กรมทางหลวงชนบทเตรียมความพร้อมรองรับไทยเข้าสู่เออีซี จัดสรรงบ 264 ล้านบาท แทรกทุกโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใน 5 ปีข้างหน้า จัดทำป้ายบอกเส้นทาง 2 ภาษา อำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้าน นายดรุณ แสงฉาย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กล่าวถึงภารกิจของกรมทางหลวงชนบทในการพัฒนาเส้นทางถนนสายรองและโครงข่ายถนนทั่วประเทศ เพื่อประโยชน์ด้านการเดินทางและการขนส่งโลจิสติกส์ของประเทศ ว่า กรมทางหลวงชนบทได้มีการจัดทำโครงการเพื่อรองรับการที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ภายในปลายปีนี้ ซึ่งตามนโยบายของรัฐบาลต้องการให้พัฒนาเส้นทางถนน การให้ข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางให้นักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านมีข้อมูลและสามารถตรวจสอบเส้นทางได้อย่างถูกต้อง

นายดรุณ กล่าวว่า ตามแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของกรมทางหลวงชนบทที่จะเริ่มต้นตั้งแต่ปีงบประมาน 2558 – 2559 จนถึงปี 2562 หรือใน 5 ปีข้างหน้า โครงข่ายถนนที่อยู่ในแนวเส้นทางแนวเหนือใต้ หรือ North-South และเส้นแนวตะวันออกและตะวันตก หรือ East-West ซึ่งเส้นทางถนนเหล่านี้จะมีผลสำคัญในการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านในเออีซี โดยโครงข่ายถนนหลักและเส้นทางสายรอง ระยะห่างจากทางสายหลัก 30 กม. จะมีการจัดทำป้าย 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ เหมือนป้ายบอกทางในปัจจุบัน และจะมีภาษาท้องถิ่นของประเทศเพื่อนบ้านประกอบ เช่น เส้นทางถนน ในพื้นที่ภาคใต้ที่มีชายแดนเชื่อมต่อประเทศมาเลเซีย ก็จะมีป้ายบอกทางภาษายาวีและภาษาอังกฤษ ส่วนเส้นทางถนนที่อยู่ใกล้ชายแดนประเทศกัมพูชาก็จะมีมีป้ายบอกทางที่เป็นภาษาเขมรร่วมหับภาษาอังกิด ซึ่งก็จะช่วยให้นักท่องเที่ยวจาก ประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ได้รับความสะดวก และมีข้อมูลการเดินทางที่ชัดเจน ทั้งนี้ งบประมาณที่จะใช้ในการจัดทำป้ายบอกเส้นทางจะมีการจัดสรรงบประมานเพิ่มแทรกอยู่ในโครงการก่อสร้างและซ่อมแซมถนนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย วงเงินเบื้องต้น 264 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นวงเงินลงทุนที่อยู่ในงบประมาน 62,000 ล้านบาท ที่จะมีการดำเนินการ ใน 5 ปีข้างหน้าด้วย นอกจากนี้ ทช.ยังมีแผนการพัฒนาเส้นทางถนน เพื่อประโยชนด้านโลจิสติกส์ การเชื่อมต่อกับพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ถนนทางด้านทิศเหนือของเส้นทางถนนราชพฤกษ์ จังหวัดนนทบุรี เส้นทางถนนเชื่อมต่อกับสนามบินสุวรรณภูมิ ท่าเรือแหลมฉบัง กับนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญจะมีเรื่องของการดำเนินแก้ปัญหาดำเนินการจุดตัดรถไฟกับถนน เริ่มจากจุดตัดสำคัญที่มีปริมาณการจราจรต่อวันมากกว่า 100,000 คัน ซึ่งปัจจุบันมี 24 จุด โดย ทช. จะมีการก่อสร้างทางข้าม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้สัญจร โดยสะพานข้ามทั้ง 24 แห่งนี้ ถือเป็นจุดตัดที่มีส่วนหนึ่งในจุดตัดทั้งหมด 153 แห่ง ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ทช. โดยจะมีการเร่งดำเนินการให้การปรับปรุงจุดตัดรถไฟกับถนนให้เกิดวามปลอดภัยตั้งแต่ปี 2558 – 2559 และในส่วนของสะพานข้ามทั้งหมดให้เสร็จภายในปี 2561.

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักข่าวไทย

สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารอสังหาริมทรัพย์ เพิ่มเติมได้ที่ : www.TerraBKK.com

Facebook : TerraBKK Facebook

Google+ : TerraBKK Google+

Twitter : TerraBKK Twitter