โอกาสอสังหาฯ "กรุงเทพฯ จตุรทิศ" เกาะติดผังเมือง และแผนรถไฟฟ้าระยะ 2
งานสัมมนาล่าสุด ที่รวบรวมประเด็นร้อนของวงการอสังหาฯ เอาไว้ในงาน นี้ กับหัวข้อ โอกาสอสังหาฯ "กรุงเทพฯ จตุรทิศ" เกาะติดผังเมือง และแผนรถไฟฟ้าระยะ 2 จัดโดย พร็อพทูมอร์โรว์ ซึ่งได้รับเกียรติจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมเป็นวิทยากร คุณวันชัย ถนอมศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร ดร.สมประสงค์ สัตยมัลลี คุณประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย และคุณสุรเชษฐ กองชีพ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย
คุณวันชัย ถนอมศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร มองว่า แผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่ง ของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ฉบับปัจจุบัน ได้คำนึงถึงโครงการขนส่งมวลชนทางรางที่จะดำเนินการโดย รฟม., รฟท., การทางพิเศษฯ และ กทม. และได้กำหนดโครงการก่อสร้างถนน โดยเฉพาะถนนสายรองและสายย่อย ด้วยการขยายและเชื่อมต่อถนนซอยเพื่อให้เกิดความสะดวกในการเข้าออกสู่ถนนสายหลัก ทางพิเศษ และระบบขนส่งมวลชนทางราง จากพื้นที่ปิดล้อมขนาดใหญ่จากถนนสายหลัก (Super Block) ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในกรุงเทพมหานคร แต่แนวคิดในการวางและจัดทำแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่ง (ฉบับใหม่) จะเน้นโครงการขนส่งมวลชนทางรางมากยิ่งขึ้น ให้ความสำคัญกับการเชื่อมต่อการเดินทางจากระบบหนึ่งสู่อีกระบบหนึ่งได้อย่างต่อเนื่อง สะดวกและรวดเร็ว อย่าง ศูนย์พหลโยธิน สถานีตลิ่งชัน สถานีสยาม เป็นต้น
แนวคิดการพัฒนาโครงการเพื่อรองรับการระบายน้ำและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 1.1 ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียวลาย)จากเดิม ที่ควบคุมความสูงของอาคารไม่เกิน 12 เมตร อาจเปลี่ยนเป็น สามารถสร้างสูงได้ 20 เมตร แต่ต้องเป็นลักษณะอาคารที่มีใต้ถุนสูงและเปิดโล่ง เพื่อใช้ในการจอดรถ และเป็นทางให้น้ำไหลผ่านพื้นที่ ซึ่งทำให้พื้นที่ดังกล่าวยังคงประโยชน์ตามวัตถุประสงค์และไม่ต้องใช้ถนนเป็นคลองเพื่อการระบายน้ำ เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม
1.2 บริเวณที่ส่งเสริมให้มีการพัฒนาที่หนาแน่น เช่น ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีน้ำตาล) หรือ ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม (สีแดง)ให้ FAR Bonus สำหรับอาคารที่ออกแบบให้พื้นที่ชั้นล่างของอาคารเป็นลักษณะเปิดโล่งและให้กรุงเทพมหานครสามารถใช้พื้นที่เพี่อส่งเสริมการจัดระเบียบกิจกรรมต่าง ๆ ของเมือง ได้ เช่น เป็นที่ตั้งของหาบเร่แผงลอย วินจักรยานยนต์รับจ้าง วินรถตู้ หรือรถโดยสารสาธารณะ เป็นต้น อีกทั้งการออกแบบในลักษณะดังกล่าวเป็นการช่วยให้เมืองเกิดความโล่ง โปร่ง มีการไหลเวียนของอากาศที่ดี
ตัวอย่างการออกแบบโครงการให้พื้นที่ชั้นล่างของอาคารเป็นลักษณะเปิดโล่ง และเมือง สามารถใช้พื้นที่เพี่อส่งเสริมการจัดระเบียบกิจกรรมต่าง ๆ ของเมืองได้ หรือตัวอย่างการออกแบบโครงการให้พื้นที่ชั้นล่างของอาคารเป็นลักษณะเปิดโล่ง และเมือง สามารถใช้พื้นที่เพี่อส่งเสริมการจัดระเบียบกิจกรรมต่าง ๆ ของเมืองได้ หรือการออกแบบพื้นที่ชั้นล่างเชื่อมต่อระหว่างกลุ่มอาคาร ช่วยให้เมืองเกิดความโล่ง โปร่ง มีการไหลเวียนของอากาศที่ดี อีกทั้งยังเพิ่มความมีชีวิตชีวาให้กับเมือง และส่งเสริมการเดินเท้าในเมืองมากยิ่งขึ้น
การพัฒนาโครงการที่เอื้อต่อการเข้าช่วยเหลือในกรณีเกิดอุบัติภัย ให้ FAR Bonus สำหรับโครงการที่ไม่มีรั้ว- รถดับเพลิงของกรุงเทพมหานคร มีความกว้าง 3.5 เมตร เวลาใช้งานต้องมีพื้นที่กางขาตั้งอีกข้างละประมาณ 2 เมตร รวมแล้ว ต้องการใช้ความกว้างประมาณ 7 เมตร เป็นอย่างน้อย ซึ่งถนนกว้าง 6 เมตร ตามกฎหมายควบคุมอาคาร แล้วจะทำอย่างไร?
- พื้นที่ระหว่างอาคาร จะใช้ประโยชน์สำหรับการเข้าช่วยเหลือ กรณีเกิดอุบัติภัย
- ช่วยในการระบายน้ำ และเป็นทางเดินลัดให้กับประชาชนในพื้นที่ได้