ปกติกรณีเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ หากเจ้าของรถยนต์เป็นผู้ขับรถเอง ก็ไม่มีปัญหา เรียกพนักงานประกันมาดูแลก็เรียบร้อยจริงมั้ยคะ แต่ทีนี้ ถ้าคนที่ขับรถไม่ได้เป็นเจ้าของล่ะคะ ใครจะรับผิดชอบ? กรณีนี้ หากเรานำรถยนต์ของเรา เข้าอู่ เพื่อซ่อมแซม หรือรับบริการ แล้วบังเอิญช่างซ่อมของอู่นำรถออกไป อาจจะทดลองขับเพื่อตรวจสอบรถยนต์ แล้วโชคไม่ดีดันเอารถไปชนเข้า ทีนี้ใครจะเป็นคนรับผิดชอบ แล้วจะต้องทำยังไงบ้าง มาดูกันค่ะ
  • ตามมาตรา 425 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มีการบัญญัติไว้ว่ากรณีที่เรานำรถยนต์เข้าอู่เพื่อรับการบริการ แล้วช่างของอู่ทำให้รถยนต์ของเราเสียหาย ไม่ว่าจะด้วยกรณีใดก็ตาม ทางผู้ว่าจ้างจะต้องร่วมกันรับผิดชอบกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้ทำไปในทางการที่จ้าง
  • ตามมาตรา 428 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติไว้ว่า ผู้จ้างทำของไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหาย ที่ผู้รับจ้างก่อขึ้นในระหว่างการทำงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนของการงานที่จ้างให้ทำ
อธิบายง่ายๆ ก็คือ ช่างซ่อมรถยนต์ไม่ได้เป็นตัวแทน หรือเป็นลูกจ้างของเราที่เป็นเจ้าของรถยนต์ การซ่อมรถยนต์ถือเป็นสัญญาการจ้างทำของ และตามสัญญาการจ้างทำของ ผู้ว่าจ้างตกลงกับผู้รับจ้างว่าจะทำการงานที่สั่งจนสำเร็จแก่ผู้ว่าจ้าง โดยผู้รับจ้างไม่ได้อยู่ในความควบคุมบังคับบัญชาของเราที่เป็นผู้ว่าจ้าง
ช่างซ่อมรถยนต์เป็นผู้รับจ้าง ไม่ได้เป็นลูกจ้างของเราที่เป็นเจ้าของรถยนต์ตามความหมายในมาตราที่ 425 ที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้นั่นเอง ดังนั้น การว่าจ้างซ่อมรถยนต์ ถือว่าเข้าลักษณะของสัญญาจ้างทำของ แต่อุบัติเหตุไม่ได้เกิดขึ้นระหว่างที่ช่างซ่อมรถยนต์กำลังนำรถยนต์ขับกลับไปคือเจ้าของเมื่อซ่อมเสร็จแล้ว ไม่ถือว่าเป็นการนำรถยนต์ส่งคืนให้เจ้kของซึ่งจะถือว่าเป็นการกระทำที่อยู่ในสัญญาจ้างทำของ
หมายความว่ากรณีนี้ไม่เข้ากับมาตรา 428 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ข้างต้น ทำให้เจ้าของไม่ต้องร่วมรับผิดชอบกับช่างซ่อมรถยนต์นั่นเอง กรณีนี้ก็ขึ้นอยู่กับทางเจ้าของรถยนต์ และเจ้าของอู่จะตกลงเรื่องค่าเสียหายระหว่างกันอีกครั้งหนึ่ง

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย กระทรวงการคลัง (คปภ.) ได้เคยออกมาชี้แจงมาตรฐานการปฏิบัติงานของบริษัทประกันภัย ว่าเมื่อเกิดกรณีเช่นนี้ขึ้น จะต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริง ว่าผู้เสียหายที่เป็นลูกค้าของบริษัทประกันฯ ได้มีการนำรถยนต์คันเอาประกันไปซ่อมอู่ด้วยตนเอง หรือผ่านการแนะนำของบริษัทประกันฯ และจะต้องตรวจสอบสัญญาซ่อมด้วยว่าเป็นการทำสัญญาผูกพันระหว่างลูกค้ากับอู่ หรือระหว่างบริษัทประกันฯ กับอู่
เพราะหากเป็นความผูกพันทางสัญญาการซ่อมรถยนต์ระหว่างบริษัทประกันฯ กับอู่ เท่ากับว่าอู่ไม่ได้ดำเนินการซ่อมแซมรถยนต์ตามคำสั่งของเจ้าของรถยนต์ แต่ดำเนินการซ่อมแซมรถยนต์ตามคำสั่งของบริษัทประกันฯ ดังนั้นผู้เสียหายจะต้องติดต่อบริษัทประกันฯ
แต่หากกรณีที่เราต้องการเลือกอู่เอง เราสามารถทำได้ด้วยการแจ้งความจำนงไปยังบริษัทประกันฯ ว่าเราต้องการนำรถยนต์ไปซ่อมในอู่เครืออื่นๆ โดยเราควรดำเนินการผ่านบริษัทประกันฯ ทั้งหมด เพื่อความปลอดภัย และหลังจากการซ่อมแซมรถยนต์ทำเสร็จแล้ว ก็จะต้องนำรถยนต์เข้าศูนย์ของบริษัทประกันฯ เพื่อตรวจสอบว่าการซ่อมแซมได้มาตรฐานตามที่ศูนย์กำหนดนั่นเองค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก :finance.rabbit.co.th

บทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก