เทรนด์สร้างตึกสูงที่สุดในไทย - สู่ Top Ranking โลก
ในปี 2557 ถือเป็นปีทองของการเปิดตัวโครงการใหม่ของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะตึกสูงระฟ้า "เดอะ ซุเปอร์ ทาวเวอร์" ที่นักพัฒนาอสังหาฯ กำลังหมุนไปตามเทรนด์โลกและอาเซียน ที่กำลังพัฒนาตึกสูงเช่นกัน
ต้นเดือนตุลาคม 2557 มีม้ามืด เปิดตัวโครงการอสังหาริมทรัพย์อภิมหาโปรเจคขึ้น ในชื่อ เดอะ แกรนด์ พระราม 9 ซึ่งเป็นโครงการ "พัฒนาพื้นที่พาณิชยกรรมแบบประสมในกรุงเทพมหานคร" พื้นที่รวม 73 ไร่ ใกล้แยกพระราม 9 โดย บริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด (มหาชน) ของตระกูล บุญดีเจริญ มูลค่าโครงการรวมกว่า 1 แสนล้านบาท
โครงการนี้ประกอบไปด้วย อาคารสำนักงาน , ศูนย์การค้า และอาคารใช้สอยอื่นๆ และหนึ่งในโครงการนี้ มีโครงการที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้คนไทยมากที่สุด คือ ตึก เดอะ ซุปเปอร์ ทาวเวอร์ ตึกนี้
เดอะ ซุปเปอร์ ทาวเวอร์ จะกลายเป็นตึกสูงระฟ้าแห่งใหม่ของไทย เนื่องจากตัวอาคารมีความสูง 625 เมตร พื้นที่ใช้สอย 320,000 ตารางเมตร งบการก่อสร้าง 1 หมื่น 8 พันล้านบาท ภายในมีทั้งศูนย์ประชุม อาคารสำนักงาน พื้นที่ค้าปลีก และโรงแรม หากก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2563 จะกลายเป็นตึกสูงที่สุดในอาเซียน ติดอันดับ 1 ใน 10 อาคาร ที่สูงที่สุดในโลก
นอกจากตึกนี้จะลบสถิติตึก "ใบหยก 2" เพราะเป็นการเอาตึกใบหยก 2 จำนวน 2 ตึกมาต่อกัน แต่ยิ่งไปกว่านั้น ตึก เดอะ ซุปเปอร์ ทาวเวอร์ จะลบสถิติตึก "โครงการมหานคร" โครงการมิกซ์ยูสย่านสาทร ของเพซ ดิเวลลอปเมนท์ ที่เคยประกาศไว้ว่าจะเป็นตึกที่สูงที่สุดในไทยแห่งใหม่ ด้วยความสูง 314 เมตร สร้างแล้วเสร็จในปลายปี 2558 ดังนั้น โครงการมหานคร จะครองตำแหน่งตึกสูงที่สุดในไทยได้ 6 ปี และจะต้องส่งไม้ต่อตึกสูงที่สุดในไทยให้ "เดอะ ซุเปอร์ ทาวเวอร์"
แต่อีกตึกสูงแห่งหนึ่งที่เพิ่งประกาศเปิดตัวโครงการไป คือ แมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟร้อนท์ เรสซิเดนเซส ของเครือซีพี และสยามพิวรรธน์ ความสูง 318 เมตร สูงกว่าโครงการมหานครแบบเฉียดฉิวเพียง 4 เมตรเท่านั้น โดยจะเป็นอาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทยเมื่อสร้างเสร็จ
ความสูงของตึกใบหยก 2 มีความสูง 304 เมตร แต่ถ้านับรวมเสาอากาศด้วย สูง 328 เมตร
ในเวลา 1-2 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการอสังหาฯ ต่างประกาศโครงการขนาดใหญ่ของตัวเองในเวลาไล่เลี่ยกัน ทำให้เรามองเห็นอนาคตของกรุงเทพมหานคร ศูนย์กลางของประเทศไทยใน 4-5 ปีข้างหน้า ในหลายประเด็น
เริ่มตั้งแต่การเกิดขึ้นของเมืองใหม่ โดยรอบตึกสูงขนาดใหญ่ จะถูกรายรอบไปด้วยอาคารสำนักงาน และศูนย์การค้า แหล่งรวมของการใช้ชีวิตของคนเมือง ที่จะมีผู้คนเข้ามาใช้บริการที่ตึกสูงนี้ในหลักแสนคน
เม็ดเงินที่สะพัดภายในอาคารมิกซ์ยูสเหล่านี้ หมายความถึงเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งเม็ดเงินของคนที่ใช้ชีวิตในโครงการ และเม็ดเงินที่มาจากชาวต่างชาติทั้งที่มาเช่าพื้นที่ และใช้จ่าย
การเป็นแลนด์มาร์คใหม่ของไทย หากเอกชนเจ้าของตึกสูง บริหารจัดการร่วมกับภาครัฐ เพื่อเป็นเดสติเนชั่นใหม่ จะสร้างชื่อให้กับสถานที่แห่งใหม่ปรากฏสู่สายตาชาวโลกได้
การแข่งขันกันสร้างตึกสูงในไทย เป็นเรื่องดีต่อเศรษฐกิจ ในแง่ของการกระตุ้นเม็ดเงินในประเทศ แต่หากเรามองรอบตัว อย่างมาเลเซีย ที่กำลังจะสร้างตึก KL 118 Tower ความสูง 610 เมตร และตึก Signature Tower ของอินโดนีเซีย ความสูง 638 เมตร จะแล้วเสร็จในปี 2563 ซึ่งจะแล้วเสร็จพร้อมกับตึกเดอะ ซุเปอร์ ทาวเวอร์ ของไทย อาจเป็นสัญญาณที่บอกนักลงทุนไทยว่า เราจะเติบโตไปพร้อมกับอาเซียน หรือ จะก้าวแซงไปอีกสเตปด้วยการสร้างแลนด์มาร์คแห่งใหม่ขึ้นมาแทน
ขอบคุณข้อมูลจาก : voicetv
สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารอสังหาริมทรัพย์ เพิ่มเติมได้ที่ : www.TerraBKK.com
Facebook : TerraBKK Facebook
Google+ : TerraBKK Google+
Twitter : TerraBKK Twitter
Discussion
Follow breaking news Investment property articles on Facebook, click here.