CONSTRUCTION TECH พลิกประวัติศาสตร์ก่อสร้างไทย กับก้าวที่ไกลกว่าของโมเดลธุรกิจใหม่คาดไม่ถึง
เจาะกึ๋น ไผท ผดุงถิ่น แห่ง Builk.com ผู้พลิกประวัติศาสตร์ก่อสร้างไทย
ไอดอล B2B App กับก้าวที่ไกลกว่าของโมเดลธุรกิจใหม่คาดไม่ถึง
ดูเหมือนจะมาไกลมากจากจุดเริ่มต้น เมื่อพูดถึง “โบ๊ท” ไผท ผดุงถิ่น” ผู้ก่อตั้ง-ผู้บริหารสูงสุด บริษัท บิลค์ เอเชีย ผู้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ให้กับวงการธุรกิจก่อสร้างออนไลน์ เป็นรายแรกของเอเชีย จากการให้บริการ Builk.com ซอฟท์แวร์คำนวนต้นทุนฟรีสำหรับธุรกิจก่อสร้างและเป็นผู้ก่อตั้งสมาคมเทคสตาร์ทอัพ (Thailand Tech Startup Association) ซึ่งปัจจุบันมานั่งแท่นที่ปรึกษา
ยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ Industrial Tech
ถึงวันนี้“โบ๊ท” ไผท แตกกิ่งก้านสาขาในบินิเนสโมเดลที่เขาบุกเบิก ไปยังธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบ B2B ภายใต้แบรนด์YELLO ร้านวัสดุก่อสร้างออนไลน์, ธุรกิจ Conmat Supplier ในชื่อ JUBILI ระบบบริหารงานขายและความสัมพันธ์ลูกค้าสำหรับร้านวัสดุก่อสร้าง ซึ่งโด่งดังจากไวรัลแอดจากเพจดัง “เจ๊จู” รวมถึงขยายบทบาทตัวเองมารั้งตำแหน่ง Startup In Residence ให้กับค่ายอสังหาฯ หัวสมัยใหม่อย่าง บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ไปจนถึงกระโดดเข้ามาช่วยยกระดับวงการอสังหาริมทรัพย์ในการพัฒนาแอพฯ ช่วยขายและอำนวยความสะดวกในการอยู่อาศัยของลูกบ้าน (Sale&CRM App) จากแอพชื่อน่ารักว่า ‘พลอย’ และ ‘ขวัญใจ’
“วงการก่อสร้างพูดกันเยอะว่านี่เป็นยุค Industrial Tech เมื่อก่อนอาจพูดเรื่อง IOT (Internet of Thing) แต่วันนี้พูดเรื่อง IIOT (Industrial Internet of Thing) เพราะวันนี้ปั้มน้ำที่ตึกไม่ต้องเอาคนไปเดินตรวจแล้วแต่ทำอย่างไรให้เกิดการส่งค่าเรียลไทม์มาได้เลย รถตักดินแทบขับเองได้แล้ว เพราะที่อเมริกาคนไม่อยากทำ งานก่อสร้าง แล้วอยากทำงานในที่ๆ มีคุณภาพชีวิตที่ดีไซต์งานก่อสร้างจึงต้องพึ่งเครื่องไม้เครื่องมือมาทดแทนแรงงาน” โบ๊ทเล่าให้เห็นถึงสถานการณ์จริงที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในวงการก่อสร้าง
ความสำเร็จจากการแตก ‘ดอก’ ออก ‘ผล’ ของผลิตภัณฑ์และบิสิเนสโมเดล ภายใต้ไอเดียของผู้ชายคนนี้ ไม่ได้เกิดจากความโชคดีหรือถูกหวย แต่แลกมาด้วยประสบการณ์สุดบ้าบิ่น จากก้าวแรกของการกระโดดออกมาเป็นผู้รับเหมาในวัย 23 ก่อนพลิกผันมาเป็นผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ระบบ ERP สำหรับธุรกิจก่อสร้าง ล้มลุกคลุกคลานอยู่หลายยก กว่าจะลงตัวอย่างที่เป็น
