นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.คลัง กล่าวในการสัมมนายุทธศาสตร์ด้านการเงินการคลังเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) ว่ารัฐบาลได้เตรียมความพร้อมการเปิดเออีซี ในปลายปีนี้ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยได้ดำเนินการภายใต้ แผนเออีซี หรือแผนการจัดการพิมพ์เขียว( บลูปริ๊น) ที่มีความคืบหน้าไปแล้วกว่า 87.1% ภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์หลัก ทั้งการเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน, เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน, พัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค, การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจำมีการดำเนินงานภายใต้ ภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์ 13 กลยุทธ์ 34 มาตรการ โดย 13 กลยุทธ์ อาทิเช่น การอำนวยความสะดวกการค้า, การอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน, อำนวยความสะดวกด้านการเงิน, การปรับปรุงโครงสร้างและประสานข้อมูลทางภาษี, พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มศักยภาพการเข้าถึงบริการด้านการเงินของภาคธุรกิจไทยในต่างประเทศ, ผลักดันสกุลเงินบาทในการใช้ชำระค่าสินค้าและบริการกับกลุ่มประเทศ, จัดทำความตกลงยอมรับร่วมสาขาย่อยต่างๆด้านการเงินเท่าที่เป็นไปได้, ปรับปรุงโครงสร้างภาษีทั้งระบบ และประสานสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียน และเร่งรัดการจัดทำอนุสัญญาความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน เป็นต้น
“การรวมตัวของกลุ่มอาเซียนที่ผนึกกำลังกัน จะช่วยให้มีอำนาจต่อรองกับประเทศอื่นๆ ที่จะเข้ามาทำการค้าและลงทุน โดยยืนยันว่าประเทศไทยพร้อมที่จะเดินหน้าเออีซีอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะทำให้เกิดความเชื่อมโยงทางด้านการคลัง การค้าระหว่างประเทศ รับชำระเงิน และอัตราภาษีต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้อาเซียนสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง” นายวิสุทธิ์ กล่าว นางอารีย์ ฉวีวรรณมาศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านความร่วมมือทางศุลกากรระหว่างประเทศ กรมศุลกากร กล่าวว่า ปัจจุบันภาษีระหว่างอาเซียนปรับลดลงเหลือ 0 % หมดแล้วทุกประเทศ เหลือเพียง 4 รายการเท่านั้น ซึ่งยังคงไว้ 5 % คือ ไม้ตัดดอก กาแฟ มันฝรั่ง และเนื้อมะพร้าว นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า การเข้าสู่เออีซี ยังมีความไม่พร้อมของภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) ที่ตั้งปรับตัวเพื่อการแข่งขันของผู้ประกอบการ ตลาดสินค้าในประเทศก็ยังไม่มีกลไกในการป้องกันไม่ให้สินค้าที่มีคุณภาพต่ำกว่าที่ผลิตได้ในประเทศสมาชิกเข้ามาขายในประเทศมากขึ้น เช่น ของเล่น เครื่องใช้ไฟฟ้า และการเคลื่อนย้ายแรงงานไม่มีฝีมือ รวมถึงมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี ดังนั้นภาคธุรกิจเอสเอ็มอีต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ประสิทธิภาพของแรงงาน ความพร้อมด้านสาธารณูปโภค กฎเกณฑ์ด้านถิ่นกำเนิดของสินค้า โครงสร้างภาษี ระบบศุลกากร และกฎระเบียบที่เกี่ยวโยงกับการทำให้เกิดความง่ายต่อการดำเนินธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตามการเปิดการ

หมายเหตุ : ภาพประกอบบทความ บางภาพไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหาแต่อย่างใด Photo credit by : www.cliphotkhaohit.com

ขอบคุณข้อมูลจาก : naewna.com