ไจก้า พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ เซ็นต์ MOU ร่วม เวสท์บายฯ ทำโครงการศึกษาปัญหาและการบริหารจัดการขยะ ผนึกความร่วมมือของ 2 ประเทศ
ปี 2562 บ่อขยะทั่วประเทศมี 2,666 แห่ง กำจัดไม่ถูกต้องถึง 85% ขยะตกค้างสะสม 10 ล้านตัน เกินงบที่จัดเก็บ 17,000 ล้านบาท
ณ โรงแรมวานาลีส แอร์พอร์ต ความร่วมมือของ 2 ประเทศ ไจก้า องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น ได้จัดให้มีพิธีเซ็นต์ MOU บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการแบบสำรวจทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการขยะ และ มลพิษจากพลาสติกในประเทศไทย ร่วมกับ และ บริษัท เวสท์บาย เดลิเวอรี่ จำกัด บริษัทขั้นนำด้านการจัดการ.ขยะต้นทางเพื่อรีไซเคิล ผู้พลิกโฉมวงการ การกำจัดขยะ ด้วยนวัตกรรมใหม่ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ขยะสะดวกขาย”
โครงการนี้นำทีมโดย ท่าน ศาสตราจารย์ อัตสึฮิโกะ อิโซเบะ นักวิจัยหลักโดรงการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษามลพิษพลาสติกทางทะเล ในทะเลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพลาสติกในมหาสมุทร สถาบันวิจัยด้านกลศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัย คิวชู และ ศาสตราจารย์ โซ ซาซากิ ผู้เชี่ยวชาญของไจก้า
ศาสตราจารย์ อัตสึฮิโกะ อิโซเบะ นักวิจัยหลักโดรงการฯ เปิดเผยว่า จากรายได้ประชาชาติต่อหัวที่ 7,260 ดอลลาร์ในปี 2562 ประเทศไทยได้ก้าวขึ้นมาอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางถึงสูง แม้จะผ่านพ้นปัญหาโควิด 19 แต่ยังมีปัญหาอีกมากมายที่ต้องแก้ไขเพื่อให้เกิดการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ไจก้า หรือ องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency-JICA) ได้ให้ความสำคัญปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ได้จัดสรรงบประ มาณ พร้อม ยกทีมนักวิจัยระดับศาสตราจารย์ และ ทีมผู้เชี่ยวชาญเ จัดทำโครงการศึกษาสำรวจการบริหารจัดการขยะและมลพิษจากพลาสติกในประเทศไทย โดยในแต่ละปีจะมีผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นมาปฏิบัติงานในไทยร่วม 200 คน
ไจก้า พร้อมจัดสรรงบพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยี-องค์ความรู้ ผ่าน โครงการ SATREPS บริหารจัดการขยะ สู่ ไทย เฟสแรก เน้นกทม-ปริมณฑล และ ริมคลอง
โดย ไจก้า ถือเป็นโอกาสดีในความร่วมมือกับบริษัท เวสท์บาย เดลิเวอรี่ ซึ่งถือเป็นบริษัทขั้นนำด้านการจัดการ.ขยะต้นทางเพื่อรีไซเคิล ในประเทศไทย เป็นการผนึกจุดแข็ง สนับสนุนแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ซึ่ง ไจก้า นอกเหนือจากการจัดสรรด้านงบประมาณเพื่อการนี้แล้ว ยังพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ สู่ ประเทศไทย เพื่อให้การจัดทำโครงการสำรวจการบริหารจัดการขยะ บรรลุเป้าหมายและสามารถใช้ประโยขน์ได้สูงสุด ทั้งนี้ เพื่อการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งกับประเทศไทยเอง และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในเฟสแรก จะเน้นพืนที่เขตกรุงเทพ-ปริมณฑล และ ริมคลอง เป็นหลัก
เวสท์บาย เดลิเวอรี่ พร้อมสนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที่เป้าหมาย และ นวัตกรรม แอพพลิเคชั่น เวสท์บาย เดลิเวอรี่ เป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการแยกขยะ อย่างได้ผล
ทางด้าน เวสท์บาย เดลิเวอรี่ ดร. อิทธิกร ศรีจันบาล ประธานกรรมบริหาร เปิดเผยว่า “จากสถิติขยะในปี 2562 บ่อขยะทั่วประเทศมี 2,666 แห่ง กำจัดไม่ถูกต้องถึง 85% ขยะตกค้างสะสม 10 ล้านตัน เกินงบที่จัดเก็บ 17,000 ล้านบาท ทังนี้ ปริมาณขยะมูลฝอย ณ ปี 2565 โดยรวมมีจำนวน 2,570 ล้านตัน สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ประมาณ 880 ล้านตัน มีการกำจัดถูกต้อง 980 ล้านตัน และ กำจัดไม่ถูกต้องถึง 730 ล้านตัน
ดร. อิทธิกร เปิดเผยเพิ่มเติมว่า “เวสท์บายฯ ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหหนึ่งของโครงการ SATREPS และความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมือระหว่าง 2 ประเทศ โดย เวสท์บายฯ มีความพร้อมสนับสนุนทั้งด้านการดำเนินโครงการในพื้นที่เป้าหมาย การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่าน แอปพลิเคชั่น ของเวสท์บายฯ ซึ่งได้รับการออกแบบเพื่อทำให้การแยกขยะเป็นเรื่องง่าย สะดวก และมีประสิทธิภาพ โดยมีสถิติสะสมปริมาณขยะที่ขาย พร้อม ปริมาณก๊าซคาร์บอนที่สามารถลดได้ ยิ่งกว่านี้ ยังทำการเปรียบเทียบจำนวนก๊าซคาร์บอนที่ลดเทียบเท่าจำนวนต้นไม้ที่ปลูก ซึ่งได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะของประชากร ได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ โครงการ SATREPS ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาระดับโลก ความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยน แปลง ด้านการ ศึกษา-วิจัย-และ ทดลอง เพื่อเข้าใจพฤติกรรมการแยกขยะ และ สร้างแนวทางการจัดการที่ยั่งยืน โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร นับเป็นพื้นที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความท้าทายของการจัดการขยะในชุมชนที่มีความหนาแน่นสูง และ ขยะพลาสติกจำนวนมากที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม มักจะสิ้นสุดลงในแม่น้ำ ลำคลอง และ สุดท้ายในทะเล นับเป็นก้าวสำคัญของการเดินทางสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในสังคม เป็นโอกาสที่เราจะได้เข้าใจปัญหาที่แท้จริง และ พัฒนากลยุทธ์ที่สามารถสร้างผลกระทบในเชิงบวก ทั้งในระดับพื้นที่และระดับนโยบาย เพื่อประโยชน์ของสังคมและประเทศชาติ ต่อไป ดร. อิทธิกร กล่าวปิดท้าย