แม้จะมีหลายหน้าร้านมากมายเช่นนี้ แต่ถ้าพูดภาษาสตาร์ทอัพ ทั้งหมดนี้คือ Ecosystem ที่อยู่บนพื้นฐานของธุรกิจดั้งเดิมที่โบ๊ทคุ้นเคยและเชี่ยวชาญมากที่สุด นั่นคือธุรกิจก่อสร้าง
สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยวงการก่อสร้าง ขอเกริ่นให้เห็นภาพสักเล็กน้อย ถึงจุดสตาร์ทของ Builk ก่อนว่า มันคืออะไร? และมันสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างไรในแวดวงก่อสร้าง
“เราเคยเก็บข้อมูลมาว่า ในหนึ่งโครงการก่อสร้างผู้รับเหมาต้องติดต่อบุคคลและหน่วยงานภายนอก อย่างน้อย 40 ราย ตั้งแต่เจ้าของ ผู้จัดการ วิศวกร ฝ่ายออกแบบระบบโครงสร้าง ผู้ออกแบบไฟฟ้า ออกแบบสุขาภิบาลผู้รับเหมาช่วงซัพพลายเออร์ นี่คือความเสี่ยงของธุรกิจนี้ เพราะเรากำลังยืมจมูกคนหายใจถึง 40 จมูกเลย นั่นทำให้โครงการก่อสร้างส่วนใหญ่มักดีเลย์ไม่ค่อยเสร็จตามกำหนดก่อนและทำให้แทบทุกโปรเจคมีต้นทุนบานปลายเกินมาประมาณ 20% นี่คือปัญหาที่คนในวงการก่อสร้างเจอกันอยู่จนชาชิน”
“ความเสี่ยงก็เป็นเรื่องที่ทุกคนในวงการก่อสร้างต้องเจอ เจ้าของโครงการก็มีความเสี่ยงก็จะส่งผลต่อผู้รับเหมาต่อซัพพลายเออร์ทุกขั้นตอนถ้าจ่ายเงินช้าหรือเบี้ยว จึงเกิดการบวกราคาเพิ่ม Credit Term บวกเผื่อไว้ก่อนประมาณ 1.5% ต่อเดือน เมื่อทุกอย่างในซัพพลายเชนถูกบวกเผื่อป้องกันความเสี่ยง การสร้างอสังหาริมทรัพย์จึงมีไขมัน เต็มไปด้วยความไร้ประสิทธิภาพ สิ่งที่เราทำคือหาวิธีสร้างสรรค์หรือเทคโนโลยีเข้ามาแก้
การสร้าง Collaboration เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เราเข้าไปช่วยเพื่อลดความไร้ประสิทธิภาพตรงนี้” ผู้ก่อตั้ง Builk ฉายให้เห็นภาพปัญหาของอุตสาหกรรมนี้ อย่างผู้รู้จริงจากประสบการณ์ตรง
Builk คือการต่อยอดมาจากซอฟท์แวร์ระบบ ERP ที่โบ๊ทเริ่มต้นเมื่อปี 2548 ซึ่งในช่วงแรกธุรกิจที่มีกำลังซื้อ ระบบ ERP จากโบ๊ทมักเป็นธุรกิจก่อสร้างขนาดใหญ่ ซึ่งในความเป็นจริงกิจการก่อสร้างไม่ว่าจะไซส์ไหนควรมีการจัดการหลังบ้านที่ดี โบ๊ทจึงหันมาพัฒนาระบบ ERP ให้มาตอบโจทย์ที่ตลาดใหญ่ขึ้น (Mass Market) หันมาเจาะผู้รับเหมาก่อสร้างระดับ SMEs นำมาสู่การบุกเบิก Builk ซึ่งเป็นระบบควบคุมต้นทุน ที่ใช้งานฟรีพร้อมระบบ
“THE CONSTRUCTION INDUSTRY IS AMONG THE LEAST DIGITIZED.”
-McKINSEY&COMPANY
จากจุดนั้นทำให้โบ๊ทได้เปิดโลกใหม่ เจอกับนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญมาโค้ชธุรกิจให้มากมาย สร้างบันไดสู่การได้รับเชิญไปเข้าร่วมโครงการ 500 Startup Accelerator ที่ซิลิคอน วัลเลย์กับบริษัท Tech Startup ชั้นนำนานถึง 4 เดือน ถือเป็นก้าวกระโดดครั้งใหญ่ที่สร้างการเติบโตให้ Builk
“ในวงการสตาร์ทอัพมีศาสตร์หนึ่งคือ Growth hacking ทำอย่างไรให้มันเติบโตได้เยอะๆ ผมลองทำตามแบบนั้นเท่าไหร่ก็ไม่เห็นได้ สาดโฆษณาเดือนละแสนกว่าบาทเพื่อหาลูกค้า ก็เงียบมาก เพราะเราเป็นบิสิเนสแอพฯ ซึ่งเมืองไทยไม่มีตัวอย่างของแอพแบบ B2B จนผมได้พบกับผู้ก่อตั้ง Trulia เป็น Real Estate Platform ใหญ่ลำดับต้นๆ ของอเมริกา เขาสอนผมว่าไม่มี Growth Hacking หรอกถ้าเป็น B2B สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ Hand Shaking กับ Networking วันที่ Trulia ยังไม่เติบโต ผู้ก่อตั้งคนนี้มีหน้าที่เดินทางไปหาสมาคมอสังหาฯ ทุกเมืองบินเช้าจบเย็นทำอย่างเดียว เพื่อสร้างเน็ตเวิร์คให้แข็งแรง”
“ผมก็เชื่อแบบนั้น ผมกลับมาปี2557 สิ่งที่ผมทำเปลี่ยนไปจาก 4 ปีก่อนมาก ผมทำ offline activity หนักมาก ทำตัวเหมือนบริษัทอีเว้นท์ เดินสายทั่วประเทศคุยกับเจ้าของกิจการก่อสร้าง อสังหาฯ เปิดคอร์สอบรมการใช้ Builk คือผมต้องพิสูจน์ตัวเองกับบริษัทอีเว้นท์ให้ได้และใช้พลังของพาร์ทเนอร์ที่เป็น Corporate พาเราโตผมเริ่มดีลกับแบงค์บอกว่าข้อมูลที่ผมสั่งสมมา น่าจะลูกค้าแบงก์ทำธุรกิจได้เป็นระบบมากขึ้น และทำให้แบงก์ปล่อยกู้ให้ธุรกิจก่อสร้างได้ง่ายขึ้น พอแบงค์สนับสนุนแนวคิดนี้ด้วยกับเราเต็มที่ เขาบอกว่าจะลดดอกเบี้ยให้ 1% สำหรับสมาชิก Builk ปีนั้นผมโตขึ้นมา 4-5 เท่าเลย” แสดงประวัติผลงานและพื้นที่สินค้าและบริการของบริษัทก่อสร้างบนเว็บให้ลูกค้าได้ชม มีระบบวัสดุก่อสร้างลิงค์กับร้านค้าวัสดุก่อสร้างสามารถขอราคาและสเปค ส่งข้อมูลกันผ่านเว็บได้เลย ตลอดจนมีระบบบริหารต้นทุนโครงการ ตั้งงบประมาณ จัดซื้อ บริหารกำไรขาดทุน และจัดการกระแสเงินสด สามารถอัพเดทและแชร์ข้อมูลให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องได้ตลอดเวลา รวมถึงคัดเลือกผู้รับเหมาที่ดี ส่งงานให้สมาชิกอย่างต่อเนื่อง ด้วยระบบที่ครอบคลุมของคนทำธุรกิจก่อสร้าง การทำ งานของ Builk จึงก่อเกิดชุมชนคนก่อสร้าง
ถอดรหัสความเป็น B2B App
