8 แนวทาง อยู่บ้านเช่า อย่างไร ให้ปลอดภัย ?
อยู่บ้านเช่า หรือห้องเช่า อย่างไรให้ปลอดภัย ดูจะไม่ใช่เรื่องยาก เพียงใส่ใจกับสิ่งรอบข้างรอบตัว รวมทั้ง ไม่แสดงพฤติกรรมที่ก่อโอกาสเสี่ยงต่อความปลอดภัยของตนเอง TerraBKK เสนอ 8 แนวทาง พฤติกรรมอยู่อาศัยบ้านเช่า ว่าสิ่งใดที่ควรกระทำและไม่ควรกระทำ เพื่อความปลอดภัยของการ อยู่บ้านเช่า ของตัวผู้เช่าเอง รายละเอียดดังนี้
1. อ่านระเบียบความปลอดภัยของบ้านเช่า
รักษาสิทธิของตนเองให้ดี ไม่ว่าจะเป็นระเบียบความปลอดภัยของสถานที่เช่าพัก หรือจะเป็นข้อข้องใจเกี่ยวกับความปลอดภัยที่เราต้องการทราบ เช่น ทางออกฉุกเฉิน , ระยะเวลาติดต่อเจ้าหน้าที่ , สิ่งอำนวยความสะอาดต่าง ๆ เป็นต้น ควรจดจำเบอร์โทรศัพท์สำคัญ เช่น นิติบุคคล , รปภ. , ช่างซ่อม เป็นต้น เพื่อไว้ติดต่อในกรณีฉุกเฉิน2. ตรวจสอบความปลอดภัยห้องพักตนเอง
ตรวจสอบ การใช้งานของกลอนประตูหรือหน้าต่าง ก่อนจะตัดสินใจเช่าพักสถานที่แห่งนั้น การพลางสายตาบุคคลภายนอก เช่น มู่ลี่ ,ผ้าม่าน เป็นต้น เพื่อป้องกันการมองเห็นของคนภายนอก รวมไปถึง การทำกิจการริมหน้าต่างในเวลากลางคืน เพราะการกระทำเหล่านั้น ไม่ต่างจากโทรทัศน์เครื่องใหญ่ ที่ถ่ายทอดภาพเคลื่อนไหวของคุณในเวลากลางคืน หากมีคนไม่ดีหรือคนร้าย เขาสามารถสังเกตพฤติกรรมของคุณได้อย่างง่าย ๆ โดยที่คุณไม่รู้ตัวเลย
3. อ่านประกาศข้อความส่วนกลาง
หากเป็นอาคารพักแนวสูงอย่างหอพักหรือคอนโดมิเนียม มักมีบอร์ดกลางสำหรับติดข้อความประกาศต่าง ๆ เช่น การแจ้งวันประชุมประจำปี , การแจ้งวันซ้อมหนีไฟ ,การแจ้งวันฉีดยากันยุงฟรี เป็นต้น ลองสังเกตวันเหล่านั้นไว้บ้างก็ดี เพราะเป็นไปได้ว่าจะเป็น วันที่มีโอกาสอนุญาติคนภายนอกเข้าออกสถานที่พักอาศัยของคุณได้ง่ายและมากผิดปกติ คุณควรให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่ควรเปิดประตูห้องทิ้งไว้ หรือแต่งตัวลักษณะวาบหวิว เป็นต้น
4. กล่องจดหมาย
หากคุณเป็นผู้เช่าที่ย้ายเข้ามาใหม่อยู่ใหม่ อาจจะพบเจอปัญหาจดหมายการติดต่อที่ส่งมายังผู้เช่าคนเก่า คุณอาจแก้ปัญหาเบื้องต้นด้วยการเขียนแจ้งหน้าตู้จดหมายว่าบุคคลรายนี้ได้ย้ายออกไปแล้ว รวมทั้งแจ้งผู้เป็นเจ้าของบ้านถึงปัญหานี้ให้ทราบด้วย
5. กล่องแสดงความคิดเห็น
เนื่องจากนิติบุคคลเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลจัดการสถานที่พัก คุณมีสิทธิที่จะเขียนแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่คุณคิดว่าไม่สมควร เพื่อแจ้งให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบได้รับทราบและแก้ไขปัญหาต่อไป เช่น ร้านค้าเปิดเพลงเสียงดังในเวลากลางคืน , หลอดไฟบริเวณทางเดินเสีย เป็นต้น ทั้งนี้ ควรคำนึงถึงความสมเหตุสมผลและสิทธิการพักอาศัยของผู้อื่น เช่น การวางตู้รองเท้าไว้หน้าประตูบริเวณทางเดินส่วนกลาง เป็นต้น
6. ทำความรู้จักสถานที่รอบข้าง
ทำความคุ้นเคยกับสถานที่รอบข้างที่พักของคุณ สิ่งอันตรายที่เกิดขึ้น อาจจะเริ้มต้นจากสถานที่แวดล้อมที่คุณอยู่อาศัยก็ได้ เช่น ตึกร้างเก่าๆ อาจมีวัยรุ่นมาซ่อนสุม หากเป็นไปได้ ก็ควรจะหลีกเลี่ยงสถานการณ์เสี่ยงต่อการเกิดเหตุร้ายต่อตนเอง เป็นต้น รวมไปถึง การสังเกตสิ่งผิดปกติในสถานที่พัก เช่น กระเป๋าเอกสารที่ถูกทิ้งไว้โดยไม่มีเจ้าของ เป็นต้น อาจจะดูเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย แต่เพื่อความปลอดภัยต่อตนเองและส่วนรวม ก็ควรแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการต่อไป
7. ดูแลทรัพย์สินตนเองให้ดี
หากห้องเช่าหรือบ้านเช่าของคุณไม่ได้มีนโยบายดูแลทรัพย์สินส่วนตัวของลูกบ้าน เช่น รถยนต์ เป็นต้น คุณก็ควรดูแลจัดการเองให้ดีที่สุด อย่าสร้างโอกาสที่เพิ่มความอันตรายแก่ทรัพย์สินตัวเอง เช่น เปิดประตูรถทิ้งไว้ ขณะเก็บของที่กระโปรงหลัง , เข้ารถแล้วไม่ล็อคประตูรถทันที เป็นต้น นอกจากนี้ ควรคำนึงถึงวิธีการเอาตัวรอด หากเกิดสถานการณ์เลวร้าย ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น เช่น มีนกหวีดติดไว้ที่กุญแจรถ เป็นต้น
8. ทำความรู้จักเพื่อนบ้าน
วิธีนี้ดูเหมือนง่ายแต่ก็ยากสำหรับคนในเมืองหลวง เชื่อว่าคงมีหลายคนที่ไม่เคยทราบว่า เพื่อนบ้านเราเป็นใครบ้าง และดูเหมือนว่า หากมีเพื่อนบ้านแปลกหน้า กล่าวทักทายคุณก่อน ก็มักถูกมองว่าประหลาด และคุณเองก็อาจรู้สึกไปเองถึงความไม่ปลอดภัย ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง นอกจากเรื่อง ทำความรู้จักเพื่อนบ้านที่คุ้นหน้าคุ้มตากันดีแล้ว ก็ควรแจ้งนิติบุคคลหรือใครก็ตามที่คุณไว้ไจ ในกรณีคุณไม่ได้พักอาศัยบ้านเช่าเป็นเวลานาน อย่างน้อยหากเกิดปัญหาอะไรขึ้นกับที่พักเช่าอาศัย เขาจะได้ติดต่อหรือโทรแจ้งคุณได้ เป็นต้น --เทอร์ร่า บีเคเค
บทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก