LPN 2017 – Year of Shift ปรับโมเดลธุรกิจ สู่ “บริบทใหม่แห่งความยั่งยืน”
Shift คือ การปรับเปลี่ยน จากช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เรารู้ว่าปีนี้เราต้องเปลี่ยน เพื่อก้าวสู่บริบทต่อไป เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา เรามุ่งเน้นไปสู่กลุ่มลูกค้า ระดับกลาง และกลาง - ล่าง โดยรู้ว่ากลุ่มคนกลุ่มนี้มีความต้องการมาก โดยการเป็นการเคหะภาคเอกชน สำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย จึงเกิดเป็นโครงการขนาดใหญ่ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เป็นโครงการขนาด 2 - 3 พันห้อง จนมาถึงโครงการระดับ หมื่นห้อง ที่รังสิต
บรรยากาศบนเวทีแถลงข่าวโดยผู้บริหาร LPN TEAM
ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้น้อย จึงมักเกิดปัญหาตามมา เพราะเป็นกลุ่มมี่ต้องการการสนับสนุน เพราะรายได้คนกลุ่มนี้มาจากนโยบายประชานิยม พอปรับเปลี่ยนรัฐบาลมาสู่ยุครัฐบาลทหารเม็ดเงินที่มาสู่คนกลุ่มนี้จึงหายไป จนนำมาสู่ภาระหนี้สิน และตามมาด้วยยอดปฏิเสธสินเชื่อ จำนวนมาก ซึ่ง LPN มองเห็นปัญหานี้มาตลอด ต่อมารัฐบาลเริ่มประกาศโครงการประชารัฐ เรามองเห็นโอกาส ในการเข้าไป support ลูกค้ากลุ่มนี้ โดยไม่มีเงื่อนไขทางภาคการเงินมาเกี่ยวข้อง เพราะทุกส่วนเริ่มกำหนดเงื่อนไขลูกค้าต่ำล้านมากขึ้น ลูกค้ากลุ่มนี้จึงถูกละลายมากขึ้น Reject สูง คืนสูง ทางบริษัทห่วง Inventory เป็นหลัก สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาจากจากภายนอกและนำมาสู่ปัญหาภายในของเรา จนวันนี้เราแก้ปัญหา Inventory มาได้ระดับหนึ่งแล้ว
ยอมรับปัญหา โดยไม่ปิดบัง ก่อนที่จะปรับเปลี่ยน และเป้าหมายยังคงมุ่งมั่นยืนหยัด ไปสู่ “ความยั่งยืน” Year of Shift ปรับโมเดลธุรกิจ สู่ “บริบทใหม่แห่งความยั่งยืน”โดย คุณโอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ เปิดเผยว่า ในปี 2559 ที่ผ่านมามียอดขายประมาณ 8,500 ล้านบาท และมีรายได้จากยอดขายประมาณ 13,000 บาท ทำให้ปี 2560 ทางบริษัทจึงปรับเปลี่ยนขยายฐานมาสู่กลุ่มลูกค้ากลาง-บน มากขึ้น โดยตั้งเป้าหมาย ปี 2560 มีมูลค่ารวมประมาณ 20,000 ล้านบาท จำนวน 12 โครงการ
โครงการใหม่ในปี 2560
เมื่อ 21 ม.ค. 2560 เพิ่งเปิดตัวโครงการใหม่ 2 โครงการ คือ โครงการลุมพินี สวีท เพชรบุรี-มักกะสัน และ ลุมพินี เพลส บางนา กม. 3 ที่สามารถปิดการขาย และสร้างยอดขายไว้สูงถึง 1,700 ล้านบาท ในขณะเดียวกัน บริษัทยังต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาด และปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ตราสินค้า (Brand Image) เพื่อให้สอดคล้องกับลูกค้าระดับกลาง-บน
โครงการลุมพินี สวีท เพชรบุรี-มักกะสัน และลุมพินี เพลส บางนา กม. 3 ที่ปิดการขายแล้ว
ในส่วนของบริษัท พรสันติ จำกัด (PST) โดย จรัญ เกษร กรรมการผู้จัดการ ในปี 2559 ทางบริษัทมีรายได้จากการขายโครงการแนวราบ ประมาณ 850 ล้านบาท และยอดขายประมาณ 1,400 ล้านบาท สำหรับในปี 2560 มีแผนเปิดโครงการใหม่ 8 โครงการ วางเป้าหมายยอดขายที่ 2,000 ล้านบาท และยอดรับรู้รายได้ที่ 1,500 ล้านบาท
