ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทยเผยทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย ปี 2560 ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจไทยที่คาดว่าจะเติบโต 3.4%
ตลาดคอนโดมิเนียมพักอาศัย กรุงเทพฯ ในภาพรวม
ภาพรวมยังอยู่ในสภาวะที่ต้องจับตามองอย่างระมัดระวังในการลงทุน กำลังซื้อยังชะลอตัว ระดับรายได้ของอุปสงค์ใหม่ยังไม่สูงพอ หนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง ความเข็มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของธนาคารมีสูง อัตราการปฏิเสธสินเชื่อยังคงแนวโน้มที่สูง โดยเฉพาะ Budget Condo พื้นที่กรุงเทพรอบนอก ยังต้องระมัดระวัง
ตลาดคอนโด Budget Condo พื้นที่กรุงเทพรอบนอก ยังมีความเสี่ยงสูงจากภาวะตลาดที่อ่อนตัวลง ยังมีอุปทานเหลือขายจำนวนมาก โดยเฉพาะตามแนวรถไฟฟ้าชานเมือง และโครงการใหม่ๆยังมีการวางแผนการพัฒนาเพิ่ม เนื่องจากอุปทานที่ดินสำหรับการพัฒนายังหาง่ายและมีปริมาณมาก
พื้นที่รอยต่อเขตกรุงเทพชั้นใน (Fringe Area) ยังคงมีโอกาสการพัฒนาที่ดี ความต้องการซื้อยังมี แต่อุปทานที่ดินสำหรับการพัฒนามีจำกัด โครงการที่เปิดขายในพื้นที่ดังกล่าวมีโอกาสประสบความสำเร็จในการขายสูง ระดับราคาอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
พื้นที่เสี่ยง
ย่านถนนรัตนาธิเบศร์ ติวานนท์ - มีปริมาณอุปทานคงเหลือมาก การแข่งขันทางการตลาดสูง อัตราการดูดซับต่ำ กำลังซื้อมีน้อย อาจมีผลให้ระดับราคาขายลดลง
พื้นที่น่าจับตามอง
แนวรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ เช่น รถไฟฟ้าสายสีส้ม รถไฟฟ้าสีเขียวอ่อน หมอชิต –คูคต สายสีเหลือง สายสีชมพู ซึ่งยังมีปริมาณอุปทานในปัจจุบันน้อย น่าจะยังมีกำลังซื้อที่ดีอยู่ แต่ก็ต้องระมัดระวังเพราะอุปทานที่ดินที่สามารถนำมาพัฒนาได้มีอยู่มาก
ย่านถนนพระราม 3 ซึ่งอยู่ใกล้ ศูนย์กลางธุรกิจย่านสีลม สาทร
ตลาดคอนโดมิเนียม ซุปเปอร์ลักซ์ชัวร์รี่ กรุงเทพชั้นใน
ภาพรวมยังดูดี ยังมีกำลังซื้อต่อเนื่อง แต่ก็มีการเปิดโครงการใหม่ต่อเนื่อง
ระดับราคายังคงสูงและอาจเพิ่มสูงขึ้น สืบเนื่องจากระดับราคาที่ดินที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง จากปริมาณอุปทานที่ดินที่มีจำกัด
ตลาดอาจมีการเก็งกำไรค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในโครงการที่มีขนาดพื้นที่ห้องขนาดเล็ก
อัตราการขายอาจค่อนข้างช้า เพราะราคาขายต่อยูนิตมีราคาสูง
ตลาดเพื่อการลงทุน Investment Market มีจำกัด เนื่องจากราคาห้องชุดแพง ทำให้ผลตอบแทนการเช่าต่ำ และตลาดเช่ามีขนาดเล็ก
สุขุมวิท ยังคงเป็นทำเลที่ตั้งหลักที่มีความต้องการสูง
ตลาดอาคารสำนักงาน
ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น 3.5-4%
ปริมาณอุปทานใหม่ที่เข้าสู่ตลาดยังมีปริมาณน้อย ต่ำกว่าความต้องการหรืออุปสงค์ใหม่
อัตราค่าเช่า ยังคงเป็นขาขึ้น เป็นตลาดของผู้ให้เช่า
ราคาขายที่ดินที่ยังคงมีราคาสูง เปรียบเทียบกับอัตราค่าเช่าปัจจุบันที่ยังไม่สูงมากพอที่จะให้ผลตอบแทนการลงทุนพัฒนามีความเป็นไปได้ อุปทานใหม่ที่จะเกิดขึ้นเจ้าของโครงการต้องคาดหวังผลตอบแทนที่ต่ำ หรือต้องเป็นการเช่าที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการ(เพราะมีต้นทุนที่ดินต่ำกว่า) ซึ่งจะเป็นโอกาสของเจ้าของที่ดินให้เช่า
การปรับปรุงอาคารเก่า ให้มีสภาพที่ดีขึ้นจะช่วยเจ้าของโครงการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น
ตลาดพื้นที่อุตสาหกรรม Industrial Property
ปัจจัยบวก
ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น
โครงการการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก Eastern Economic Corridor และโครงการก่อสร้าง
รถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพ-ระยอง จะเป็นปัจจัยกระตุ้นการลงทุนของรัฐบาลในพื้นที่จังหวัดระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทราโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่มาบกระเบา-ชุมทางจิระ-ขอนแก่น จะทำให้ระบบโลจิสติกส์ ในภาคอีสานเปลี่ยนไป ขอนแก่นมีโอกาสการลงทุนพัฒนาเป็นศูนย์โลจิสติกส์ ในภาคอีสานตอนบน
การเพิ่มขึ้นของนักลงทุนอุตสาหกรรมจากประเทศจีน จะช่วยเพิ่มอุปสงค์ในตลาด
ปัจจัยเสี่ยง
ภาวะการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะแรงงานมีฝีมืออาจทำให้การลงทุนในภาคการผลิตมีข้อจำกัด
การส่งเสริมการลงทุนของประเทศเวียดนามและอินโดนีเซีย ซึ่งมีอัตราค่าจ้างที่ถูกกว่ามากจะเป็นตัวแปรที่สำคัญต่อการลงทุนภาคอุตสาหกรรมไทย
ตลาด Logistic Warehouse
การแข่งขันยังสูง โดยเฉพาะจากนักพัฒนารายใหญ่ จะยังทำให้อัตราค่าเช่าไม่เพิ่มขึ้น
พื้นที่สีม่วงย่านบางนา-ตราดซึ่งเป็นพื้นที่หลักของ Logistic Warehouse มีจำกัด ปัจจุบันมีราคาขายตั้งสูงเกินระดับราคาที่ผู้ลงทุนจะซื้อและได้ผลตอบแทนการลงทุนพัฒนาให้เช่ามีอัตราที่เหมาะสม
การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ใหม่มีอัตราที่ต่ำ
ตลาดมินิแฟคตอรี่ (Mini-Factory) ให้เช่า
ตลาดมีแนวโน้มทรงตัวหรือปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากการลงทุนของภาครัฐยังคงต้องรอความชัดเจนในการปฏิบัติ
มีโอกาสที่การลงทุนในโรงงานขนาดเล็กให้เช่าจะขยายตัวดีขึ้นในภาคตะวันออกของประเทศ
อัตราค่าเช่ายังคงมีแนวโน้มทรงตัวหรืออาจปรับตัวลดลงในบางพื้นที่ที่ตลาดมีความต้องการหรืออุปสงค์ต่ำ
ขอบคุณข้อมูลจาก www.knightfrank.com