นายทรงวุฒิ ไกรภสัสร์พงษ์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลการประชุมร่วมกับกระทรวงพาณิชย์เรื่อง แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการหารือครั้งที่ 4/2558 ว่า กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรม มีความเห็นร่วมกันในการศึกษาจัดตั้งโครงการเหล็กต้นน้ำในประเทศไทยเพื่อทำให้ห่วงโซ่อุปทานของเหล็กกลางน้ำและปลายน้ำมีความต่อเนื่องสมบูรณ์ พร้อมมอบหมายให้สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ทำการศึกษารายละเอียดทุกมิติและนำเสนอต่อกระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ BOI เพื่อการพิจารณาต่อไป นายทรงวุฒิ กล่าวว่า เพื่อให้เกิดโครงการเหล็กต้นน้ำหรือโรงถลุงเหล็ก กระทรวงอุตสาหกรรม จะจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย และคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ พร้อมเร่งศึกษาและพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งโรงงานเหล็กต้นน้ำหรือโรงงานถลุงเหล็กในไทย ในขณะเดียวกันจะเสริมสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐานสินค้าเหล็กและผลิตภัณฑ์ของไทย เช่น ผลักดันให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่ตั้งฐานการผลิตในไทย ยินยอมให้ความร่วมมือทดสอบคุณภาพสินค้าเหล็กของไทย ส่วนการตั้งโรงถลุงเหล็ก ขณะนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย กำลังขอความร่วมมือกับกองทัพเรือในการสำรวจท่าเรือน้ำลึกที่เหมาะสม เพื่อจัดเป็นสถานประกอบการโรงถลุงเหล็ก และทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) จะร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดแนวทางและจัดทำแผนงานเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งโรงงานเหล็กต้นน้ำให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ซึ่งขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ทำการศึกษากระบวนการให้ความช่วยเหลือแล้ว ทั้งนี้ สศอ.จะจัดทำยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเหล็ก เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) โดยกำหนดวิสัยทัศน์ให้ “ประเทศไทยเป็นผู้นำอุตสาหกรรมเหล็กในอาเซียน” ที่จะมี การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรม ด้วยการเป็น Service Solution การส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มสัดส่วนการใช้ local content สำหรับการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศ การส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ การส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในประเทศ เพื่อผลิตเหล็กปลายน้ำคุณภาพสูงและมีนวัตกรรม และการส่งเสริมการใช้สินค้าในประเทศ
ส่วนปัญหาเหล็กผสมโบรอนนำเข้าจากจีนนั้น พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานที่ประชุม แจ้งว่า กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรมจะร่วมเป็นแกนหลักในการให้ความช่วยเหลือและเพิ่มศักยภาพในการผลิตและการแข่งขันให้กับภาคเอกชนในกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กเพื่อรองรับกับสถานการณ์การแข่งขันทางการค้าที่รุนแรงยิ่งขึ้น จึงได้กำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือเป็น 6 มาตรการ คือ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา กรมการค้าภายในกำหนดให้เหล็กเส้น เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กกล้าแผ่นไร้สนิมรีดร้อน และเหล็กแผ่นรีดเย็น เป็นสินค้าอ่อนไหว (Sensitive List: SL) ซึ่งให้มีการติดตามราคาและสถานการณ์ทางการค้าอย่างใกล้ชิดเป็นประจ าทุกวัน ซึ่งขณะนี้กรมการค้าภายในยังยืนยันให้ใช้มาตรการนี้ ต่อไป อีกส่วนคือ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จะเดินหน้าเจรจากับรัฐบาลจีน เพื่อให้ลดการอุดหนุนการผลิตและการส่งออกเหล็กและผลิตภัณฑ์มายังประเทศไทย ซึ่งขณะนี้จีนได้ยกเลิก มาตรการคืนภาษีส่งออกสำหรับสินค้าเหล็กเจือโบรอนบางรายการแล้ว ซึ่งเหล็กประเภทนี้ จีนส่งมาขายคิดเป็นร้อยละ 50 ของรายการสินค้าทั้งหมดที่ส่งออกมายังตลาดอาเซียน ซึ่งขณะนี้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จะเดินหน้าเจรจากับรัฐบาลจีน เพื่อให้ลดการอุดหนุนการผลิตและการส่งออกเหล็กและผลิตภัณฑ์มายังประเทศไทย ซึ่งขณะนี้จีนได้ยกเลิกมาตรการคืนภาษีส่งออกสำหรับสินค้าเหล็กเจือโบรอนบางรายการแล้ว แต่รายการที่ยกเลิกเป็นสินค้าที่ไม่มีนัยสำคัญในการยกเลิก เนื่องจากส่งออกมายังประเทศไทยในปริมาณน้อย ส่วนสินค้าเหล็กเจือโบรอนที่มีการส่งออกในปริมาณมาก ยังไม่มีการยกเลิกมาตรการคืนภาษี ดังนั้นกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กไทย จึงร่วมกับสมาพันธ์เหล็กและเหล็กกล้าอาเซียนร่วมกับกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เข้าร่วมการประชุม AC-FTA Joint Committee ที่ประเทศบรูไน ระหว่างวันที่ 28-29 กรกฎาคม 2558 เพื่อเรียกร้องข้อเสนอร่วมกับอุตสาหกรรมเหล็กอาเซียนต่อรัฐบาลจีนโดยตรง ด้านกรมศุลกากรได้เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้าสินค้าเหล็ก ณ ขณะนำเข้า โดยได้ แต่งตั้งคณะทำงานกำกับดูแลการนำเข้าสินค้าเหล็กที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างผิดปกติ ในขณะเดียวกันก็ได้เพิ่มบทลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดฐานหลบเลี่ยงมาตรการทางการค้า ซึ่งขณะนี้ยังไม่พบผู้ทำการหลบเลี่ยงหลังจากที่กรมศุลกากรประกาศ ส่วนสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จะเดินหน้าประชาสัมพันธ์แผนการกำหนดหรือทบทวนมาตรฐานของสินค้าเหล็กและผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การค้าในปจัจุบันโดยยินดีรับฟังและพิจารณาข้อมูล ข้อคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ซึ่ง ขณะนี้ สมอ.กำลังจัดทำแผนแม่บทสำหรับการปรับปรุงมาตรฐานสินค้าประเภทเหล็กและประเภทอื่นๆด้วย ตามความสำคัญก่อนหลัง

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักข่าวไทย