กว่าจะมาถึงจุดที่ Builk มีสมาชิกเป็นบริษัทก่อสร้างมากกว่า 18,000 รายทั่วประเทศ มีผู้ใช้งานมากกว่า 40,000 ราย ลดต้นทุนให้กับเหล่ากิจการก่อสร้างช่วยบริหารโครงการก่อสร้างหลายหมื่นล้านบาทต่อปีและได้รับความสนใจเป็นกรณีศึกษาจาก TDRI (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย) ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย อาศัยการลองผิดลองถูกอยู่หลายปี
2 ปีแรกของการก่อตั้ง Builk ต้องบอกเลยว่าไม่มีรายได้ ถึงแม้จะเปิดให้ใช้งานฟรีแต่ก็ไม่มีคนใช้งาน เขาแก้ปัญหาด้วยการจัดอบรมการใช้งานอย่างต่อเนื่อง จนเริ่มมีโฆษณาจากองค์กรและธุรกิจเข้ามาบ้าง แต่จนเริ่มมีโฆษณาจากองค์กรและธุรกิจเข้ามาบ้าง แต่ก็ยังไม่ใช่รายได้ที่ยั่งยืน ในที่สุดมาถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญเมื่อ “โบ๊ท” กลับไปแก้มือ จากครั้งที่เคยขยายธุรกิจไปเวียดนามแล้วเจ๊งมาก่อน แต่ในปี 2555 เขากลับเข้าไปสำรวจตลาดเพื่อหวังขยายฐานผู้ใช้งาน Builk ก็ไปพบกับงานประกวดแผนธุรกิจงานหนึ่ง เกี่ยวกับธุรกิจ Start Upและการพบปะนักลงทุน Venture Capital แม้“โบ๊ท” จะจบวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งคุ้นเคยกับงานสายประกวดธุรกิจ แต่กลับแทบไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับคำว่า Start Up แต่ก็โดดไปสมัครแข่งกับเขาด้วย ปรากฏว่าได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนจากประเทศเวียดนาม ไปพรีเซ็นต์รอบสุดท้ายที่งาน Echelon การประกวด Tech Start Up ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย จัดที่ประเทศสิงคโปร์ Builk ได้รับรางวัลชนะเลิศในปี 2555 เนื่องจากในตอนนั้นไม่เคยมีใครทำโปรแกรมฟรีในวงการก่อสร้างมาก่อน
แตกไอเดีย อัพเกรดบิสิเนสโมเดล
เช่นเดียวกับรูปแบบสตาร์ทอัพอื่นๆ ซึ่งมักไม่รู้ว่าบิสิเนสโมเดลของตัวเองจะไปจบที่ตรงไหน เพราะแท้จริงแล้วมันอาจไม่มีจุดสิ้นสุด เพราะเมื่อทุกกระบวนการทำ งานของสมาชิก Builk ต้องดำเนินการผ่านหน้าเว็บ การจำแนกข้อมูลทุกอย่างจึงเป็น Digital Data ทุกแพลตฟอร์มสิ่งที่ Builk วิเคราะห์ออกมาได้จึงสามารถลงลึกได้ทุกสัดส่วนของวงการก่อสร้าง ตั้งแต่การคาดการณ์แนวโน้มความต้องการของเหล็กในอีก 6 เดือนข้างหน้า ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับ Modern Trade ที่จะสามารถกักตุนหรือผลิตสินค้าเพิ่มหรือสามารถวิเคราะห์ได้ว่า Modern Trade แบรนด์ไหนขายดีในเวลานี้, ภาคไหนของประเทศธุรกิจก่อสร้างกำลังเติบโต เป็นต้น เรียกว่าเป็นคลังข้อมูลเชิงลึกจากการเคลื่อนไหวจริงในวงการก่อสร้าง
นั่นจึงนำไปสู่แพลตฟอร์มใหม่ของ “โบ๊ท” ที่ไม่ใช่แค่การขาย “Analyzed Data” แต่ก้าวข้ามไปยังธุรกิจอีคอมเมิร์ซภายใต้แบรนด์ YELLO วัสดุก่อสร้างออนไลน์และ ธุรกิจ Conmat Supplier ในชื่อ JUBILI ที่แจ้งเกิดจากการออกไวรัลเรื่อง “เจ้จูวัสดุก่อสร้าง” (ชื่อเชิงสัญลักษณ์ในการเรียกร้านจำ หน่ายวัสดุก่อสร้างรายย่อย) “พอผมเริ่มวิเคราะห์ข้อมูลได้ก็มีรายได้เยอะขึ้น แต่ปัจจุบันนี้รายได้ 95% ของเรามาจากอีคอมเมิร์ซมากกว่าเพราะระบบสามารถวิเคราะห์ดีมานด์ซัพพลาย เช่น ผมรู้ว่ามีความต้องการเหล็กสำ หรับโครงการของสมาชิก Builk ผมก็ไปขอเหล็กมาจากโรงงานมาขายในราคาพิเศษ โดยผมบวกกำ ไรเพียงเล็กน้อย แต่จะให้สิทธิพิเศษหรือส่วนลดกับสมาชิก Builk การที่เรารวมยอดสั่งซื้อจากสมาชิกที่มีกว่าหมื่นรายให้กับโรงงาน รวมกับยอดสั่งซื้อจากร้านค้า เมื่อจำนวนสั่งซื้อมาก จึงเกิด Economy of Scale เราจะได้สินค้าราคาถูกลง โรงงานก็จะเป็นผู้จัดส่งให้ ทำ ให้ลูกค้าประหยัดเรื่องโลจิสติกส์”
แม้ทุกอย่างจะลงตัว แต่โบ๊ทก็ยอมรับว่ายังข้อจำกัด เพราะท้ายสุดไม่สามารถขายได้ทุกออเดอร์ หนึ่งในอุปสรรคนั้น เพราะ YELLO และ JUBILI ไม่สามารถจัดส่งเองได้ ทางออกที่ดีทางหนึ่งคือการหาคู่ค้าในการช่วยระบายสินค้าและเป็นจุดพักสินค้า จึงเกิดเป็นไอเดียในการทำ ไวรัลเรื่อง “เจ้จูวัสดุก่อสร้าง” เพื่อหาร้านวัสดุก่อสร้างรายย่อยเป็นที่ระบายสินค้าของเรา พูดง่ายๆ เจ้จูก็เหมือนเป็น Airbnb เวอร์ชั่นร้านวัสดุก่อสร้าง
ปณิธานในการยกระดับวงการก่อสร้าง
“ตอนเปิดตัวแคมเปญ “เจ้จูวัสดุก่อสร้าง” มันดังมากมีร้านวัสดุก่อสร้างทั้งเจ้ ทั้งเฮียติดต่อหาเราเพียบบอกว่าอยากขายของออนไลน์ทำอย่างไรดี ลองทำมาแล้วขายไม่ได้ เราจึงมองว่าเราไปช่วยเจ้ให้พอแข่งขันกับ Modern Trade ผมมองเป็นทางรอดของเราและเจ้ ผมไม่ได้เป็นเจ้าของร้านวัสดุก่อสร้างนะ แต่ผมมองเจ้เหมือนเป็น Airbnb เพราะร้านวัสดุก่อสร้างสเกลนี้มีโกดัง มีรถหกล้อรถสิบล้อที่ไม่ได้ถูกใช้งานเต็ม เราแค่ไปทำให้ทรัพยากรเหล่านี้เกิดประโยชน์ ช่วยเราส่งของ มันช่วยให้ยอดโตได้จาก 100 ล้าน เป็น 500 ล้าน”