โครงการใหม่
ในส่วนของ บริษัท ลุมพินี พร็อพเพอร์ตี้ เซอร์วิส แอนด์ แคร์ จำกัด (LPC) โดย นางสาวสุรัสวดี ซื่อวาจา กรรมการผู้จัดการ เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาบริษัทได้ดำเนินธุรกิจตามนโยบาย CSR เพื่อช่วยเหลือสตรีด้อยโอกาสที่มีการศึกษาน้อยจนถึงไม่ได้รับการศึกษาที่ถูกเอารัดเอาเปรียบค่าจ้างแรงงาน บางรายมีปัญหาทางครอบครัว ถูกสามีทอดทิ้งและต้องรับผิดชอบดูแลบุตร ในฐานะที่บริษัทเป็นผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการบริการหลังการขายโดยเฉพาะงานบริการ จึงได้จัดตั้งหน่วยงานบริการรักษาความสะอาดและงานบริการชุมชนให้กับชุมชนที่ LPN บริหาร เพื่อเปิดโอกาสให้สตรีด้อยโอกาสได้เข้ามาทำงานกับบริษัท LPC จึงเป็นธุรกิจที่ปันผลกำไรคืนสู่สังคม สามารถสร้างงานและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้แก่สตรีด้อยโอกาสในชุมชนลุมพินีกว่า1,800 คนแล้ว สำหรับทิศทางของ LPC ปีนี้ คือการเปิดรับงานบริการภายนอกโครงการ LPN จำนวน 20 โครงการ โดยจะขยายกลุ่มพนักงานจากสตรีด้อยโอกาสไปสู่คนพิการและผู้สูงอายุ และการปรับแผนธุรกิจไปสู่วิสาหกิจเพื่อสังคมแบบเป็นทางการ (Social Enterprise)
บริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด (LPP) โดย นางสาวสมศรี เตชะไกรศรี กรรมการผู้จัดการ เปิดเผยว่าบริษัทได้ดูแลงานบริการหลังการขาย ภายใต้กลยุทธ์ “ชุมชนน่าอยู่สำหรับคนทุกวัย” ซึ่งเป็นจุดแข็งของแบรนด์ “ลุมพินี” ตามคุณค่าการบริการหลังการส่งมอบ (FBLES+P) ซึ่งได้พัฒนาการบริหารชุมชนเฉพาะโครงการของ LPN มากว่า 20 ปี สำหรับในปี 2560 นี้บริษัทจะเพิ่มความเข้มข้นด้านกลยุทธ์ในการบริหารชุมชน จาก “ชุมชนน่าอยู่” เป็น “ชุมชนน่าอยู่สำหรับคนทุกวัย” เพื่อสร้างความสุขที่แท้จริงของการอยู่อาศัยให้กับชุมชน “ลุมพินี” กว่า 130,000 ครอบครัว ใน 143 โครงการ ในขณะเดียวกัน บริษัทจะขยายงานบริหารชุมชนสู่ภายนอก โดยในเบื้องต้นตั้งเป้าหมายไว้ที่ 15 โครงการ รวมเป้าหมายรายได้ประมาณ 520 ลบ.
สำหรับ บริษัท ลุมพินี โปรเจค มาเนจเมนท์ เซอร์วิส จำกัด (LPS) ในปีนี้ได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการคนใหม่ ดร.พร วิรุฬห์รักษ์ แทนกรรมการผู้จัดการคนเดิมที่เกษียณอายุ ซึ่งการปรับเปลี่ยนธุรกิจของบริษัท LPS จะเป็นการ “Transformation” ด้วยการขยายฐานธุรกิจจากเดิมที่เป็นผู้บริหารงานก่อสร้าง ให้บริการเฉพาะโครงการของ LPN ไปบริหาร
การให้บริการครบวงจรสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สู่ภายนอกเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการนำศักยภาพและจุดแข็งด้าน Product Value ที่มีอยู่มาสร้างประโยชน์สูงสุดแก่บริษัท
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.lpn.co.th