คลังสรุปขาดทุนจำนำข้าวถึง 30 ก.ย. 57 ที่ 7 แสนล้านบาท
คลังสรุปขาดทุนจำนำข้าวถึง 30 ก.ย. 57 ที่ 7 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากครั้งก่อนแค่ 1.8 หมื่นล้านบาท เป็นของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 5.3 แสนล้านบาท
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการจำนำข้าว ประชุมคณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯ ข้าวถึงรอบสิ้นปีงบประมาณ 2557 คือถึงวันที่ 30 กันยายน 2557 พบผลขาดทุน 7 แสนล้านบาทเพิ่มขึ้น 1.8 หมื่นล้านบาท จากการปิดบัญชีครั้งที่แล้วที่ปิดถึง 22 พฤษภาคม 2557 มีผลขาดทุน 6.82 แสนล้านบาท ซึ่งผลขาดทุน 7 แสนล้านบาทนั้น ถ้าแยกเป็นของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 4 โครงการ ขาดทุน 5.36 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากครั้งก่อนที่ขาดทุน 5.18 แสนล้านบาท ส่วนอีก 11 โครงการก่อนหน้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์มี 11 โครงการ ผลขาดทุน 1.63 แสนล้านบาท ใกล้เคียงกับผลขาดทุนครั้งก่อนที่ขาดทุน 1.64 แสนล้านบาท สำหรับการปิดบัญชีครั้งนี้บันทึกตัวเลขสตอกข้าวที่ 17.5 ล้านตัน มีมูลค่าที่เหลือยู่ 2.3 แสนตัน เนื่องจากสามารถขายไปได้แล้ว 1.6 ล้านตัน จากครั้งที่แล้วที่มีสตอกเหลืออยู่ 19 ล้านตัน นายรังสรรค์ กล่าวว่า เตรียมรายงานผลขาดทุนต่อนายกฯรับมนตรีในช่วงสัปดาห์หน้า โดยผลขาดทุนที่ไม่เพิ่มขึ้นมากนี้มาจาก ราคาข้าวที่นำมาคิดบัญชี ณ วันที่ 30 กันยายน 2557 เพิ่มขึ้นจาก 22 พฤษภาคม 2557 ประมาณตันละ 2,000 บาท โดยการปิดบัญชีครั้งนี้ได้มีการนำผลการตรวจสตอกและคุณภาพข้าวของ ชุดของ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมาคำนวณทางบัญชีแล้ว รวมถึงได้มีการตัดต้นทุนตามค่าเสื่อมที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในการปิดบัญชีครั้งนี้ยังมีตัวเลขเกี่ยวกับการระบายข้าวที่ยังไม่ตรงกัน ดังนั้นมอบให้กรมการค้าภาย กรมการค้าภายใน ต่างประเทศ องค์การคลังสินค้า(อคส.) องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรรม(อ.ต.ก.) กลับไปดูตัวเลขมาให้และให้เสนอมายังอนุกรรมการสัปดาห์นี้ ซึ่งเป็นตัวเลขไม่มาก และจะมีผลต่อบัญชีที่ปิดครั้งนี้เพียงเล็กน้อย สำหรับข้าวที่เหลืออยู่ในสตอก 17.5 ล้านตัน ได้มีการแบ่งเกรดข้าวตาม ชุดของ ม.ล.ปนัดดา คือแบ่งเป็นเกรด A B C D และในเกรดที่แบ่งย่อยยังเป็น B1 B2 B3 ทำให้สามารถปิดบัญชีได้ละเอียดขึ้น พบว่า มีข้าวที่ผ่านเกณฑ์หรือคุณภาพ เกรด P-A เพียง 2.9 ล้านตัน ส่วนที่เหลือเป็นข้าวที่คุณภาพต่ำและไม่ตรงชนิด ที่เคยรายงานไว้ นอกจากนี้ ยังมีสตอกข้าวที่ไม่สามารถตรวจนับได้ หรือที่เรียกว่า ข้าวกองล้ม เช่น กระสอบแตกเสียหาย มีจำนวนประมาณ 4.25 แสนตัน ซึ่งในทางบัญชีถือว่า ยังเป็นข้าวที่มีคุณภาพดี ส่วนข้าวที่เสื่อมคุณภาพ(ข้าวเน่า) มีอยู่จำนวนประมาณ 8 แสนตัน และผลการปิดบัญชีครั้งต่อไป จะเป็นการปิดบัญชีรอบปีบัญชี 2558 ส่วนการชำระบัญชีนั้น จะเริ่มได้ต่อเมื่อรัฐบาลสามารถขายข้าวในสตอกได้หมด ซึ่งยังไม่สามารถกำหนดระยะเวลาได้ ส่วนการชำระหนี้เงินกู้โครงการก็ยังคงเดินหน้าต่อไป นายรังสรรค์ กล่าวถึงการการพิจารณาเรียกค่าเสียหายจากโครงการจำนำข้าวตามการมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างพิจารณาร่วมกับหน่วยงานนักกฎหมายว่า ใครคือผู้เสียหายจากกรณีดังกล่าว โดยอาจต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณา เพื่อให้ชัดเจน จากนั้น จึงจะเริ่มกระบวนการเรียกความเสียหาย หากท้ายสุดไม่สามารถเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำผิดได้ ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการฟ้องศาลในคดีแพ่ง โดยผลการปิดบัญชีครั้งนี้จะถูกส่งต่อไปยังคณะกรรมการที่จะตั้งขึ้นมาพิจารณาเรียกคืนค่าเสียหาย ตามมติ ป.ป.ช.ต่อไป ซึ่งจะพิจารณาร่วมกับข้อมูลของป.ป.ช.ต่อไป.หมายเหตุ : ภาพประกอบบทความ บางภาพไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหาแต่อย่างใด Photo credit by : cusri.chula.ac.th
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักข่าวไทย
Discussion
Follow breaking news Investment property articles on Facebook, click here.