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่เพียงสร้างยอดให้กับทุกฝ่าย แต่ความตั้งใจของโบ๊ทมองไปไกลยิ่งกว่าว่า อยากเป็นผู้สร้างความง่ายขึ้น (facilitate) ให้วงการนี้จากกลยุทธ์เพิ่มประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงด้วยการใช้ Data Analysis เพราะด้วยข้อมูลที่ Builk มี สามารถวิเคราะห์ได้ว่าผู้รับเหมาคนนี้มีความน่าเชื่อถือแค่ไหน ทำให้เจ้จูทั้งหลายไม่ต้องเสี่ยง
“Credit Scoring คือระบบที่เราพัฒนาขึ้นมาเหมือนเป็นบูโรมีชีวิตเราเก็บข้อมูลนี้มา 7 ปีแล้ว จัดอันดับ (ranking) ผู้รับเหมาที่มีกว่า 18,000 ราย ทุกคนมีอันดับหมด ดังนั้นจะหาผู้รับเหมาทำ บ้านสไตล์ลอฟท์ที่เชียงใหม่ ผมบอกได้เลยใครคือท็อป 3 เกรดเอ เจ้าของบ้านก็ไม่ต้องเสี่ยง เวลาผู้รับเหมาไปซื้อของก็ไปซื้อร้านวัสดุก่อสร้างหรือเจ้จูทั้งหลายที่เป็นสมาชิกของเราที่เชียงใหม่ต่อ ผมเชื่อว่าสิ่งนี้จะทำ ให้อุตสาหกรรมนี้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้” ความคิดแบบก้าวกระโดดนี้โบ๊ทจึงพาธุรกิจของเขาไปบุกถึงตลาดอินโดนีเซีย, ลาว และพม่า โดยเฉพาะที่พม่า Builk ได้โอกาสไปตั้งออฟฟิศอยู่นั้น ในชื่อ Builk Myanmar Construction Academy ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีมาก เนื่องจากพม่ากำลังตื่นตัวในการหาองค์ความรู้ใหม่เพื่อเติมเต็มอุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศ
ความท้าทายใหม่บนถนนสายอสังหาฯ
ชั่วโมงบินที่แกร่งขึ้นของผู้ชายคนนี้สะท้อนออกมาให้เห็นแล้วผ่านรูปแบบธุรกิจที่เขาบุกเบิกนำไปสู่การพลิกโฉมหน้าของวงการก่อสร้างไทย จึงไม่แปลกใจที่ได้รับการทาบทามจากค่ายอสังหาฯ ผู้นำเทรนด์การใช้โซลูชั่นใหม่ๆ อย่างค่าย อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์มารั้งตำแหน่ง Startup In Residence ถือเป็นการกระโดดข้ามสายงานจากก่อสร้างมายังอสังหาริมทรัพย์ ที่ไม่เพียงสร้างความท้าทายใหม่ แต่ยังเป็นการเปิดมุมมองใหม่และเพิ่มเชื้อไฟแห่งการเรียนรู้ให้กับโบ๊ทยิ่งขึ้น
สไตล์การทำงานที่ไม่หยุดนิ่งของ Builk ถึงไม่ใช่หมอดูก็ทำนายได้ว่าโบ๊ทคงไม่หยุดตัวเองแค่ตรงนี้ เพราะเขาไม่ได้มองตัวเองเป็นแค่แอพฯ บนสายงานก่อสร้างหรือ Real Estate Tech หากแต่ยังมีอีกหลายเทรนด์เทคโนโลยีที่จะก้าวเข้ามาเปลี่ยนแปลงจุดที่เรากำลังยืนอยู่ให้ดียิ่งขึ้นในแบบที่ไม่อาจคาดเดาได้ อนาคตของ Builk จึงยังมีเส้นทางให้เลือกเดินอีกมากชนิดที่ต้องจับตามอง
ขอบคุณข้อมูลจาก: HINT MAGAZINE