คนไทย 3 กลุ่ม “เยาวชน-กลุ่มผู้ใช้แรงงาน-เกษตรกร” ตัวก่อปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เติบโตอย่างรุนแรง เข้าขั้นวิกฤต ชี้หากปล่อยไปถึงขั้นเสี่ยงล้มละลาย เพราะไม่มีเงินจ่ายหนี้ ไม่มีเงินออม ดังนั้นจึงต้องแก้ที่พฤติกรรมการใช้เงิน และนิสัยแบบบริโภคนิยม แจง “กยศ.” ต้องเสริมความรู้การเงินป้องกันเด็กเบี้ยวหนี้ เสนอรัฐยกระดับการแก้ปัญหาเป็น วาระแห่งชาติ พร้อมจับมือเอกชนและชุมชนท้องถิ่น สร้างภูมิคุ้มกันแบบบูรณาการ โดยเฉพาะนโยบายการให้ความรู้เรื่องเงินๆ ทองๆ เดินหน้าส่งเสริมกองทุนเงินออมแบบบังคับให้เป็นรูปธรรมต่อไป

สถาบันคีนันแห่งเอเชีย จับมือ มูลนิธิซิตี้ ศึกษา โครงการวิจัย “คนไทยก้าวไกล ใส่ใจการเงิน” ในรูปแบบเจาะลึกพบ 3 ปัจจัยหลักในการก่อหนี้ครัวเรือน และนำไปสู่วิกฤตการเงิน ประกอบด้วย

http://terrabkk.com/wp-content/uploads/2015/03/558000003096305.jpeg

1.ระดับความรู้ทางการเงิน คือกลุ่มคนเหล่านี้ไม่มีความรู้พื้นฐานทางการเงิน รวมถึงขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการออมเงิน การจัดการความเสี่ยง ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และการลงทุนในรูปแบบต่างๆ 2.ทัศนคติต่อการใช้เงินที่ไม่ถูกต้อง สิ่งเหล่านี้อาจเกิดจากสื่อและลัทธิบริโภคนิยม ส่งผลต่อการตัดสินใจในเรื่องการเงิน ทำให้ขาดความระมัดระวังและการวางแผน 3.การเข้าถึงแหล่งเงินได้ง่าย เพราะนอกเหนือจากบริการสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ยังมีแหล่งเงินอื่นๆ อีก อาทิ สหกรณ์ กองทุนหมู่บ้าน และสินเชื่อบริษัทเอกชนต่างๆ ที่ดึงดูดให้ประชาชนมีพฤติกรรมกู้ยืมเงินด้วยความรู้สึกว่าจ่ายน้อย ด้วยอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ หรือจ่ายคืนเงินต้นต่ำ 3.กลุ่มตัวการก่อหนี้ อย่างไรก็ดี ในการสำรวจกลุ่มประชากรทั่วประเทศในด้านความรู้เรื่องทางการเงิน พบว่ากลุ่มประชากรที่มีระดับความรู้ทางการเงินน้อยในระดับต่ำสุด และมีแนวโน้มเป็นหนี้สูง ซึ่งกำลังเผชิญปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างรุนแรง จนถึงขั้นวิกฤตล้มละลาย จะประกอบด้วย 3 กลุ่มใหญ่ดังนี้

9 พฤติกรรมเพิ่มทักษะการเงิน ที่คนวัยทำงานต้องรู้ !! "ทักษะทางการเงิน" ยังคงเป็นหนึ่งทักษะสำคัญที่หลายคนปล่อยปละละเลย บ้างคิดว่าเป็นเรื่องของคนรวยคนมีสตางค์ คนหาเช้ากินค่ำเป็นมนุษย์เงินเดือนอย่างเราจึงเลือกมองข้ามไป เรื่องราวสำคัญที่ทำให้ฉุกคิดและเริ่มสนใจเรื่องนี้ได้ นั้นคือ " ทัศนคติ " ด้วยวิธีการทำความเข้าใจ เรื่องราวเงินทองจากตัวเราในชีวิตประจำวัน ไม่เน้น "ปริมาณ" ว่าจะต้องตั้งหน้าตั้งตาหามาได้มากน้อยเท่าไหร่ เพียงแต่มองที่ "ประสิทธิภาพ"

