หลักการออกแบบหลังคา ควบคู่ฉนวนกันความร้อนและวัสดุกันซึม
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : www.BuilderNews.in.th
หลังคา เป็นส่วนของอาคารที่กันแดดกันฝน และทนการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ เป็นส่วนสำคัญของอาคารที่ต้องให้ความสำคัญในการเลือกที่เหมาะสม หลังคามีส่วนช่วยในการประหยัดพลังงาน หลังคา ป้องกันแดด ลม ฝน ทำให้เราอยู่อาศัยอย่างสบายใจขึ้น ดังนั้น การทำความรู้จักหลังคา และการใช้หลังคาที่ถูกต้อง ก็จะทำให้เราอยู่สบายขึ้นด้วย มีหลักในการออกแบบและใช้หลังคาควบคู่ไปกับการใช้ฉนวนป้องกันความร้อน และวัสดุกันซึมอื่นๆ ประการดังนี้
1. อย่าวางหลังคาขวางตะวัน จะช่วยให้บ้านประหยัดพลังงาน และอยู่สบาย เพราะวางทิศทางหลังคาได้ถูกต้อง ไม่ขวางแดด ที่ทำให้เกิดการส่องของแดดและส่งความร้อนผ่านหลังคา
2. หลังคาต้องมีความชันไม่เกิน 45 องศา ดีกว่า ดีกว่าหลังคาแบบราบเรียบ ช่วยในเรื่องการระบายน้ำฝนไม่ทำให้น้ำขัง ป้องกันความร้อนจากอุณหภูมิภายนอก หลังคาคอนกรีต แบนราบแบบดาดฟ้า มีโอกาสแดกร้าว อันเกิดจากความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ควรพิจารณาใช้วัสดุกันซึม และควรปรับระดับเพื่อการระบายน้ำที่ดี
Picture via www.hchomesolutions.com
3. รอยต่อหลังคายิ่งมาก มีโอกาสรั่วของหลังคามาก การออกแบบหลังคา หากรอยต่อของหลังคายิ่งมีมาก โอกาสของการรั่วซึมก็ยิ่งมีมากเช่นกัน พยายามหลีกเลี่ยงการออกแบบแบบหลังคาที่มีตะเข้สัน รางน้ำกลางหลังคาหรือหลังคาแฝด เพราะจะทำให้รางน้ำมีโอกาสรั่วและล้นจากการระบายน้ำฝนที่ตกหนัก 4. ขนาดวัสดุมุงต้องพิจารณาให้ละเอียด วัสดุมุงขนาดเล็ก เช่นกระเบื้องไมเนีย กระเบื้องขนาดเล็ก หลังคาต้องมีความชันมากๆ ติดตั้งแปมีความถี่มากขึ้น ป้องกันการรั่ว และการถูกลมหอบ กระเบื้องแผ่นใหญ่ แม้จะวางระยะแปห่างขึ้น และมีความลาดชันต่ำ ให้ระมัดระวังระยะซ้อนทับ เพื่อกันน้ำฝนย้อนกลับ 5. สีและความมันวาวของวัสดุมุงช่วยป้องกันความร้อนได้ดี วัสดุมุงที่มีความมันวาวสะท้อนแสงได้ดี จะช่วยป้องกันคลื่นความร้อนได้ระดับหนึ่ง สีของความร้อน ควรเลือกสีให้อ่อน ไม่ควรเลือกสีทึบ เพราะสีทึบจะดูดกลืนความร้อนไว้ สีโทนอ่อนจะสะท้อนความร้อน ไม่ควรใช้สีกระเบื้องฉูดฉาด เพราะจะสะท้อนแสงสีทำให้มีผลต่อการมองเห็นที่ผิดปกติ
Picture via roofing-tiles.com
