Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำที่ธนาคารเรียกเก็บลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี เหมาะกับเงินกู้ระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เช่น สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ ปัจจุบันมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 6.5%ต่อปี
- MRR (Minimum Retail Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย เป็นต้น ปัจจุบันมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 7.875%ต่อปี
Case Study 5 : รายได้เท่าเดิม อยากซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่แพงกว่า ควรทำอย่างไร ? การซื้ออาคารพาณิชย์/ตึกแถว เป็นอสังหาริมทรัพย์ยอดนิยมของเหล่า SME ทุกประเภท เช่น ร้านอาหาร สตูดิโอถ่ายภาพ เป็นต้น ภายใต้สมมติฐานความคาดหวังว่ากิจการจะประสบความสำเร็จรุ่งเรืองร่ำรวย จึงตัดสินใจซื้อเป็นทรัพย์สินของตนเอง แต่หากเงินทุนที่เก็บไว้มีจำนวนไม่พียงพอ การยื่นเรื่องขอสินเชื่อจึงมีความสำคัญ ลำพังรายได้ประจำของตนเอง อาจมีความสามารถในการชำระหนี้น้อยเกินไปในการอนุมัติสินเชื่อ การกู้ร่วมกับคนในครอบครัวจึงเป็นทางออกที่หลายคนเลือกทำ แต่หากต้องการอาคารในทำเลที่ดีกว่า ราคาย่อมสูงกว่า แล้วควรทำอย่างไรเพื่อให้การขอสินเชื่อเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ครั้งนี้ประสบความสำเร็จ