กลุ่มแรก คือ เยาวชน ทั้งนักเรียน/นักศึกษา มีจำนวนประมาณ 12 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 40 ของนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา รวมถึงนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ที่มักจะประสบปัญหาทางการเงิน เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจ และด้วยวัฒนธรรมทางสังคมที่ส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคนิยมและการเลียนแบบ โดยเฉพาะการใช้จ่ายประเภทสินค้าฟุ่มเฟือย อาทิ โทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟน และเครื่องสำอางราคาแพง ในบางกลุ่มโดยเฉพาะนิสิตนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งนำเงินกู้ยืมทางการศึกษามาใช้ซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย จนไม่สามารถชำระเงินกู้ยืมดังกล่าวได้

http://terrabkk.com/wp-content/uploads/2015/03/13745903691374590431l.jpg

ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ให้การศึกษาแก่กลุ่มนักเรียนนักศึกษา ได้ดำเนินการพัฒนาความรู้ความสามารถในการให้ความรู้ทางการเงิน แต่ก็ยังไม่มีโครงการการให้ความรู้เรื่องทางการเงินแต่อย่างใด เห็นได้ว่ากองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่ได้สนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักเรียนนักศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 และ ณ ปี 2557 มียอดเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาราวๆ ร้อยละ 70.0 ที่กลายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ซึ่งมีลูกหนี้จำนวนถึง 1.3 ล้านคนที่ยังคงมีหนี้ค้างชาระจำนวนกว่า 125.1 พันล้านบาท

นอกจากนี้การกำหนดโทษที่ไม่รุนแรงสำหรับการไม่ชำระหนี้ นับว่าเป็นประเด็นหลักที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว ซึ่งการบริหารจัดการทางการเงินของกลุ่มเยาวชนกลุ่มนี้ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญ ดังนั้นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อเงินควรเป็นหนึ่งในเรื่องที่มีความสำคัญอันดับแรกๆ เมื่อมีการพัฒนาความรู้เรื่องทาง การเงินในกลุ่มเยาวชน

อย่างไรก็ตาม แนวทางแก้ปัญหาการเบี้ยวหนี้ ล่าสุดที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) นำมาใช้ดำเนินการเพื่อป้องกันการเกิดหนี้สูญ โดยปรับหลักเกณฑ์การกู้ยืม ทั้งผู้กู้ยืมรายเก่าและรายใหม่ ในปีการศึกษา 2558 นี้ ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 เท่านั้น ซึ่งถือเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด เพราะไม่ได้แก้ที่พฤติกรรมการใช้เงินซึ่งเป็นต้นตอที่มาของปัญหาหนี้ครัวเรือนของกลุ่มนักเรียน นักศึกษา

สำหรับการศึกษาครั้งนี้ จึงมีการเสนอแนวทางแก้ไขโดยทางหน่วยงานรัฐที่ปล่อยกู้จะต้องยกระดับความรู้ด้านการเงินให้กับกลุ่มที่ใช้เงินกู้ดังกล่าว

กลุ่มที่สอง คือ แรงงานที่มีรายได้น้อย (นอกภาคเกษตร) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ กลุ่มแรงงานที่มีรายได้น้อยในอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน และกลุ่มแรงงานอิสระที่มีรายได้น้อย โดยกลุ่มแรงงานที่มีรายได้น้อยในอุตสาหกรรมเฉพาะด้านจะได้รับค่าตอบแทนจากการปฏิบัติงานโดยทั่วไปวันละ 8 ชั่วโมง รวมถึงการทำงานล่วงเวลา ซึ่งเป็นส่วนที่มักจะนำมาใช้สนับสนุนระบบค่าตอบแทนแบบลอยตัว และหากมีช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจซบเซา ซึ่งทำให้มีการลดหรือจำกัดการทำงานล่วงเวลาเกิดขึ้น สิ่งที่ทำให้เกิดปัญหา คือ แรงงานเหล่านี้โดยส่วนใหญ่จะไม่สามารถจัดการกับการสูญเสียรายได้ของตนเองได้ ทำให้ประสบปัญหาในการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น และกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการมีภาวะหนี้สิน

ในทางกลับกัน กลุ่มแรงงานอิสระที่มีรายได้น้อยมักจะไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินที่เป็นทางการได้ เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วจะไม่มีข้อมูลบัญชีเงินเดือนที่ต่อเนื่อง เป็นผลทำให้แรงงานเหล่านี้โดยส่วนใหญ่หันไปพึ่งพาผู้ปล่อยเงินกู้นอกระบบในกรณีที่จำเป็นต้องใช้สินเชื่อ โดยบ่อยครั้งก็ไม่มีความเข้าใจว่า การจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบในอัตราที่สูงจะส่งผลกระทบต่อพวกเขาในอนาคตอย่างไรบ้าง

http://terrabkk.com/wp-content/uploads/2015/03/5540000080791031.jpg

กลุ่มที่สาม คือ กลุ่มเกษตรกร แม้จะเป็นกลุ่มที่มีการเข้าถึงด้านการศึกษาที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็ตาม แต่ก็ยังคงตามหลังกลุ่มประชากรที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมอื่นๆ อยู่มากเช่นเดียวกับความสามารถในการเข้าถึงบริการและข้อมูลข่าวสารทางการเงิน อีกทั้งอุปสรรคที่เกษตรกรยังต้องเผชิญปัญหาเฉพาะหน้าหลายอย่าง อาทิ เรื่องราคาผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งเป็นไปตามตลาดโลก โดยเกษตรกรไม่สามารถควบคุมราคาเองได้แต่อย่างใด เกษตรกรโดยส่วนใหญ่จึงเป็นคนยากจน และมีระดับความรู้เรื่องทางการเงินค่อนข้างต่ำ ทำให้กลายเป็นอุปสรรคในการบริหารการเงินของพวกเขา รวมทั้งเกษตรกรส่วนมากยังนิยมการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ซึ่งราคาผลผลิตค่อนข้างผันผวน

ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างที่ว่า มีเพียงร้อยละ 20 ของเกษตรกรทั่วประเทศเท่านั้นที่ปลูกพืชมากกว่าหนึ่งชนิด หรือในอีกแง่หนึ่งคือการทำการเกษตรแบบผสมผสาน

9 แนวคิดที่แตกต่างระหว่าง "คนมั่งมี" กับ "คนไม่มี" ทำอย่างไรเราถึงจะ “รวย” คำถามนี้คงเป็นคำถามของใครหลายๆคนที่อยากประสบความสำเร็จในชีวิต สิ่งที่ TerraBKK ขอแนะนำเพื่อปรับตัวตอนรับความรวยที่กำลังจะเข้ามาคือ “ความคิด” บางครั้ง “ความรวย=มั่งมี” กับ “ความจน=ไม่มี” แตกต่างกันเพียงแค่ความคิด ความคิดเป็นตัวกำหนดการกระทำ โดยการกระทำก็จะสะท้อนออกมาเป็นผลลัพธ์ ถ้าเราคิดในแบบที่คนรวยคิดกันเราก็มีโอกาสที่ ชีวิตดีและมีฐานะดีขึ้น แต่ถ้าวันๆเราคิดไม่ดี คิดในแง่ลบ

ดังนั้นแม้ว่าประชากรทั้ง 3 กลุ่มดังกล่าวจะมีคะแนนความรู้เรื่องการเงินอยู่ในระดับต่ำที่สุดเหมือนกัน แต่กลับพบว่าสาเหตุการก่อหนี้ของคนแต่ละกลุ่มนั้นมีลักษณะที่ต่างกัน ส่วนปัญหาที่เหมือนกันจะเป็นในเรื่องของการขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการเงิน และที่น่าสนใจคือ ปัญหาการเข้าถึงสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งทำให้เกิดการกู้ยืมเงินนอกระบบ และขาดความสามารถในการชำระคืน เนื่องจากไม่เข้าใจถึงระบบการคิดอัตราดอกเบี้ย

หนี้ครัวเรือนพุ่งปรี๊ดเพราะเป็นเหยื่อทุนนิยม

ด้าน นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานสถาบันคีนันแห่งเอเชีย ระบุว่า ทั้ง 3 กลุ่มที่ก่อหนี้ครัวเรือนนั้นถือเป็นฐานประชากรหลักของประเทศ โดยจำนวนของประชากรกลุ่มนักเรียนคิดเป็นร้อยละ 18 และกลุ่มแรงงานรายได้น้อย คิดเป็นร้อยละ 24 และกลุ่มเกษตรกรคิดเป็นร้อยละ 38% ของสัดส่วนประชากรทั้งหมด ซึ่งหายปล่อยปละละเลยให้สถานการณ์ด้านการเงินของคน 3 กลุ่มเป็นอย่างนี้ต่อไป เชื่อว่าในอนาคตจะนำไปสู่สถานการณ์ที่ประเทศไทยจะมีอัตราหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง โดยเห็นได้จากอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 15 มาตั้งแต่ปี 2553 ปริมาณหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นและอัตราการออมที่ลดต่ำลง ประมาณร้อยละ 20.2 ต่อปีในช่วงปี 2545-2550 เหลือเพียงร้อยละ 4.6 ต่อปี ในช่วงปี 2551-2553 โดยจากข้อมูลล่าสุดของปี 2555 อัตราการออมเติบโตเพียงร้อยละ 1.2 ต่อปีเท่านั้น

นับว่าหนี้ครัวเรือนไทยในปัจจุบัน มีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา มีการเติบโตเป็น 2 เท่า โดยพบว่าหนี้ครัวเรือนวันนี้อยู่ที่ร้อยละ 85 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งอีก 2-3 ปีมีแนวโน้มที่จะขึ้นเป็นร้อยละ 87 และในอนาคตอีกไม่กี่ปีจะทะลุเพิ่มเป็น100% ต่อจีดีพี ขณะเดียวกันภาวะหนี้ครัวเรือนไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายด้านสินเชื่อของสถาบันการเงินต่างๆ รวมถึงพฤติกรรมการบริโภคสินค้าอุปโภคบริโภคที่ได้รับอิทธิพลจากสิ่งเร้า ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมเป็นไปอย่างรวดเร็ว ขณะที่ความรู้ด้านการเงินของคนไทยพัฒนาได้ไม่เท่าทัน ทำให้ประชาชนบางส่วนตกเป็นเหยื่อของโลกทุนนิยม

สำหรับตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่โตแบบก้าวกระโดดนั้นเป็นเพียงตัวเลขของหนี้ครัวเรือนในระบบ ซึ่งยังไม่รวมถึงหนี้นอกระบบ ที่ไม่มีตัวเลขเป็นทางการ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนสามารถจัดการได้หากประชาชนมีทักษะความรู้ทางการเงินที่ดีพอ และสิ่งนี้จะส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในปัจจุบันได้ โดยหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันรณรงค์และผลักดันความรู้ทางการเงิน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนที่หลายๆ ครัวเรือนกำลังเผชิญอยู่ รวมทั้งการสร้างการตระหนักรู้ในความสำคัญเรื่องการเงินต่อสาธารณชน โดยภาครัฐและเอกชน ควรจะมีการร่วมมือกันวางยุทธศาสตร์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ผลักดันแนวทางกู้หนี้ครัวเรือนเป็นวาระแห่งชาติ ส่วนรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดที่จะแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนของทั้ง 3 กลุ่มได้นั้น รัฐจะต้องกำหนดนโยบายหลักเกี่ยวกับความรู้เรื่องทางการเงินเป็นวาระแห่งชาติ พร้อมส่งเสริมองค์กรภาคประชาสังคมอื่นๆ หน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน และเครือข่ายต่างๆ ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและส่งเสริมความรู้เรื่องทางการเงินให้เหมาะสมสำหรับประชาชนแต่ละกลุ่ม พร้อมจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องทางการเงินให้กับกลุ่มดังกล่าวด้วย

อีกทั้งรัฐต้องจัดตั้งเครือข่ายของการเรียนรู้ ชุดเครื่องมือที่เหมาะสม และรูปแบบในเรื่องความรู้ทางการเงินสำหรับประชาชนแต่ละกลุ่มให้เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ของประชาชนในแต่ละกลุ่มเพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาความรู้เรื่องทางการเงิน ให้กับทั้ง 3 กลุ่มต่อไป

ขณะเดียวกันในระยะยาวจะต้องมีการจัดตั้งศูนย์ให้บริการความรู้เรื่องทางการเงินแบบเบ็ดเสร็จในประเทศไทย ซึ่งศูนย์นี้จะทำหน้าที่ตรวจสอบการพัฒนาความรู้เรื่องทางการเงินในแง่ของนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ และการดำเนินการเพื่อลดความสับสนและซ้ำซ้อน รวมไปถึงจะต้องมีการจัดทำโครงการ (กึ่ง) ภาคบังคับเกี่ยวกับการให้ความรู้เรื่องทางการเงินและการออมเงิน จากทักษะการอ่านออกเขียนได้ขั้นพื้นฐานซึ่งจะเป็นรูปแบบที่ง่ายที่สุดของการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และการส่งเสริมกองทุนเงินออมแบบบังคับให้เกิดขึ้น

ที่สำคัญรัฐจะต้องมีมาตรการควบคุมเพดานหนี้สินส่วนบุคคลแม้ว่าการเข้าถึงบริการทางการเงินจะเป็นทางออกที่ดีในการแก้ไขปัญหาความยากจน แต่ภายใต้สถานการณ์ที่ประชาชนมีความรู้เรื่องทางการเงินน้อยและการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินที่ไม่สมบูรณ์ การควบคุมเพดานหนี้ส่วนบุคคลจึงเป็นวิธีการที่จะป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมการใช้จ่ายเกินตัวและการขอสินเชื่อส่วนบุคคลที่มากเกินไป รวมไปถึงจะต้องเร่งปรับทัศนคติต่อการใช้เงิน โดยเฉพาะการบริโภคนิยมซึ่งเป็นค่านิยมทางสังคมที่นำไปสู่การเพิ่มสูงขึ้นของหนี้สินครัวเรือนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ดังนั้นรัฐจะต้องเร่งแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เติบโตแบบก้าวกระโดดอันเกิดจากทั้ง 3 กลุ่มนั้น เพราะหากปล่อยไว้อาจเพิ่มขึ้นเป็น100% ต่อจีดีพี ซึ่งจะส่งผลให้ทั้ง 3 กลุ่มนี้เกิดสภาวะล้มละลายได้เช่นกัน และส่งผลกระทบต่อวิกฤตเศรษฐกิจประเทศในที่สุด! ขอขอบคุณข้อมูลจาก: manageronline