"โคก หนอง นา โมเดล" เกษตรแนวใหม่ตามศาสตร์ของพระราชา
ภาพการทำนาขั้นบันได บ้านห้วยกระทิง อ.แม่ระมาด .ตาก
ขอบคุณภาพจาก : มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
โดย โคก-หนอง-นา โมเดล มีองค์ประกอบดังนี้
1. โคก - ดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บนโคกปลูก “ป่า 3อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ตามแนวทางพระราชดำริ - ปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า คือ ทำบุญ ทำทาน เก็บรักษา ค้าขาย และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย - ปลูกที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ 2. หนอง - ขุดหนองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม (หลุมขนมครก) - ขุด “คลองไส้ไก่” หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น ลดพลังงานในการรดน้ำต้นไม้ - ทำ ฝายทดน้ำ เพื่อเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่โดยรอบไม่มีการกักเก็บน้ำ น้ำจะหลากลงมายังหนองน้ำ และคลองไส้ไก่ ให้ทำฝายทดน้ำเก็บไว้ใช้ยามหน้าแล้ง - พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ ทั้งการขุดลอก หนอง คูคลอง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และเพิ่มการระบายน้ำยามน้ำหลาก 3. นา - พื้นที่นานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืนชีวิตเล็กๆ หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดินใช้การควบคุมปริมาณน้ำในนาเพื่อคุมหญ้า ทำให้ปลอดสารเคมีได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน - ยกคันนาให้มีความสูงและกว้าง เพื่อใช้เป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม ปลูกพืชอาหารตามคันนา โดยความร่วมมือของมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติและคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จึงได้มีการออกแบบพื้นที่กสิกรรมโดยอาศัย “โคก หนอง นา โมเดล” เป็นแนวคิดหลักในการจัดการพื้นที่ ในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก แหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่สำคัญที่สุดของเมืองไทยขอบคุณภาพจาก : มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
https://www.facebook.com/agrinature.or.th
หนึ่งในตัวอย่างของผลสัมฤทธิ์คือ บ้านห้วยกระทิง อ.แม่ระมาด จ.ตาก ซึ่งเป็นตัวอย่างของหมู่บ้านอนุรักษ์ป่าที่ได้นำศาสตร์พระราชามาแก้ปัญหาพื้นที่ทำกิน จนชาวบ้านได้ปรับเปลี่ยนทัศนคติ ร่วมกันเปลี่ยนเขาหัวโล้นให้เป็นเขาหัวจุก และปรับจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว หันมาใช้วิธีเกษตรผสมผสาน ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของโครงการพลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดินอย่างยิ่ง ที่มีส่วนร่วมให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นได้
แนวคิดโคก หนอง นา โมเดล เป็นแนวคิดที่มีที่มาจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสืบสานศาสตร์ของพระราชา ที่พระองค์ทรงงานในด้านการจัดการน้ำและป่าเพื่อประโยชน์ของพสกนิกรชาวไทยเสมอมา โดยแนวคิดนี้ จะสามารถช่วยลดพื้นที่ภูเขาหัวโล้น การปลูกพืชเศรษฐกิจที่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์แก่ผืนป่าของประเทศไทย พร้อมกันกับการยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกร ในการทำเกษตรแนวใหม่ โดยพื้นที่ที่ได้มีการทดลองทำโคก หนอง นา โมเดลนี้ ได้กระจายอยู่ในหลายพื้นที่ด้วยกันในประเทศไทย ด้วยความร่วมมือทั้งจากองค์กร ภาครัฐ เอกชนต่างๆ โดยมีอ.ยักษ์ วิวัฒน์ ศัลยกำธร และ อ.โก้ และนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้แก่ จ.ตาก, จ.แม่ฮ่องสอน, จ.น่าน เป็นต้น เพื่อตามรอยพ่อในการดำรงอยู่ด้วยความพอเพียง
ขอบคุณข้อมูลจาก : มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
https://www.facebook.com/agrinature.or.th