6. การยื่นชายคาในระยะที่เหมาะสม ช่วยบังแดดและป้องกันความร้อนได้ การยื่นของชายคา กันสาด ควรมีระยะที่เหมาะสมสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น หลังคาควรมีชายคายื่นยาว ออกจากผนังอาคาร อย่างน้อย 1 เมตร เพื่อป้องกันแดดร้อน บังแดดและฝนเข้าสู่อาคาร ในด้านทิศใต้ของอาคารควรทำชายคายื่นยาวมากกว่าด้านทิศเหนือ และด้านตะวันออก ด้านตะวันตก ควรใช้ครีบบังแดด 7. ฉนวนกันความร้อนที่หนามากๆ ไม่ได้กันความร้อนได้มาก ฉนวนกันความร้อนมีหลายแบบให้เลือก การกันความร้อน ขึ้นอยู่กับค่าต้านทานความร้อน(R) ซึ่งจะบอกเอาไว้ในฉลากสินค้า ค่าต้านทานต่ำจะกันความร้อนได้ไม่ดี บางชนิดจะใช้ค่าถ่ายเทความร้อนรวม(U) เป็นตัวกำกับ ซึ่งจะเป็นส่วนกลับของค่าต้านทานความร้อนวัสดุ ค่ายิ่งมาก ยิ่งต้านทานความร้อนได้ดี ความหนาจะมีผลการต้านเพียงแค่ระดับหนึ่ง อากาศเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี การสร้างหลังที่มีพื้นที่ใต้หลังคา จะช่วยป้องกันความร้อนได้ 8. ตำแหน่งติดตั้งเหนือวัสดุกันความร้อนเหนือวัสดุฝ้าเพดานได้ผลในการป้องกันความร้อนได้ดีกว่า การติดฉนวนกันความร้อน ที่ใต้จันทันหลังคา สำหรับบริเวณใต้ทันจัน ควรติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนมากกว่า ติดตั้งที่เหนือฝ้า เพื่อป้องกันฝุ่นจับ ทำให้แผ่นสะท้อนความร้อน ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Picture via www.bloggang.com
9. หลังคาที่ทำจากโลหะ ควรมีอุปกรณ์ให้โลหะขยายตัวได้ โครงหลังคาโลหะ และวัสดุมุงที่ทำจากโลหะ จะเกิดการขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน ดังนั้นการติดตั้ง ควรมีอุปกรณ์ให้โลหะขยายตัวได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการดันตัวของโครงสร้าง และวัสดุมุงเกิดการดันตัวเองจนเกิดเสียงดังอันเนื่องจากการขยายตัวของโลหะ หลังคาโลหะหากติดตั้งฉนวนกันความร้อน หรือกันเสียงให้พิจารณาเรื่องการติดไฟของวัสดุฉนวน 10. หลังคา ควรมีช่องระบายอากาศที่ดี แต่ต้องมีตะข่ายกันนก กันหนู กันแมลง ติดตั้งไว้ด้วย หลังคาควรสามารถระบายอากาศที่ร้อนออกจากหลังคาได้ โดยมีช่องระบายอากาศจากชายคา ดันอากาศไปแทนที่อากาศร้อนใต้หลังคา เพื่อระบายออกที่ช่องลมบริเวณหน้าจั่ว
3. รอยต่อหลังคายิ่งมาก มีโอกาสรั่วของหลังคามาก การออกแบบหลังคา หากรอยต่อของหลังคายิ่งมีมาก โอกาสของการรั่วซึมก็ยิ่งมีมากเช่นกัน พยายามหลีกเลี่ยงการออกแบบแบบหลังคาที่มีตะเข้สัน รางน้ำกลางหลังคาหรือหลังคาแฝด เพราะจะทำให้รางน้ำมีโอกาสรั่วและล้นจากการระบายน้ำฝนที่ตกหนัก 4. ขนาดวัสดุมุงต้องพิจารณาให้ละเอียด วัสดุมุงขนาดเล็ก เช่นกระเบื้องไมเนีย กระเบื้องขนาดเล็ก หลังคาต้องมีความชันมากๆ ติดตั้งแปมีความถี่มากขึ้น ป้องกันการรั่ว และการถูกลมหอบ กระเบื้องแผ่นใหญ่ แม้จะวางระยะแปห่างขึ้น และมีความลาดชันต่ำ ให้ระมัดระวังระยะซ้อนทับ เพื่อกันน้ำฝนย้อนกลับ 5. สีและความมันวาวของวัสดุมุงช่วยป้องกันความร้อนได้ดี วัสดุมุงที่มีความมันวาวสะท้อนแสงได้ดี จะช่วยป้องกันคลื่นความร้อนได้ระดับหนึ่ง สีของความร้อน ควรเลือกสีให้อ่อน ไม่ควรเลือกสีทึบ เพราะสีทึบจะดูดกลืนความร้อนไว้ สีโทนอ่อนจะสะท้อนความร้อน ไม่ควรใช้สีกระเบื้องฉูดฉาด เพราะจะสะท้อนแสงสีทำให้มีผลต่อการมองเห็นที่ผิดปกติ
