"ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ มองศก.ไทยครึ่งปีหลังทรงตัว หวั่นศก.ในประเทศกระทบภาคอุตฯ พบไม่มีการเตรียมพร้อมรับมือหากบาทแข็งหรืออ่อนตัวลง "ชงรัฐทบทวนปรับขึ้นค่าแรง โอดทำต้นทุนเพิ่ม เร่งช่วยเอสเอ็มอี...

เมื่อวันที่ 25 พ.ค. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการทั่วประเทศทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ กระจายทุกกลุ่มอุตสาหกรรม รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,251 ตัวอย่าง ในด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเรื่อง ""ทิศทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งหลังของปี 2558" พบว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยโดยรวม

  • ดีขึ้น ร้อยละ 22.06
  • ทรงตัวร้อยละ 50.68
  • แย่ลง ร้อยละ 23.42
  • ไม่แน่ใจ ร้อยละ 3.84

สำหรับความคิดเห็นของผู้ประกอบการ ที่มีต่อปัจจัยเสี่ยงในด้านต่างๆ ที่ภาคอุตสาหกรรมมีความกังวล ในการดำเนินกิจการในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 โดยเริ่มจากเศรษฐกิจภายในประเทศ ร้อยละ 50.92 การเมืองภายในประเทศ ร้อยละ 37.49 ภาวะเศรษฐกิจโลก ร้อยละ 36.93 ราคาน้ำมัน ร้อยละ 24.70 อัตราแลกเปลี่ยน ร้อยละ 16.55 อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 14.07 สถานการณ์ต่างประเทศ ร้อยละ 12.95 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 12.71 ไม่มีความกังวลว่าปัจจัยดังกล่าวจะมีผลต่อการดำเนินกิจการ ร้อยละ 0.48 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 0.40 และอื่นๆ เช่น คู่แข่งทางธุรกิจ ปัญหาการส่งออก การกีดกันทางการค้าในรูปแบบใหม่ สภาพอากาศ ภัยธรรมชาติ ความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ ต้นทุนของแรงงาน/ค่าแรง จำนวนแรงงาน ร้อยละ 2.08

ส่วนแนวทางในการรับมือกรณีที่ค่าเงินบาทของไทยมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค พบว่า ผู้ประกอบการไม่มีการเตรียมพร้อม ร้อยละ 51.16 มีการเตรียมพร้อม ร้อยละ 48.84 ได้วางแผนประมาณการ การสั่งซื้อ การผลิต การจำหน่ายล่วงหน้า ร้อยละ 49.10 วางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อกำหนดทิศทางราคาสินค้า ร้อยละ 38.79 ศึกษาตลาด และติดตามสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ร้อยละ 26.35 ได้ทำ Forward อัตราแลกเปลี่ยน ร้อยละ 7.04 ย้ายแหล่งการนำเข้าวัตถุดิบ ร้อยละ 6.55 รักษาขนาดของการประกอบอุตสาหกรรมร้อยละ 6.22 ติดตามความเคลื่อนไหวโดยเฉพาะอัตราแลกเปลี่ยน ร้อยละ 5.89 ให้ความสำคัญกับธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ร้อยละ 5.56 และอื่นๆ เช่น ลดต้นทุนการผลิต ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ส่งออกในประเทศให้มากขึ้น ศึกษาแหล่งวัตถุดิบ ปรึกษาสถาบันทางการเงิน ร้อยละ 1.31

ด้านแนวทาง ในการรับมือกรณีที่ค่าเงินบาทของไทยมีแนวโน้มอ่อนตัวลง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค พบว่า ผู้ประกอบการ ไม่มีการเตรียมพร้อม ร้อยละ 52.92 ได้มีการเตรียมพร้อม ร้อยละ 47.08 วางแผนประมาณการ การสั่งซื้อ การผลิต การจำหน่ายล่วงหน้า ร้อยละ 41.77 วางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อกำหนดทิศทางราคาสินค้า ร้อยละ 37.69 ศึกษาตลาด และติดตามสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ร้อยละ 28.18 รักษาขนาดของการประกอบอุตสาหกรรม ร้อยละ 9.68 ทำ Forward อัตราแลกเปลี่ยน ร้อยละ 6.96 ติดตามความเคลื่อนไหวโดยเฉพาะอัตราแลกเปลี่ยน ร้อยละ 6.79 ให้ความสำคัญกับธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ร้อยละ 6.11 ย้ายแหล่งการนำเข้าวัตถุดิบ ร้อยละ 5.94 และอื่นๆ เช่น เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ปรึกษาสถาบันทางการเงิน ร้อยละ 0.68

สำหรับความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่มีต่อค่าเงินบาทที่เหมาะสม ส่วนใหญ่เห็นว่า ร้อยละ 28.38 อยู่ที่ 31 – 32 บาทต่อดอลลาร์ฯ/ ร้อยละ 21.42 น้อยกว่า 31 บาทต่อดอลลาร์ฯ /ร้อยละ 17.83 อยู่ที่ 32 – 33 บาทต่อดอลลาร์ฯ/ ร้อยละ 8.87 อยู่ที่ 33 – 34 บาทต่อดอลลาร์ฯ / ร้อยละ 8.95 มากกว่า 34 บาทต่อดอลลาร์ฯ และไม่แน่ใจ ขึ้นอยู่กับกลไกเศรษฐกิจ และขึ้นอยู่กับว่าเป็นธุรกิจส่งออกหรือนำเข้า อย่างใดมากกว่ากันร้อยละ 14.55

การสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ ที่มีต่อการเอื้อต่อการดำเนินกิจการในกรณีราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ส่วนใหญ่ เห็นว่า เอื้อต่อการดำเนินกิจการมากที่สุด ร้อยละ 48.04 ค่อนข้างเอื้อต่อการดำเนินกิจการ ร้อยละ 32.38 ไม่ค่อยเอื้อต่อการดำเนินกิจการ ร้อยละ 12.47 และไม่เอื้อต่อการดำเนินกิจการเลย ร้อยละ 7.11

ด้านความคิดเห็นของ ผู้ประกอบการที่มีต่อ การเอื้อต่อการดำเนินกิจการในกรณีราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เห็นว่า เอื้อต่อการดำเนินกิจการมากที่สุด ร้อยละ 13.19 ค่อนข้างเอื้อต่อการดำเนินกิจการ ร้อยละ 16.63 ไม่ค่อยเอื้อต่อการดำเนินกิจการร้อยละ 29.33 และไม่เอื้อต่อการดำเนินกิจการเลย ร้อยละ 40.85

สำหรับความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่มีต่อความผันผวนตลาดเงิน ตลาดทุนจากการที่ทางการสหรัฐฯ ออกมาส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 เห็นว่า จะสร้างความผันผวน ให้ตลาดเงิน ตลาดทุน มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 7.35 /มาก คิดเป็นร้อยละ 30.38 /ปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 36.21 /น้อยคิดเป็นร้อยละ 11.99 /น้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 8.55 และไม่แน่ใจ คิดเป็นร้อยละ 5.52

ส่วนความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่มีต่อผลกระทบต่อการดำเนินกิจการ จากภาวะเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะแถบภูมิภาคยุโรป ญี่ปุ่น จีน ที่สัญญาณการฟื้นตัวยังไม่ชัดเจน เห็นว่าจะมีผลกระทบต่อการดำเนินกิจการ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 5.35 มีผลกระทบมาก คิดเป็นร้อยละ 19.18 มีผลกระทบปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 38.85 มีผลกระทบน้อย คิดเป็นร้อยละ 16.71 มีผลกระทบน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 16.23 และไม่แน่ใจ คิดเป็นร้อยละ 3.68

สำหรับข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ เกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมนั้น ได้เสนอแนะมากที่สุดคือ รัฐบาลควรพิจารณาทบทวนเรื่องการปรับขึ้นค่าแรง เนื่องจากส่งผลกระทบต่อต้นทุน การผลิต อีกทั้งเร่งแก้ไขปัญหาราคาวัตถุดิบที่เป็นสินค้านำเข้า รวมถึงกำหนดทิศทางการแข่งขันในตลาดธุรกิจให้ชัดเจน เร่งช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ทางด้านเงินทุน/สินเชื่อ อัตราภาษี รวมถึงการสนับสนุนการกระตุ้นการลงทุนเศรษฐกิจ และการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ และรัฐบาลควรจัดการบ้านเมืองให้อยู่ในสถานการณ์ปกติเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของประเทศและกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น

Source : นิด้าโพล ขอบคุณข้อมูล จาก : ไทยรัฐออนไลน์ ขอบคุณรูปภาพ จาก : www.ficci-inpd.com