สืบเนื่องจาก บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือ กับ ตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Housing Finance Agency : JHF) ในปี 2557 เพื่อพัฒนาตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยในประเทศไทย บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) ร่วมด้วยกระทรวงการคลัง และสำนักงานเศษฐกิจการคลัง จึงได้จัดสัมมนา มองเศรษฐกิจญี่ปุ่นผ่านตลาดรอง “Outlook Beyond : Mortgage Banks in Japan Forum 2015” ณ โรงแรมสยามเคมปินสกี้ วันที่ 7 มกราคม 2558 โดยมีนายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรางการคลัง เป็นประธานในพิธีเปิดงาน เริ่มต้นเป็นการบรรยาย  "Mortgage Bank in Japan" ภาพรวมความสำเร็จในการบริหารตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยประเทศญี่ปุ่น โดยมี นาย Shinya Shishido ตำแหน่ง President ของ JHF กล่าวถึงความเป็นมาการก่อตั้ง ,ลักษณะการดำเนินงาน และประกอบการที่ผ่านมาของ JHF พร้อมด้วย นาย Naohiro Ando ผู้ตำแหน่ง President &CEO ของ The Mortgage Corporation of Japan (MCL) พูดถึงภาพรวมโมเดลธุรกิจ การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพที่เน้นความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ
จากนั้นเป็นการบรรยาย "Thailand Economic Outlook 2015 : Prospect of housing Finance" โดย นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง กล่าวถึง ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี2558 คาดการณ์ว่า GDP จะปรับตัวสูงขึ้นที่ 3.5 – 4.5 % จากเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น การท่องเที่ยวไทยจะกลับมา รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของการอุปโภคบริโภคในประเทศ และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ในส่วนของภาคอสังหาริมทรัพย์ จากตัวเลข New Mortgage Loans รวมไตรมาส 3 ปี 2557 อยู่ที่ 4.07 แสนล้านบาท คาดว่าจบปี ตัวเลขจะใกล้เคียงกับปี 2556 ( 5.34 แสนล้านบาท) ทั้งนี้ ต้องจับตามองปัจจัยลบ เช่น ระดับหนี้สินครัวเรือน , แรงงานภาคการก่อสร้าง และความเปราะบางเรื่อง Credit Risk พร้อมทั้งปัจจัยบวก เช่น การลงทุนโครงการพื้ฐาน และ AEC ท้ายสุดเป็นการเสวนาหัวข้อ “Mortgage Company in Thailand : The Better Lives of Thai people” โดย นายวิทยา เหลืองสุขเจริญ บจ. เบเคอร์ แอนด์แม็คเค็นซี่ ,นายธีรวัฒน์ พิพัฒน์ดิฐกุล อุปนายก ฝ่ายกิจกรรมและประชาสัมพันธ์ , นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และนายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ ที่ปรึกษาสมาคมอาคารชุดไทย เป็นการเสวนาถึงการพัฒนาตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยในประเทศไทย เช่น ผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่อยู่อาศัยอัตราดอกเบี้ยคงที่35ปี เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการผ่อนชำระค่างวดบ้านในช่วงดอกเบี้ยผันผวน ,เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งเป็นรูปธรรม , ความเสี่ยงเรื่อง Securitization (แปลงสินทรัพย์เป็นทุน)ของ Mortgage เป็นต้น คาดว่าหากสามารถก่อตั้งได้จริง จะเป็นประโยชน์ต่อภาคประชาชนที่ต้องการกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย และเป็นผลดีต่อภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างแน่นอน ทั้งนี้ทั้งนั้น นี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นการพัฒนาตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยในประเทศไทย ที่ยังคงต้องติดตามความคืบหน้ากันต่อไป สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารอสังหาริมทรัพย์ เพิ่มเติมได้ที่ : www.TerraBKK.com Facebook : TerraBKK Facebook Google+ : TerraBKK Google+ Twitter : TerraBKK Twitter