6. การยื่นชายคาในระยะที่เหมาะสม ช่วยบังแดดและป้องกันความร้อนได้ การยื่นของชายคา กันสาด ควรมีระยะที่เหมาะสมสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น หลังคาควรมีชายคายื่นยาว ออกจากผนังอาคาร อย่างน้อย 1 เมตร เพื่อป้องกันแดดร้อน บังแดดและฝนเข้าสู่อาคาร ในด้านทิศใต้ของอาคารควรทำชายคายื่นยาวมากกว่าด้านทิศเหนือ และด้านตะวันออก ด้านตะวันตก ควรใช้ครีบบังแดด 7. ฉนวนกันความร้อนที่หนามากๆ ไม่ได้กันความร้อนได้มาก ฉนวนกันความร้อนมีหลายแบบให้เลือก การกันความร้อน ขึ้นอยู่กับค่าต้านทานความร้อน(R) ซึ่งจะบอกเอาไว้ในฉลากสินค้า ค่าต้านทานต่ำจะกันความร้อนได้ไม่ดี บางชนิดจะใช้ค่าถ่ายเทความร้อนรวม(U) เป็นตัวกำกับ ซึ่งจะเป็นส่วนกลับของค่าต้านทานความร้อนวัสดุ ค่ายิ่งมาก ยิ่งต้านทานความร้อนได้ดี ความหนาจะมีผลการต้านเพียงแค่ระดับหนึ่ง อากาศเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี การสร้างหลังที่มีพื้นที่ใต้หลังคา จะช่วยป้องกันความร้อนได้ 8. ตำแหน่งติดตั้งเหนือวัสดุกันความร้อนเหนือวัสดุฝ้าเพดานได้ผลในการป้องกันความร้อนได้ดีกว่า การติดฉนวนกันความร้อน ที่ใต้จันทันหลังคา สำหรับบริเวณใต้ทันจัน ควรติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนมากกว่า ติดตั้งที่เหนือฝ้า เพื่อป้องกันฝุ่นจับ ทำให้แผ่นสะท้อนความร้อน ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
9. หลังคาที่ทำจากโลหะ ควรมีอุปกรณ์ให้โลหะขยายตัวได้ โครงหลังคาโลหะ และวัสดุมุงที่ทำจากโลหะ จะเกิดการขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน ดังนั้นการติดตั้ง ควรมีอุปกรณ์ให้โลหะขยายตัวได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการดันตัวของโครงสร้าง และวัสดุมุงเกิดการดันตัวเองจนเกิดเสียงดังอันเนื่องจากการขยายตัวของโลหะ หลังคาโลหะหากติดตั้งฉนวนกันความร้อน หรือกันเสียงให้พิจารณาเรื่องการติดไฟของวัสดุฉนวน 10. หลังคา ควรมีช่องระบายอากาศที่ดี แต่ต้องมีตะข่ายกันนก กันหนู กันแมลง ติดตั้งไว้ด้วย หลังคาควรสามารถระบายอากาศที่ร้อนออกจากหลังคาได้ โดยมีช่องระบายอากาศจากชายคา ดันอากาศไปแทนที่อากาศร้อนใต้หลังคา เพื่อระบายออกที่ช่องลมบริเวณหน้าจั่ว
Source: ArchitectExpo Buyers' Guide 2013/2014 เรียบเรียงโดย www.BuilderNews.in.th
Discussion
Follow breaking news Investment property articles on Facebook, click here.